Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กสม. ห่วงกรณีควบรวมทรู-ดีแทค ขณะที่ กสทช. นัดเคาะพรุ่งนี้ 20 ต.ค. เวลา 9.30 น. ด้าน ‘ธนาธร’ จะไปร่วมจับตา

แถลงการณ์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กรณีการควบรวมกิจการโทรคมนาคมระหว่างบริษัททรูคอปอเรชั่นและดีแทค

ตามที่มีการประกาศควบรวมกิจการในธุรกิจโทรคมนาคมระหว่างบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ทรู) และบริษัท โทเทิ่ล แอ๊คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (ดีแทค) ส่งผลให้เกิดกระแสคัดค้านจากนักวิชาการ สภาองค์กรของผู้บริโภค และเครือข่ายองค์กรของผู้บริโภค ด้วยความกังวลด้านผลกระทบต่อประสิทธิภาพการแข่งขันและการมีอำนาจเหนือตลาดในธุรกิจโทรคมนาคมอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งการควบรวมกิจการอาจส่งผลต่อทางเลือกของผู้บริโภค ที่นำไปสู่ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านดิจิทัล และราคาค่าบริการที่ไม่เป็นธรรม โดยที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จะพิจารณาว่าจะอนุญาตให้มีการควบรวมกิจการหรือไม่ ในวันที่ 20 ตุลาคม 2565 นั้น

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชน จัดทำรายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน รวมทั้งจัดทำข้อเสนอแนะต่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ป้องกันและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน ได้ติดตามสถานการณ์ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับการควบรวมกิจการโทรคมนาคมของทรูและดีแทคมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเครือข่ายสลัม 4 ภาคและผู้แทนสภาองค์กรของผู้บริโภคได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนกรณีดังกล่าวต่อ กสม. เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2565

กสม. เห็นว่าบริการโทรคมนาคมเป็นบริการจำเป็นพื้นฐานในการดำเนินชีวิตของประชาชนผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน การควบรวมกิจการของบริษัทโทรคมนาคมทั้งสองแห่ง ซึ่งเป็นกิจการประเภทเดียวกัน อาจเข้าข่ายเป็นการผูกขาดและมีอำนาจเหนือตลาด ทำให้ผู้บริโภคขาดทางเลือกหรือมีทางเลือกน้อยลง โดยเฉพาะผู้บริโภคกลุ่มเปราะบางหรือกลุ่มชายขอบ ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกล มีอุปสรรคในการเข้าถึงบริการโทรคมนาคม (สัญญาณอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่) และมีรายได้น้อยอยู่แล้ว อาจต้องเสียค่าบริการในอัตราที่สูงขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของประชาชน ด้วยเหตุดังกล่าว กสม. จึงมีข้อเสนอแนะต่อการพิจารณาควบรวมกิจการบริษัทโทรคมนาคมทั้งสองแห่ง ดังนี้

1. ขอให้ยึดประโยชน์สูงสุดของประชาชน และประโยชน์สาธารณะ ตามมาตรา 60 วรรคสอง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

2. ขอให้เปิดเผยผลการศึกษาของที่ปรึกษาอิสระจากต่างประเทศ ที่สำนักงาน กสทช. จัดจ้างให้มีการศึกษาผลกระทบกรณีการควบรวมธุรกิจระหว่างทรูและดีแทคต่อสาธารณะ และนำผลการศึกษามาประกอบการพิจารณาด้วย

3. ขอให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบจากการควบรวมกิจการดังกล่าวอย่างกว้างขวาง รวมทั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค ซึ่งเป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ

ทั้งนี้ เพื่อให้การประกอบธุรกิจด้านกิจการโทรคมนาคม เป็นไปอย่างมีธรรมาภิบาล สามารถแข่งขันกันได้อย่างเสรี ไม่ผูกขาดอำนาจเหนือตลาด เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนผู้บริโภค อันจะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างเป็นธรรมและยั่งยืนต่อไป

‘ธนาธร’ เตรียมบุกกสทช. จับตาอนุมัติดีลควบรวมทรู-ดีแทค

นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า โพสต์ข้อความลงบนเพจเฟซบุ๊กเชิญชวนประชาชนร่วมจับตาและเรียกร้อง กสทช. ให้ตัดสินใจบนผลประโยชน์ประชาชนมากกว่าทุนใหญ่ ในกรณีควบรวมทรู-ดีแทค โดยระบุว่า จากการติดตามกรณีดังกล่าวมาร่วมปี ตัวเองจับสัญญาณได้ว่าการตัดสินใจในวันพรุ่งนี้ อาจไม่เป็นไปในทางที่ปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภคเพราะไม่กี่วันก่อนหน้านี้ สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรผู้บริโภค ได้ถูกฟ้องด้วยข้อหาตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ และถูกข่มขู่ว่าจะฟ้องคดีอาญา จากกรณีการเผยแพร่รายงานผลการศึกษาเรื่องการควบรวมทรู-ดีแทค โดยบริษัทที่ปรึกษาต่างประเทศที่ กสทช. จ้างมา โดยผู้ฟ้องอ้างว่ารายงานดังกล่าวเป็นความลับของทางราชการ

ประธานคณะก้าวหน้า ยังระบุด้วยว่า ขอให้กำลังใจและยืนหยัดร่วมกับเลขาธิการสภาองค์กรผู้บริโภค ที่ได้ทำในสิ่งที่ถูกต้องโดยเปิดเผยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ซึ่งเป็นรายงานที่ยืนยันว่าการควบรวมจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค ทำให้เสียค่าบริการแพงขึ้น และทำให้เอกชนผู้ให้บริการขาดแรงจูงใจในการแข่งขันกันพัฒนาคุณภาพ

“การที่คุณสารีถูกข่มขู่ด้วยคดีความ นับว่าเป็นการใช้กฎหมายเพื่อฟ้องเพื่อปิดปากภาคประชาชน เพราะข้อมูลที่เผยแพร่ไม่ได้เป็นความลับ และยังเป็นข้อมูลที่กสทช. ต้องเผยแพร่ตามกฎหมายอยู่แล้ว ตาม พ.ร.บ.กสทช. มาตรา 59”

นายธนาธร ยังระบุด้วยว่า กสทช. จำเป็นต้องตอบข้อข้องใจต่อสังคมในอีกหลายประเด็น เช่น ผลประโยชน์ทับซ้อนของบริษัทที่ปรึกษาอิสระ ซึ่งถือหุ้นโดยตระกูลเจียรวนนท์ หรือกรณีที่รายงานจากบริษัทที่ปรึกษาต่างชาติ ที่ได้ข่าวว่ามีการจ้างทำในราคาสูงถึง 10 ล้านบาท กลับจะมีการออกรายงานฉบับสุดท้ายมาในวันที่ 14 พฤศจิกายน ทั้งที่การตัดสินใจของ กสทช. จะเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้แล้ว เป็นต้น

“ผมขอเรียกร้องอีกครั้ง กสทช. ต้องตระหนักถึงภารกิจในการรับใช้ประชาชน ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน การตัดสินใจของ กสทช. ในวันพรุ่งนี้ จะตกอยู่ภายใต้สายตาของคนไทยผู้เสียภาษีทั้งประเทศ และพรุ่งนี้ผมจะไปร่วมสังเกตการณ์ที่สำนักงาน กสทช. ด้วย เจอกันครับ” นายธนาธร ทิ้งท้าย

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า