Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

มีรายงานจากสำนักข่าวหลายแห่งว่าสหรัฐฯ ออสเตรเลีย และอินเดีย มีการออกข่าวเกี่ยวกับการป้องกันทางไซเบอร์ของแต่ละชาติ โดยทั้งหมดมองว่าจีนเป็นอันตรายต่อความมั่นคง

เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. ทางรัฐบาลออสเตรเลียได้ออกมาประกาศเพิ่มงบประมาณด้านกลาโหม โดยจะจัดสรร 1,350 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (เกือบ 30,000 ล้านบาท) ไว้สำหรับการป้องกันภัยทางไซเบอร์ หลังจากที่เคยประกาศว่าโดนโจมตีจากกลุ่มนักรบไซเบอร์ที่ได้รับการสนับสนุนจากต่างชาติเมื่อ 19 มิ.ย. ที่ผ่านมา

แม้ในการประกาศดังกล่าวจะไม่ได้มีการระบุชื่อประเทศ แต่ว่าในช่วงไม่กี่วันก่อนหน้านั้น ทางการออสเตรเลียได้มีการการเข้าจับกุม นายเชาเคตต์ โมเซลมาน สมาชิกสภานิติบัญญัติของรัฐนิวเซาธ์เวลส์ ในข้อหามีความเชื่อมโยงกับจีน

ด้านนายจ้าว ลี่เจียน โฆษก โฆษกกระทรวงต่างประเทศจีนได้ตอบกลับว่า กลุ่มพันธมิตร “Five Eyes” ที่ประกอบไปด้วยออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา ต่างหาก ที่เป็นฝ่ายสอดส่องและคุกคามประเทศอื่นมาอย่างยาวนาน และการกล่าวหาจีนในครั้งนี้ก็ปราศจากหลักฐานที่เป็นชิ้นเป็นอัน

ขณะที่ในวันเดียวกัน ทางคณะกรรมการด้านโทรคมนาคมของสหรัฐฯ ได้ประกาศว่าสินค้าจากแบรนด์ Huawei และ ZTE ถูกจัดให้เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ เนื่องจากทั้งสองบริษัทอยู่ภายใต้กฎหมายข่าวกรองแห่งชาติ (China’s National Intelligence Law of 2017) ซึ่งอาจบังคับให้พวกเขาต้องให้ความร่วมมือด้านข่าวกรองกับรัฐบาลจีนได้

การประกาศดังกล่าวยังทำให้นายกรัฐมนตรี บอริส จอห์นสัน ของสหราชอาณาจักร ยอมรับว่าอาจต้องมีการพิจารณาอย่างระมัดระวังอีกครั้ง สำหรับการปล่อยให้ใช้อุปกรณ์ของ Huawei ในการวางระบบ 5G ในประเทศ

ส่วนทางด้านอินเดีย ที่ได้ประกาศแบนแอปพลิเคชันจากประเทศจีนมากกว่า 59 แอปพลิเคชันก่อนหน้านี้ ก็กำลังจับตาดูความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิดกว่าเดิมในหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นด้านพลังงาน โทรคมนาคม รวมถึงบริการทางการเงิน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้อนุญาตให้จีนเข้ามาลงทุนในสาธารณูปโภคที่สำคัญ และเชื่อว่าจีนมีกุญแจที่จะสามารถไขเข้ามาในระบบเหล่านี้ได้

นอกจากนี้ ยังมีการให้สัมภาษณ์ของ รีเตช คูมาร์ ประธานและซีอีโอของบริษัท ไซเฟอร์มา (Cyfirma) ซึ่งเป็นบริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ได้บอกกับ India Today TV ว่า ตั้งแต่เกิดการปะทะกันระหว่างทหารจีนและอินเดียที่บริเวณหุบเขากัลวานเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. ทางบริษัทก็ตรวจพบว่าเริ่มมีการเคลื่อนไหวจากแฮกเกอร์ชาวจีนมากขึ้นถึง 300%

ทาง ไซเฟอร์มา ระบุว่า แฮกเกอร์ชาวจีนที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลนั้น ให้ความสนใจอินเดียมานานแล้ว แต่ไม่ได้แสดงท่าทีคุกคามใด ๆ จนกระทั่งในเดือนมิ.ย. ที่พวกเขาเริ่มมีท่าทีที่รุนแรงขึ้นมาก โดยมีเป้าหมายที่จะโจมตีบริษัทของอินเดียที่มีชื่อเสียงระดับโลก

และถึงแม้ว่ารัฐบาลอินเดียจะกำลังเพิ่มการป้องกันให้กับระบบสาธารณูปโภคที่สำคัญ แต่แฮกเกอร์เหล่านี้สามารถทำงานและติดต่อสื่อสารกันได้เร็วกว่ามาก จำเป็นอย่างยิ่งที่ภาครัฐต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบเรียลไทม์ เพื่อที่จะสามารถรับมือกับภัยคุกคามในครั้งนี้ได้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า