SHARE

คัดลอกแล้ว

ใครจะมาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนต่อไป ชี้ชะตากับการค้าทั้งโลก

ผลเลือกตั้งอเมริกาต่อเศรษฐกิจไทยจะเป็นยังไง เรื่องนี้น่าคิดมาก ถ้ามองโดยรวม หาก ‘กมลา แฮร์ริส’ จากเดโมแครต รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนปัจจุบันชนะ ภาพรวมเศรษฐกิจไทยไม่ได้แตกต่างจากเดิมทุกวันนี้

แต่ถ้าเป็น ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ จากรีพับลิกัน ภาพรวมเศรษฐกิจไทยจะต้องรับมือกับการกีดกันการค้าที่มาแรงขึ้น และการส่งออกก็เสี่ยงกระทบ

นโยบายของทรัมป์ที่น่าจะส่งแรงกระเพื่อมใหญ่กับการค้าโลก ที่ประกาศตอนหาเสียงว่าจะ “ขึ้นอัตราภาษีนำเข้า 60% ต่อสินค้าจากจีน” และ “ขึ้น 10% กับทุกสินค้าที่มาจากประเทศอื่นทั่วโลก”

อาจเร่งให้การค้าโลกหดตัวเร็วกว่าที่คาด และแน่นอนว่าส่งผลสะเทือนถึงไทยด้วยในด้านการค้าและการลงทุนจากต่างประเทศ

การขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ ต่อทุกสินค้านำเข้าจะส่งผลในทางลบต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม

อุตสาหกรรมไทยที่จะรับศึกหนักถ้าทรัมป์มา คือ สินค้าส่งออกของไทยที่สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดส่งออกหลัก เช่น อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์ มีความเสี่ยงที่จะถูกปรับขึ้นภาษีนำเข้าและอาจถูกมาตรการตอบโต้เพิ่มเติมจากสหรัฐฯ เพราะอาจเป็นอุตสาหกรรมที่จีนใช้ไทยเป็นช่องทางผ่านเพื่อส่งสินค้าไปยังสหรัฐฯ

ส่วนนิคมอุตสาหกรรมในไทย น่าจะเป็นผู้ได้รับประโยชน์หลักจากประเด็นการย้ายถิ่นฐานในระยะยาวของทุนในประเทศที่สหรัฐฯกีดกัน

การท่องเที่ยว ปิโตรเคมี และบรรจุภัณฑ์มีความเสี่ยงสูงจากอุปสงค์ของจีนที่ลดลงเนื่องจากภาษีนำเข้าจากจีนที่สูงขึ้น

ภาคการผลิต เช่น เหล็กและเหล็กกล้า เฟอร์นิเจอร์ สารเคมี และยานยนต์ รวมถึง SMEs จำนวนมากในธุรกิจค้าส่งและค้าปลีกมีความเสี่ยงสูงจากการแข่งขันนำเข้าจากจีน ซึ่งอาจส่งผลต่อเนื่องไปถึงภาคการเงินที่มีความเสี่ยงต่อภาคธุรกิจเหล่านี้สูง

KKP Research ประเมิน 5 ผลกระทบจากนโยบายการขึ้นภาษีนำเข้าของทรัมป์ไว้ให้เห็นภาพ ดังนี้

1.ผลกระทบทางตรงจากภาษีนำเข้า 10%

(Tariff effect) การขึ้นภาษี 10% ต่อสินค้านำเข้าสหรัฐฯ จะทำให้มูลค่าการส่งออกไทยเผชิญกับความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสหรัฐฯ เป็นตลาดสำคัญที่สุดสำหรับสินค้าส่งออกของไทย (สัดส่วนส่งออกไปตลาดสหรัฐอยู่ที่ 17.5% ของการส่งออกทั้งหมดในปี 2023

นอกจากนี้ การที่ดุลการค้าของไทยไม่ได้ขาดดุลมากกว่านี้ส่วนหนึ่งเพราะตลาดสหรัฐฯ สามารถรองรับสินค้าส่งออกจากไทยได้มากขึ้น ทำให้ไทยมีการเกินดุลทางการค้ากับสหรัฐฯ สูงขึ้นถึง 6% ของ GDP แต่หากดุลการค้าไทยไปยังสหรัฐฯ ลดลงจากภาษีนำเข้าที่สูงขึ้นอาจทำให้ดุลการค้าโดยรวมไทยขาดดุลเพิ่มขึ้นไปอีก

2.การเบี่ยงเบนทางการค้าผ่านตลาดอาเซียน (Trade diversion)
ประโยชน์ส่วนหนึ่งที่ไทยอาจได้รับคือหากสหรัฐฯ ปรับขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนเป็น 60% ซึ่งอาจทำให้ผู้ประกอบการในสหรัฐฯ หันมานำเข้าสินค้าจากตลาดอื่นในสัดส่วนที่มากขึ้น เช่น อาเซียนที่มีอัตราภาษีนำเข้าที่ต่ำกว่า ซึ่งไทยอาจจะยังได้ประโยชน์จากการเบี่ยงเบนทางการค้าในส่วนนี้

อย่างไรก็ตาม การเบี่ยงเบนทางค้าอาจเป็นดาบสองคมเพราะมีความเสี่ยงที่จีนจะใช้ไทยเป็นเพียงช่องทางผ่านของสินค้าจีนไปยังสหรัฐฯ เท่านั้น (Re-routing) ซึ่งกิจกรรมนี้สร้างมูลค่าเพิ่มในภาคการผลิตในประเทศไทยน้อยมาก และยังเสี่ยงกับการถูกมาตรการตอบโต้อื่น ๆ จากสหรัฐฯ อีกด้วย

3.การโยกย้ายการลงทุนจากต่างชาติเข้ามาในประเทศ (Relocation)
เช่นเดียวกับการได้ประโยชน์บางส่วนจากการเบี่ยงเบนทางการค้า หากความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับจีนยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่องจะทำให้บริษัทข้ามชาติต่าง ๆ มีการกระจายความเสี่ยงในด้านการลงทุนและห่วงโซ่อุปทานมากขึ้น และไทยเองอาจยังได้รับอานิสงค์จากการโยกย้ายการลงทุนจากต่างประเทศโดยเฉพาะจากประเทศจีน

อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นอาจเห็นเม็ดเงินลงทุนชะลอตัวเพราะความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกอาจเพิ่มสูงขึ้นจากสงครามการค้า และประโยชน์ที่ไทยจะได้รับในระยะยาวผ่านช่องทางนี้ อาจน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ โดยส่วนหนึ่งเป็นเพราะปัญหาความสามารถในการแข่งขันของไทยเอง

4.ปัญหาสินค้าจีนทะลักรุนแรงมากขึ้น (China dumping)

หากสหรัฐฯ ปรับขึ้นภาษีนำเข้ากับจีนเพิ่มขึ้น จะทำให้มีความเสี่ยงที่อุปสงค์ในจีนชะลอตัวลงแรงยิ่งขึ้น และอุปทานส่วนเกินในจีนไม่สามารถระบายไปยังตลาดสหรัฐฯ ได้ง่ายนัก ทำให้สินค้าต่าง ๆ จะถูกนำมาขายในตลาดอื่น ๆ โดยเฉพาะในอาเซียน รวมทั้งไทยมากขึ้นไปอีก ซึ่งสินค้าที่ทะลักเข้ามาจะยิ่งทำให้ผู้ผลิตในไทยเผชิญกับการแข่งขันจากสินค้าราคาถูกจากจีนมากยิ่งขึ้น และเสี่ยงทำให้ผู้ผลิตในไทยไม่สามารถแข่งขันได้ ต้องลดปริมาณการผลิตลงต่อเนื่องหรือปิดตัวโรงงาน

5.ค่าเงินในภูมิภาคเสี่ยงอ่อนค่าเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ

ค่าเงินในภูมิภาคเอเชียอาจมีแนวโน้มปรับอ่อนค่าเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อชดเชยกับอัตราภาษีนำเข้าที่ถูกปรับขึ้น หากย้อนกลับไปดูในช่วงสงครามการค้า (Trade war) ในปี 2018 ระหว่างสหรัฐฯ และจีนจะเห็นได้ว่า ค่าเงินบาทปรับอ่อนค่าตามดัชนีดอลลาร์หลังจากที่ทรัมป์ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าต่อจีน

แต่ในช่วงเวลาดังกล่าวสาเหตุหลักที่ค่าเงินบาทปรับแข็งค่าหลังจากนั้นเป็นเพราะไทยยังได้รับอานิสงค์จากนักท่องเที่ยวจีนที่พอจะช่วยสนับสนุนให้ค่าเงินบาทกลับมาแข็งค่าได้

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันทั้งดุลการค้าที่เผชิญกับปัญหาความสามารถในการแข่งขันและภาษีนำเข้าที่จะสูงขึ้น รวมไปถึงดุลบริการไม่กลับไปสูงแบบในอดีต จะทำให้ค่าเงินบาทมีความอ่อนไหวต่อทิศทางของดอลลาร์และภาษีนำเข้าสูงขึ้นกว่าในอดีต

วันนี้ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยจากการค้าของโลกที่กำลังเปลี่ยนไปเป็น Protectionism มากขึ้น กำลังก่อตัวขึ้นในช่วงที่เศรษฐกิจไทยก็เปราะบาง มีปัญหาทั้งเรื่องหนี้ครัวเรือน สังคมสูงวัย ความสามารถในการแข่งขัน

หากดุลการค้าไทยขาดดุลต่อเนื่อง ภาคการส่งออกไม่สามารถเป็นแหล่งระบายสินค้าจากการผลิตในภาคอุตสาหกรรมไทยได้ อาจทำให้การจ้างงานในภาคอุตสาหกรรมไทยลดลงหรืออัตราว่างงานเพิ่มขึ้น

พอแนวโน้มของการค้าโลกที่กำลังเปลี่ยนไปแบบนี้ KKP มองว่า แนวทางของนโยบายการค้าไทยแบบเดิมที่เน้นเจรจาข้อตกลงทางการค้าและเปิดตลาดโดยการเจรจาเรื่องการลดภาษีนำเข้าอาจใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป เพราะอัตราภาษีนำเข้าในปัจจุบันก็ลดลงมาอยู่ในระดับต่ำมากแล้ว

การมุ่งเน้นไปที่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าไทยและการดูแลไม่ให้เกิดการแข่งขันแบบไม่เป็นธรรมตอนนี้จึงสำคัญมาก

………………

เรียบเรียงจากบทวิเคราะห์เกียรตินาคินภัทร : KKP Research

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า