SHARE

คัดลอกแล้ว

แม้ราวร้อยละ 25 ของผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ อาจไม่แสดงอาการใดๆ แต่ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค หรือ ซีดีซี ของสหรัฐฯ เพิ่งกล่าวเตือนเมื่อวันที่ 31 มี.ค.ว่า จำนวนผู้ติดเชื้อที่สูงมาก ทำให้ความพยายามในการคาดการณ์การระบาดล่วงหน้า และมาตรการในการชะลอการระบาดมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพบผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการในระดับที่สูงขึ้นมาก ทำให้ซีดีซีเตรียมพิจารณาแก้ไขแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ว่าคนกลุ่มใดบ้างที่ควรสวมหน้ากากอนามัย

 

 

ดร. โรเบิร์ต เรดฟิลด์ กล่าวว่า นี่จะช่วยอธิบายให้เห็นว่า ไวรัสสามารถแพร่ระบาดทั่วประเทศอย่างรวดเร็วได้อย่างไร ก่อนหน้านี้ ซีดีซีเคยกล่าวย้ำว่า ประชาชนทั่วไปไม่มีความจำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยหากไม่รู้สึกป่วย แต่จากข้อมูลใหม่เกี่ยวกับผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ หรือผู้ที่แพร่เชื้อไปแล้ว 2-3 วันก่อนที่จะแสดงอาการ ทำให้ดร. เรดฟิลด์ กล่าวว่า แนวทางปฏิบัติดังกล่าวจำเป็นต้องมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วน

อย่างไรก็ตาม สำหรับชาวเอเชีย การสวมหน้ากากอนามัยถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์แรกๆ ที่ถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันการระบาดของไวรัส ที่ดูเหมือนจะช่วยให้การติดเชื้อชะลอตัวลงและสามารถควบคุมการระบาดได้เร็วขึ้น

อย่างไรก็ตาม ในหลายประเทศ คำแนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยได้สร้างความสับสนให้แก่ประชาชนไม่น้อย หลังจากที่หน่วยงานด้านสาธารณสุข นักการเมือง หรือบุคคลสำคัญ ออกมากล่าวอย่างมั่นใจว่า การสวมหน้ากากอนามัยไม่สามารถช่วยลดการติดเชื้อได้ และเรียกร้องให้ประชาชนหันไปให้ความสนใจกับการล้างมือ และมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม

เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ นายเจอโรม อดัมส์ นายกสมาคมศัลยแพทย์สหรัฐฯ ได้ทวีตข้อความว่า “หยุดซื้อหน้ากาก” โดยระบุว่ามันไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัส แต่หากผู้ให้บริการด้านสุขภาพไม่สามารถนำมันมาเพื่อใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้ มันก็จะทำให้ผู้ป่วยและชุมชนตกอยู่ในความเสี่ยง

เช่นเดียวกับ ดร. โรเบิร์ต เรดฟิลด์ ที่ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องนี้ในสัปดาห์เดียวกัน หลังมีผู้ถามว่า “เราควรสวมหน้ากากอนามัยหรือไม่?” เขาตอบอย่างทันทีทันใดว่า “ไม่”

 

แกนกลางของการป้องกัน

เมื่อเดือนที่แล้ว นายเอเดรียน เบิร์ช ผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยา จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย-เบิร์กเลย์ ระบุว่า “แม้จะเคยได้ยินมาว่าหน้ากากอนามัยใช้ไม่ได้ผล แต่เราก็ยังไม่เคยเห็นหลักฐานที่สนับสนุนคำพูดดังกล่าว นั่นเพราะมันไม่เคยมีอยู่จริง”

อย่างไรก็ตาม โดยข้อเท็จจริงแล้ว มีหลักฐานที่แสดงความเชื่อที่อยู่ตรงข้ามว่าหน้ากากอนามัยช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสได้ เช่นการระบาดของโควิด-19 ในปัจจุบัน

นายเอเดรียน เบิร์ช อ้างถึงงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่มีการวิเคราะห์ถึงเรื่องนี้อย่างเป็นระบบ เมื่อปี 2011 ซึ่งพบหลักฐานชัดเจนที่สนับสนุนแนวคิดการสวมหน้ากากอนามัย ในช่วงการระบาดของโรคซาร์ส เมื่อปี 2003 โดยการศึกษาเรื่องการแพร่เชื้อในกรุงปักกิ่งชิ้นหนึ่งชี้ว่า การสวมหน้ากากในสถานที่สาธารณะอย่างสม่ำเสมอ มีส่วนเกี่ยวข้องที่จะทำให้ความเสี่ยงที่จะติดไวรัสซาร์ส ลดลงถึงร้อยละ 70

ทั้งนี้ โรคซาร์สและโควิด-19 คืออาการที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจที่มีสาเหตุมาจากเชื้อโคโรนาไวรัสในตระกูลเดียวกัน

แม่โรคซาร์สจะแพร่ระบาดไปทั่วโลก แต่จุดที่มีความรุนแรงที่สุดคือในเอเชีย โดยเฉพาะจีนและฮ่องกง ผลของการระบาดในครั้งนั้น ยังส่งผลมาถึงการระบาดในครั้งนี้ โดยในช่วงแรกหลังจากเริ่มมีข่าวของการระบาด ประชาชนส่วนใหญ่ต่างหันมาสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันตัว

โดยรัฐบาลของหลายประเทศในเอเชีย แนะนำให้ประชาชนสวมหน้ากากในที่สาธารณะ ไม่ว่าพวกเขาจะมีอาการป่วยหรือไม่ก็ตาม แม้นั่นจะสร้างความสงสัยให้กับสื่อตะวันตกหลายแห่ง จนถึงกับมีการพูดถึง “ความหมกมุ่น” ของชาวเอเชียที่มีต่อหน้ากากอนามัย แต่เทคนิคดังกล่าวก็ดูเหมือนจะมีส่วนช่วยในการลดการระบาดได้

ทั้งในไต้หวัน เกาหลีใต้ และจีนแผ่นดินใหญ่ ประชาชนใช้หน้ากากอนามัยกันอย่างแพร่หลาย และทำให้ประเทศเหล่านั้นประสบความสำเร็จในการลดการระบาด ในขณะที่ในยุโรปและอเมริกาเหนือ ซึ่งประชาชนแทบไม่ใช้หน้ากากอนามัย การระบาดเริ่มลุกลามรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

นายอิวาน ฮัง ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮ่องกง กล่าวว่า หากดูจากข้อมูลในฮ่องกง การสวมหน้ากากอาจเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในแง่ของการควบคุมการติดเชื้อ เพราะไม่เพียงแค่ทำให้ผู้ติดเชื้อลดลงเท่านั้น แต่ยังช่วยลดผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ด้วย เนื่องจากขณะนี้ คือฤดูกาลของการระบาดของไข้หวัดใหญ่ และแทบไม่พบผู้ป่วยเลย

ในช่วงต้นเดือนมีนาคม ฮ่องกงพบผู้ติดเชื้อราว 150 คน แม้จะตั้งอยู่ในพื้นที่แนวหน้าของการระบาดและไม่มีการบังคับใช้มาตรการที่เข้มงวดเช่นเดียวกับชาติอื่นๆ แต่ยอดผู้ติดเชื้อที่พุ่งสูงขึ้นในช่วงปลายเดือน กลับเป็นผู้ที่เพิ่งเดินทางกลับมาจากยุโรปและสหรัฐ

นายเอเดรียน เบิร์ช กล่าวว่า เมื่ออิงจากผลการวิจัย หน้ากากอนามัยมีส่วนช่วยในป้องกันมากกว่าที่จะทำให้ติดเชื้อเพิ่ม แม้จะเป็นหน้ากากที่ทำกันเองที่บ้าน แต่หากเราสวมอย่างถูกต้อง และหลีกเลี่ยงที่จะสัมผัสใบหน้า เชื้อโรคก็จะทำอะไรเราไม่ได้ และอาจช่วยลดโอกาสที่เราจะสัมผัสกับไวรัส

 

ข้อมูลขัดแย้ง

ซีดีซี เผยแพร่แนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัส โดยระบุว่า วิธีที่ดีที่สุดคือ การระมัดระวังการติดต่อจากน้ำลาย การไอและจาม สิ่งแรกคือ การอยู่ให้ห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 90 เซนติเมตร แต่ถ้าเป็นผู้ที่ไอหรือจาม ก็ให้เพิ่มเป็น 180 เซนติเมตร เพราะไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่สามารถส่งผ่านละอองเล็กๆ ได้

ซีดีซียังแนะนำให้ผู้ป่วยสวมหน้ากากอนามัย หรือการปิดปากด้วยต้นแขนเมื่อไอหรือจาม ส่วนผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยก็ควรสวมหน้ากากอนามัย ไม่ว่าเมื่อใดก็ตามที่ต้องอยู่ในห้องเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ซีดีซี กล่าวว่า ผู้ที่ไม่มีอาการไม่จำเป็นต้องสวมหน้ากาก และกล่าวเสริมว่าหน้ากากกำลังขาดแคลน และควรให้ผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยได้ใช้ก่อน

คำแนะนำนี้ได้สร้างความสับสนให้แก่คนทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่สวมหน้ากากเพื่อป้องกันตัวเอง โดยซีดีซี องค์การอนามัยโลก และหน่วยงานด้านสาธารณสุขอื่นๆ ต่างเน้นย้ำอย่างต่อเนื่องว่า หน้ากากอนามัยไม่สามารถช่วยป้องกันได้ในสถานการณ์ปกติ และกล่าวว่า มันเป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ จนก่อให้เกิดคำถามที่ว่า “ทำไมหน้ากากอนามัยจึงดีต่อบุคลากรทางการแพทย์ แต่ไม่ดีต่อคนทั่วไป?”

ด้านนายเซย์เนป ทูเฟกชี ศาสตราจารย์ด้านวิทยาการสารสนเทศ ระบุในหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ ว่า ความพยายามในการช่วยลดการขาดแคลนหน้ากากอนามัย แต่กลับมีการให้เหตุผลที่ขัดแย้งกันเอง กลับกลายเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขาดูไม่น่าเชื่อถือ หากเจ้าหน้ากังวลเรื่องปัยหาขาดแคลนหน้ากาก พวกเขาควรพูดไปอย่างตรงไปตรงมา และร้องขอให้ประชาชนร่วมกันบริจาคให้แก่โรงพยาบาล ไม่ใช่การอ้างว่าหน้ากากอนามัยป้องกันเชื้อโรคไม่ได้ผล

 

หน้ากากคือเครื่องมือป้องกัน

หนึ่งในเหตุผลหลักๆ ที่ทำให้ผู้ที่กล่าวแย้งว่าไม่ควรให้ประชาชนทั่วไปที่ไม่มีอาการป่วยสวมหน้ากากอนามัย ก็คือ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการขาดแคลนหน้ากากของบุคลากรทางการแพทย์ แม้อาจจะเป็นสิ่งที่ดี แต่นั่นอาจยิ่งทำให้ไวรัสระบาดมากขึ้น และยิ่งทำให้ผู้ป่วยมีจำนวนมากขึ้นจนเกินความสามารถของโรงพยาบาลที่จะรองรับได้

หนึ่งในเหตุผลที่ทำให้ผู้อำนวยการซีดีซี จำเป็นต้องแก้ไขแนวทางปฏิบัติเรื่องการใช้หน้ากากอนามัยในการป้องกันไวรัสก็คือ เชื้อไวรัสสามารถแพร่กระจายได้แม้ผู้ติดเชื้อจะไม่แสดงอาการ ดังนั้น หากทุกคนปกปิดใบหน้าด้วยหน้ากากอนามัย ก็อาจช่วยลดการแพร่เชื้อได้

ทั้งนี้ การพบการระบาดของไวรัสจากผู้ที่ไม่แสดงอาการจะไม่ใช่เรื่องใหม่ และมีการคาดการณ์ถึงเรื่องนี้กันอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของการระบาด และเริ่มพบหลักฐานที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา และแม้จะไม่ได้เกิดจากสาเหตุดังกล่าว เราก็ควรสวมหน้ากากอนามัยให้ติดเป็นนิสัย

การบอกว่า เฉพาะผู้ป่วยเท่านั้นที่ควรสวมหน้ากากอนามัย ก็เป็นเสมือนการร้องขอให้คนแขวนป้ายเพื่อเชื้อชวนความกลัวและความเกลียดชังให้เข้ามาหาพวกเขา แต่หากทุกคนต่างสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่นอกบ้าน ผู้ติดเชื้อก็มีแนวโน้มจะทำสิ่งนั้นเช่นกัน เพื่อปกป้องคนที่อยู่รอบตัว

การขาดแคลนหน้ากากอนามัยและเครื่องมือป้องกันในโรงพยาบาลหลายแห่งทั่วโลก ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งดวนที่สุด แต่การขาดแคลนเหล่านี้กลับมีสาเหตุมาจากความล้มเหลวด้านนโยบายของรัฐบาลและปัญหาเรื่องซัพลายเชน ไม่ใช่การขาดแคลนเพราะประชาชนต่างแห่ไปซื้อจนหมดสต็อก

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า