SHARE

คัดลอกแล้ว

สหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของไทย มีสัดส่วนราว 18% ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด โดยปี 2567 มีมูลค่า 54,956.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ขณะที่การนำเข้า สหรัฐฯ เป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 4 ของไทย มีสัดส่วนราว 6% ของมูลค่านำเข้าทั้งหมด หรือมีมูลค่า 19,528.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยรวมไทยเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ 35,427.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อยู่อันดับที่ 12 ของโลก

การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และนโยบายทางการค้าของสหรัฐฯ กำลังจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนของโลก รวมทั้งประเทศไทยก็เสี่ยงหนีไม่พ้น

กลุ่มสินค้าไทย ที่มีความเสี่ยงอาจถูกสหรัฐฯ พิจารณาใช้มาตรการทางภาษีมีประมาณ 29 กลุ่มสินค้า เนื่องจากพบสถิติการค้าที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับไทยมากขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 61-66) เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ

เครื่องโทรศัพท์มือถือ, ไดโอด ทรานซิสเตอร์ และอุปกรณ์กึ่งตัวนำแบบไวแสง (โซลาร์เซลล์), ยางนอกชนิดอัดลมที่เป็นของใหม่, หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องเปลี่ยนไฟฟ้าชนิดอยู่คงที่, เครื่องปรับอากาศ, เครื่องพิมพ์ที่ป้อนกระดาษเป็นม้วน เครื่องส่งสัญญาณวิทยุโทรทัศน์, วงจรรวมอิเล็กทรอนิกส์, เครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณ และส่วนประกอบของของดังกล่าว

นอกจากนี้ ยังมีรายการกลุ่มสินค้าอื่นๆ ที่อาจมีความเสี่ยงโดนเก็บภาษีเช่นกัน เช่น เครื่องจักรไฟฟ้า ตู้เย็นตู้แช่แข็ง เฟอร์นิเจอร์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์จากไม้ รวมถึงสินค้าเกษตร และเกษตรแปรรูปบางรายการ อาทิ ปลาสด แช่เย็น แช่แข็ง ขนมหวานที่ไม่มีส่วนผสมจากโกโก้

ขณะเดียวกัน สหรัฐฯ เองก็จับตาประเทศที่มีกลุ่มทุนจีนเข้าไปลงทุนเพื่อตั้งฐานการผลิต เพราะต้องการเลี่ยงสงครามการค้า และมาตรการทางภาษีจากสหรัฐฯ

โดยประเทศปลายทางที่จีนเข้าไปลงทุนเพิ่มเติม (Greenfield FDI) มากเป็น 10 อันดับแรก ในปี 66 ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย มาเลเซีย เวียดนาม โมร็อกโก คาซัคสถาน อียิปต์ อินโดนีเซีย อาร์เจนตินา เซอร์เบีย และเม็กซิโก

ในมุมของเศรษฐกิจโลกปี 2568 กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ประเมินอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกไว้ที่ 3.3% และยังมองว่า เศรษฐกิจโลกยังคงมีเสถียรภาพ และได้รับแรงหนุนจากเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาที่เติบโตได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยโลก โดยเติบโตอยู่ที่ 4.2% ขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วเติบโตที่ 1.7%

อย่างไรก็ดี IMF ได้เตือนถึงความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกว่า ในระยะปานกลาง เศรษฐกิจโลกอาจเผชิญกับความเสี่ยงนโยบายเศรษฐกิจในลักษณะที่เป็นการปกป้องที่เข้มข้นขึ้น (protectionist policies) โดยเฉพาะนโยบายการปรับขึ้นอัตราภาษีศุลกากร ที่อาจนำไปสู่การลดลงของ

การลงทุน ลดทอนความมีประสิทธิภาพของตลาด เบี่ยงเบนทิศทางการค้า และอาจกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งสอดคล้องกับมุมมองของธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์) ที่ความไม่แน่นอนของนโยบายเศรษฐกิจ และมาตรการที่นำไปสู่การเบี่ยงเบนทางการค้า (trade-distorting measures) จะทำให้เกิดความเสี่ยงของการค้าโลกและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

ซึ่งเวิลด์แบงก์ได้ปรับประมาณการปริมาณการค้าโลก ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เหลือ 3.1% สำหรับเศรษฐกิจและการส่งออกไทยและอาเซียน คาดว่าจะส่งผลให้ขยายตัวลดลงเช่นกัน

จากนี้มาตรการทางการค้าของสหรัฐฯ จะออกมาให้เห็นชัดเจนมากขึ้น โดยรัฐบาลไทยมีแผนจะนำคณะผู้บริหารเยือนสหรัฐอเมริกา เพื่อหารือกับผู้บริหารระดับสูงของสหรัฐฯ ชุดใหม่ในเดือนก.พ.68 เพื่อการเจรจาขอยกเว้นการขึ้นภาษีสินค้าจากไทย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า