Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ความขัดแย้งระหว่างจีน-สหรัฐฯ ขยายวงกว้างไปแทบทุกพื้นที่บนโลก ไม่เว้นแม้กระทั่งบริเวณหมู่เกาะเล็กๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก

วันที่ 17 ธ.ค. 2563 สำนักข่าวรอยเตอร์ (Reuters) รายงานโดยอ้างอิงจากแหล่งข่าวใกล้ชิด 2 ราย ว่าสหรัฐฯ พยายามเข้าไปตักเตือนประเทศในหมู่เกาะแปซิกฟิก ถึงความเสี่ยงด้านกลยุทธ์หากเลือกใช้ หัวเว่ย มารีน (Huawei Marine) บริษัทลูกของหัวเว่ยในด้านอุปกรณ์เครือข่ายใต้ทะเล มารับผิดชอบในโครงการเชื่อมสายเคเบิลใต้ทะเลของภูมิภาคไมโครนีเซียตะวันออก

โครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชีย มีมูลค่า 72.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 2,170 ล้านบาท เพื่อพัฒนาการสื่อสารในกลุ่มประเทศหมู่เกาะแปซิฟิก ได้แก่ นาอูรู ไมโครนีเซีย และ คิริบาส  

แหล่งข่าวระบุว่าสหรัฐฯ ได้ส่งคำเตือนไปยังประเทศเหล่านี้ตั้งแต่เดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา โดยชี้ให้เห็นว่าหัวเว่ยและบริษัทอื่นๆ ของจีน จะต้องให้ความร่วมมือกับหน่วยข่าวกรองของรัฐบาลจีน หากมีการร้องขอ ซึ่งอาจส่งผลต่อความมั่นคงของภูมิภาคได้ แม้ว่าในด้านราคา หัวเว่ยมารีนจะเสนอต่ำกว่าเจ้าอื่นถึง 20% ก็ตาม 

หัวเว่ยมารีน เป็นบริษัทที่เคยมี หัวเว่ย เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่ภายหลังจากที่กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ใส่ชื่อ หัวเว่ยมารีน ลงในบัญชีดำ หัวเว่ยจึงได้ขายกิจการให้กับ Hengtong Optic-Electric และยังคงถือหุ้นส่วนน้อยอยู่

ในเรื่องนี้ ทางรัฐบาลไมโครนีเซียชี้แจงกับรอยเตอร์ว่า ได้มีการพูดคุยกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องถึงประเด็นความปลอดภัยในเรื่องนี้จริง และบางส่วนเน้นย้ำว่าสายเคเบิลเหล่านั้นจะต้องไม่ส่งผลต่อความมั่นคงของภูมิภาค ด้วยการเปิดหรือไม่ยอมปิดช่องทางใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยทางไซเบอร์

ภายใต้กรอบความตกลง Compact of FreeAssociation หรือ CFA สหรัฐฯ จำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือด้านโครงสร้างพื้นฐานและภาคบริการแก่ไมโครนีเซีย รวมถึงนโยบายด้านกลาโหมและความมั่นคง ตลอดจนสิทธิในการตั้งฐานทัพทางทหาร ซึ่งเป็นผลมาจากสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ญี่ปุ่นบุกเข้ายึดครองไมโครนีเซีย และหลังสงครามสงบลง องค์การสหประชาชาติได้ร่างสนธิสัญญาเพื่อส่งมอบให้อยู่ใต้ความดูแลของสหรัฐฯ

ทางด้านนาอูรู ระบุเพียงว่ามีการพูดถึงปัญหาทางเทคนิกและการจัดการ โดยไม่ได้ขยายความใดๆ แต่มีการวิเคราะห์ว่าอาจมีแนวโน้มเอนเอียงไปทางคำแนะนำของสหรัฐฯ เนื่องจากนาอูรูเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่เป็นพันธมิตรและรับรู้ถึงการมีอยู่ของไต้หวัน 

ส่วนคิริบาสที่ปีก่อนตัดสัมพันธ์ทางการทูตกับไต้หวันเพื่อสร้างสัมพันธ์กับจีนนั้น ไม่ได้ออกมาแสดงความเห็นใดๆ ในประเด็นนี้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า