SHARE

คัดลอกแล้ว

  เรื่องการบริหารจัดการวัคซีนเป็นประเด็นที่ต้องจับตาดูอยู่ตลอด ปัญหาหลักตอนนี้คือความไม่ชัดเจนของภาครัฐซึ่งส่งผลต่อความไม่แน่นอนของแผนการระดมฉีดวัคซีน ท่ามกลางการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์โควิดต่างๆ นอกจากการบริหารวัคซีนที่ผิดพลาดตั้งแต่ต้นของรัฐบาลแล้วการส่งมอบวัคซีนก็ล่าช้า เห็นได้ชัดจากการส่งมอบวัคซีน “แอสตร้าเซนเนก้า” (Astrazeneca) ที่ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและยังเป็นลูกค้ารายใหญ่ จากแผนอยู่ที่ 10 ล้านโดสต่อเดือน แต่ขณะนี้ยังส่งให้ไม่ครบ

นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ ได้ให้สัมภาษณ์กับรายการ workpointTODAY  เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 ในตอน บริหารวัคซีนผิดพลาด รัฐบาลกำลังเล่นกับไฟ ว่า ตนเชื่อว่าพลังการวิพากษ์วิจารณ์ของประชาชนสามารถขับเคลื่อนการทำงานของภาครัฐได้ส่วนหนึ่ง อย่างที่ทราบกันว่าขณะนี้ ครม.มีมติเห็นชอบให้เซ็นสัญญาวัคซีนไฟเซอร์ 20 ล้านโดสแล้ว ทั้งที่มีการพูดคุยกันมาตั้งแต่เดือนเมษายน

ส่วนกรณีอนุมัติให้จัดซื้อวัคซีนซิโนแวค (sinovac) อีก 10.9 ล้านโดส นางสาวสฤณี มองว่าเนื่องด้วยวัคซีนหลักอย่างแอสตร้าเซนเนก้าไม่สามารถจัดส่งให้ได้ตามนัด ดังนั้น หากต้องการคงอัตราการฉีดไว้ก็ต้องหายี่ห้ออื่นมาทดแทน “ยี่ห้อไหนล่ะที่จะส่งของให้เราได้ทันที ก็น่าจะหนีไม่พ้นซิโนแวค” ด้านความโปร่งใสของการสั่งซื้อ ล็อตดังกล่าวระบุชัดเจนว่าให้ใช้งบเงินกู้ ซึ่งโปร่งใสกว่าการใช้งบกลาง เนื่องจากมีการติดตามผล

แต่ต้องตั้งคำถามว่า ถ้าเกิดซิโนแวคเอามาใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า แล้วหลักจากต่อไปจนถึงเดือนธันวาคมแนวโน้มเป็นอย่างไร นางสาวสฤณีกล่าวว่า ขณะนี้ก็ยังไม่ชัดเจนว่า หลังจากนี้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าจะสามารถกลับมาส่งให้ไทยได้เดือนละ 10 ล้านโดสตามที่ตกลงไว้หรือไม่ ซึ่งตนมองว่าเป็นปัญหาหลักที่น่ากังวล “เราก็รู้ว่าวัคซีนเชื้อตายไม่สามารถช่วยทำให้เราเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ เพราะว่าโจทย์ตอนนี้ของเราไม่ใช่แค่จะบรรเทาปัญหาการเจ็บป่วยแล้ว แต่ว่าเราต้องการที่จะมุ่งไปสู่การเปิดประเทศถ้าเปิดประเทศไม่ได้เศรษฐกิจก็แย่ไปเรื่อยๆ”

นางสาวสฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์

สำหรับประเด็นที่ไทยเป็นฐานผลิตวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าแต่กลับได้วัคซีนล่าช้า นางสาวสฤณีกล่าวว่า ประเด็นดังกล่าวเป็นอีกเรื่องที่รัฐบาลควรชี้แจงให้โปร่งใส เพราะแม้บริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ จะเป็นเพียงโรงงานรับจ้างผลิตแต่บริษัทต้นทางก็คาดหวังให้ไทยเป็นฐานการผลิตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อีกทั้งไทยยังจ่ายเงินมัดจำค่าวัคซีนส่วนหนึ่งไปในอัตราที่ค่อนข้างมาก ดังนั้น ถือว่ามีอำนาจการต่อรองสูง แต่เป็นเพราะสัญญาที่ไทยทำนั้นหละหลวม ระบุเพียงว่าจะต้องส่งมอบวัคซีนจำนวน 61 ล้านโดสภายใน 1 ปี ฉะนั้น รัฐบาลควรเจรจาต่อรองให้มากกว่านี้ ให้สัดส่วนวัคซีนที่ไทยได้รับมีความทัดเทียมกับประเทศอื่น ๆ

“สิ่งที่น่าตกใจคือทางหน่วยงานของรัฐออกมาพูดในลักษณะที่ว่าสัญญาไม่ได้มีการกำหนดการส่งมอบอะไรเลย คิดเพียงแค่จะต้องส่ง 61ล้านโดส ภายใน 1 ปี ซึ่งอันนี้ส่วนตัวคิดว่ามันไม่น่าจะใช่เพราะสัญญาไม่ควรจะหละหลวมขนาดนั้น โดยเฉพาะเมื่อคำนึงว่าเรามีอำนาจการต่อรองสูงเพราะ 61 ล้านโดสของไทยเป็นจำนวนที่ค่อนข้างเยอะ” น.ส.สฤณี ตั้งข้อสังเกต

น.ส.สฤณี กล่าวต่อว่า “ถ้าเราเทียบกับประเทศอาเซียนตอนนี้รวมกันมีการสั่งแอสตร้าเซนเนก้า อยู่ประมาณ 144 ล้านโดส ซึ่งมีไทยเป็นลูกค้ารายใหญ่ ในเมื่อไทยเป็นลูกค้ารายใหญ่หากทางด้านบริษัทมีปัญหาด้านการผลิตส่งไม่ได้จริง ๆ อาจจะเอาจากโรงงานที่อื่นมาให้กับไทยก็ได้และหากไม่สามารถเอาจากโรงงานที่อื่นมาให้กับไทยได้ แต่จะให้เท่าเทียมกันจริง ๆ ก็คือหากไทยจะได้น้อยลงลูกค้าคนอื่น ๆ ในทวีปนี้ก็ควรจะต้องได้น้อยกว่า 50% ด้วย หากประเทศอื่นได้เท่าเดิมหรือได้มากกว่าไทยก็กลายเป็นว่าประเทศไทยเสียเปรียบ

“นอกเหนือจากการที่ไทยเป็นลูกค้ารายใหญ่แล้ว ในการทำสัญญากับแอสตร้าเซนเนก้าไทยได้มีการจ่ายเงินล่วงหน้า ล็อตแรกที่เราจ่ายตอนแรกไม่ได้คิดว่าจะซื้อ 61 ล้านโดส เพราะมติครม.เมื่อตอนต้นปีบอกว่าให้ซื้อ 26 ร้านโดส ซึ่ง 61 ล้านโดสนี้คือสัญญาจองซื้อล่วงหน้า ซึ่งสัญญาการจองซื้อล่วงหน้าได้จ่ายเงินมัดจำไปแล้วประมาณ 60 % ของ 26 ล้านโดส ถ้าคิดเป็นเงินคือประมาณ 2,300 กว่าล้าน เทียบเท่ากับวัคซีน 15 ล้านโดส ซึ่งเป็นเงินจำนวนมาก”

ดังนั้นจึงเกิดคำถามว่า ประเทศไทยเป็นทั้งฐานการผลิตเป็นทั้งลูกค้ารายใหญ่ เราจ่ายเงินมัดจำไปถึงขนาด 2,300 กว่าล้าน จะต้องมายอมรับ คำอธิบายง่าย ๆ ว่า เขาก็ส่งเท่าที่เขามีให้เราหรือว่าเราจะยอมรับคำอธิบายจากภาครัฐง่าย ๆ ว่าสัญญาไม่ได้มีกำหนดอะไร ดังนั้นเราทำอะไรไม่ได้ตรงนี้ไม่น่าใช่คิดว่าน่าจะมีการต่อรองได้ดีกว่านี้ เพื่อให้จำนวนวัคซีนที่เราได้รับทัดเทียมกับประเทศอื่น” น.ส.สฤณี กล่าว

ในส่วนของวัคซีนทางเลือกที่ประชาชนต้องควักเงินจ่ายเอง นางสาวสฤณี เผยว่า โมเดลนี้ แม้จะมีใช้ในบางประเทศก็จริง แต่เป็นวัคซีนทางเลือกที่ไม่ได้เกิดจากความไม่แน่นอนของวัคซีนหลักหรือความไม่เพียงพอของวัคซีนที่รัฐจัดหาให้ ขณะนี้ วัคซีนทางเลือกกลายเป็นความหวังหลัก ไปแล้ว

“ไทยอาจจะเป็นประเทศแรกๆ ที่กลายเป็นว่าคนหันไปพยายามพึ่งพาวัคซีนทางเลือกที่ต้องจ่ายเงิน เพราะความไม่แน่นอนว่าจะได้วัคซีนที่ฟรีและมีคุณภาพดีจากรัฐได้หรือเปล่า…เป็นเครื่องสะท้อนการบริหารงานที่ผิดพลาดและไม่มีการกระจายความเสี่ยงอย่างเพียงพอ”

นอกจากนี้ นางสาวสฤณี ยังชี้ว่า ระบบการเยียวยาผลกระทบจากวัคซีนควรจะเหมือนกันทุกยี่ห้อ รัฐบาลควรทำให้ประเด็นนี้โปร่งใสเช่นกัน ควรมีกระบวนการให้ประชาชนยื่นเรื่องหากได้รับผลกระทบ โดยใช้ระบบเดียวกันไม่ว่าจะเป็นยี่ห้ออะไรก็ตาม เพื่อไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำและการเลือกปฏิบัติ

“ถ้าเราหันไปดูประเทศเพื่อนบ้าน เราจะเห็นเลยว่าหลายๆ ประเทศเขาพยายามที่จะเปลี่ยนแผนการจัดการวัคซีนจริงๆ เพื่อรับมือกับสายพันธุ์เดลต้า…กลายเป็นว่าไทยเป็นประเทศที่มีวัคซีนใช้น้อยชนิดที่สุดในอาเซียน” นางสาวสฤณีกล่าวถึงประเด็นความหลากหลายของวัคซีนในประเทศไทย

สำหรับประเด็นด้านเศรษฐศาสตร์ อย่างการแข่งขันทางเศรษฐกิจ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์ เผยว่า จริงๆ ภาครัฐประเมินตัวเลขความเสียหายทางเศรษฐกิจไว้แล้ว อยู่ที่ 3-4 แสนล้านบาทต่อเดือน และหากไทยยังคงไม่สามารถเปิดประเทศได้ ความสูญเสียจะยิ่งทวีคูณ ประชาชนที่มีภาระหนี้สิ้นและขาดรายได้ช่วงการระบาดโควิดจะยิ่งเจอปัญหาหนี้ท่วม ความสามารถในการฟื้นตัวก็จะยิ่งลดลง “โจทย์เรื่องวัคซีนต้องผูกไปกับโจทย์การเปิดประเทศ ไม่สามารถมองแค่โจทย์ทางการแพทย์ได้อย่างเดียวอีกต่อไป”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า