Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

แฟ้มภาพ นายกฯ ฉีดวัคซีน

กระทรวงสาธารณสุขห่วงประชาชนช่วงเปลี่ยนเข้าสู่ฤดูฝนระวังป่วยไข้หวัดใหญ่ แนะ 7 กลุ่มเสี่ยงควรยึดหลัก “ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด” และฉีดวัคซีนป้องกัน ด้านกรมควบคุมโรคเตรียมวัคซีน 4 แสนโดด ฉีดป้องกันไข้หวัดใหญ่เด็กวัยเรียน

วันที่ 16 พ.ต.2562 นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศว่า ประเทศไทยกำลังจะเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการ สภาพอากาศจะเปลี่ยนแปลงบ่อย ฝนตกมากขึ้นในหลายพื้นที่อากาศมีความชื้นสูงทำให้เกิดการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ได้ง่าย จากข้อมูลการเฝ้าระวังของสำนักระบาดวิทยา พบว่า ฤดูฝนช่วงเดือนมิถุนายน ถึง กันยายน 2561  มีประชาชนป่วยด้วยไข้หวัดใหญ่ถึง 85,287 ราย เสียชีวิต 20 ราย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสี่ยงได้แก่ ผู้สูงอายุ มีโรคเรื้อรังประจำตัว จึงกำชับให้สาธารณสุขจังหวัดทุกแห่งให้เร่งลงพื้นที่ให้ความรู้ประชาชน รวมถึงแนะนำแนวทางการปฏิบัติตน ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันโรค ซึ่งสามารถทำได้โดยง่าย คือ ยึดหลัก “ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด” คือ ปิดปากจมูกเมื่อป่วย ไอ จาม สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ ก่อนรับประทานอาหาร เลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้มีอาการป่วยมีไข้ ไอ จาม หรืออยู่ในสถานที่คนมาอยู่รวมกันจำนวนมาก ให้หยุดงานหยุดเรียนหยุดกิจกรรมกับผู้อื่นเมื่อป่วย เพื่อให้หายป่วยเร็ว และไม่แพร่เชื้อให้คนอื่น รวมถึงต้องออกกำลังกายสม่ำเสมอ รักษาร่างกายให้อบอุ่น รับประทานอาหารที่สะอาดปรุงสุกใหม่ ครบ 5 หมู่ เพิ่มผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง

ขณะที่ นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ว่า ตั้งแต่เดือน ม.ค.-เม.ย. พบผู้ป่วย 1.5 แสนราย และเสียชีวิต 10 ราย ที่ผ่านมาในแต่ละปีจะมีแผนการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่อยู่แล้วโดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1.กลุ่มเสี่ยงที่ทำงานพบปะผู้คนโดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์จะใช้งบประมาณของ คร. และ 2.การให้วัคซีน เพื่อลดการเสียชีวิตใน 7 กลุ่มเสี่ยง อาทิ กลุ่มเด็ก 6 เดือน-3 ขวบ หญิงมีครรภ์ ผู้สูงอายุ คนอ้วน และผู้ที่มีโรคประจำตัว

ล่าสุดปี 2562 มีการนำเข้าวัคซีน 4 แสนโดส ซึ่งเริ่มทยอยฉีดวัคซีนให้แล้วตั้งแต่ปลาย เม.ย.เป็นต้นมา สำหรับการฉีดวัคซีนกลุ่มอื่น เช่น เด็กวัยเรียน ต้องเข้าใจก่อนว่าวัตถุประสงค์ไม่ใช่เพื่อลดการเสียชีวิต แต่เพื่อลดการเจ็บป่วย และหวังผลลดการแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น เพราะถ้ามองอีกแง่มุมหนึ่งการเจ็บป่วยของเด็กวัยเรียนก็ทำให้เด็กต้องขาดเรียน เรียนไม่ทันเพื่อน บางคนไม่ได้เข้าสอบ และอาจจะกระทบกับการเติบโตได้ ซึ่งก็นับว่าเป็นส่วนสำคัญเหมือนกัน ดังนั้น คณะอนุกรรมการเสริมภูมิคุ้มกันโรคได้พิจารณาให้วัคซีนในกลุ่มเด็กวัยเรียนในปีงบฯ 2563 อยู่ระหว่างนำเสนอต่อ คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติพิจารณา

เบื้องต้นจำนวนเด็กวัยเรียนจะมีช่วงเวลา 12 ปี คือ ป.1-ม.6 แต่ละปีจะมีเด็กนักเรียนประมาณ 8 แสนคน ถ้าเพิ่มก็เท่ากับต้องเพิ่มงบส่วนนี้อีกประมาณเกือบพันล้านบาท แต่วัคซีนยิ่งซื้อมากก็ยิ่งราคาถูกลง และสำคัญคือองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ก็มีการสร้างโรงงานผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ซึ่งน่าจะเห็นผลเร็วๆ นี้และคาดว่าจะทำให้ราคาวัคซีนถูกลง

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ฟรี โดยขอรับบริการวัคซีนได้ที่สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ และสถานพยาบาลเอกชนที่ร่วมโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ถึง 31 สิงหาคม 2562

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า