SHARE

คัดลอกแล้ว

จำนวนประชาชนกลุ่มเป้าหมายฉีดวัคซีนกลุ่มแรก ที่เปิดให้ลงทะเบียนผ่านหมอพร้อมเมื่อวันที่ 1 พ.ค. 2564 ที่ผ่านมาพบว่าจังหวัดที่ประชาชนลงทะเบียนมากที่สุดรองจากกรุงเทพมหานคร คือ จ.ลำปาง 223,976 คน  หรือคิดเป็นร้อยละ 70 – 80 ของประชากรผู้สูงวัยและผู้ป่วย 7 กลุ่มโรค ของพื้นที่

workpointTODAY ชวนถอดบทเรียนว่าอะไรที่ทำให้ประชาชนชาว จ.ลำปาง มีความเชื่อมั่นในการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในขณะที่ยังมีประชาชนจำนวนไม่น้อยกังวลเรื่องประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของวัคซีน จะเห็นได้จากยอดรวมการลงทะเบียนรับวัคซีนกลุ่มนี้ทั้งประเทศที่ยังเหลือโควตามากถึง 14 ล้านคน จากเป้าหมาย 16 ล้านคน

นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เปิดเผย ว่าตัวเลขผู้ลงทะเบียนรับวัคซีนรอบแรกของ จ.ลำปาง กว่า 2 แสนรายนี้ เป็นเป้าหมายที่ถูกกำหนดไว้ตั้งแต่แรก พร้อมเผยขั้นตอนการทำงานหลังทราบแผนการกระจายวัคซีนของรัฐบาล โดยทางจังหวัดหารือเรื่องนี้มาตลอด โดยแบ่งออกเป็น 5 ขั้นดังนี้

  1. ตั้งเป้าจำนวนผู้รับวัคซีน สร้างภูมิคุ้มกันหมู่ในจังหวัด

นายณรงค์ศักดิ์ กล่าวว่า การจะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้ต้องฉีดวัคซีนให้ประชาชน 70 เปอร์เซ็นต์ จ.ลำปาง มีประชากร 7.4 แสนคน ดังนั้นต้องฉีดให้ได้ 5 แสนคน แต่จากจำนวนวัคซีนที่มีทำให้เราไม่สามารถฉีดให้ครบตามเป้าหมายนี้ได้

แผนการรับวัคซีนจึงใช้วิธีแบ่งเป็นรอบ โดยแรก คือ กลุ่มผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัว ซึ่งทั้งจังหวัดมีจำนวน 2.5 แสนคน และรอบที่สอง จะเป็นกลุ่มประชาชนทั่วไปอีก 3 แสนคน แต่ในกรณีนี้จะต้องไม่มีการรับโรคจากนอกพื้นที่เข้ามา ส่วนประชาชนที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนอีก 2 แสนคนที่เหลือจะเป็นคนที่มีความเสี่ยงน้อยไม่ได้ออกจากบ้านหรือพบปะผู้คน หากทำได้สำเร็จจะทำให้ จ.ลำปางเป็นพื้นที่ปลอดโรค และสามารถเปิดการท่องเที่ยวได้ เศรษฐกิจจะขับเคลื่อนได้

แผนดังกล่าว คำนึงถึงศักยภาพในการฉีดของทีมสาธารณสุขด้วย โดยพบว่าที่ผ่านมาฉีดได้สูงสุดวันละ 5,000 โดสต่อวัน และสามารถเพิ่มได้เต็มที่ 6,000 โดสต่อวัน ทำให้ใน 1 เดือน จะฉีดได้ราว 1.8 แสนโดส จึงกำหนดล็อตแรกไว้ 2 แสนคน

  1. รณรงค์สร้างความเข้าใจ ใช้ข้อเท็จจริงสื่อสารกับประชาชน

ผู้ว่าฯ ณรงค์ศักดิ์ บอกอีกว่า การจะทำให้คนลงทะเบียนได้ตามเป้า 2 แสนคนนับเป็นเรื่องยาก เพราะคนกลัวการฉีด เนื่องจากที่ผ่านมา จ.ลำปาง มีข่าวเรื่องผลข้างเคียงจากการฉีดในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์

“การสื่อสารจึงเน้นใช้ความจริง คือ บอกไปว่าเราฉีดกี่คน แพ้กี่คน แพ้หนักไหม แพ้ทั่วไปกี่คน อาการเป็นอย่างไรบ้าง เราไม่เคยปฏิเสธเลย จะเห็นว่าเราแถลงข่าวชี้แจงว่าเราแพ้กี่คนที่มีอาการคล้ายอัมพฤกษ์ชั่วคราว เราฉีดไปกี่คนให้เห็นว่าเมื่อเทียบกับคนที่แพ้ถือว่าน้อยมาก”

และสิ่งที่สร้างความตระหนักให้คนลำปางอีกเรื่อง คือการสื่อสารถึงสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต เช่น เกิดวิกฤตการแพร่ระบาดที่หนักกว่านี้ แล้วไม่มียารักษา ไม่มีวัคซีน หากถึงเวลานั้นยังไม่ได้ฉีดผลที่ตามมาจะรุนแรงกว่านี้

“แม้ว่าวันนี้ผู้ป่วยในลำปางมีตัวเลขแค่ 2 หลัก เราไม่ต้องใช้โรงพยาบาลสนาม แต่หากสถานการณ์อีก 2 เดือนข้างหน้าถ้าวิกฤตกว่านี้ แล้วไม่มีวัคซีนเหลือจะทำอย่างไร หากติดเชื้อขึ้นมาอาการจะรุนแรง จะปล่อยให้พ่อแก่แม่เฒ่าของเรานอนป่วยตายไปหรือ ซึ่งเราทนไม่ได้หรอก เราจึงรณรงค์ให้คนเห็นว่าการขอฉีดวัคซีนได้ ยังดีกว่าไม่มีวัคซีนให้ฉีดในวันข้างหน้า”

นอกจากนี้ยังสร้างหลักประกันในการฉีด คือ ทุกคนจะได้รับการดูแลอย่างดีจาก แพทย์ พยาบาล จะไม่มีการฉีดนอกสถานที่เด็ดขาด

“ที่สำคัญต้องใช้ภาษาที่ชาวบ้านเข้าใจมากที่สุด โดยอาศัยการทำงานของ อสม. เคาะประตูบ้าน ให้ความรู้กับประชาชน อย่างผู้ว่าฯ เองก็รับปากจะดูแลทำให้ประชาชนเชื่อใจมากที่สุด”

  1. โปรแกรม “ลำปางพร้อม” เพิ่มช่องทางลงทะเบียนถึงบ้าน

ปัญหาการเข้าถึงเทคโนโลยีของกลุ่มผู้สูงวัย เป็นอุปสรรค์หนึ่งที่ทำให้คนลงทะเบียนน้อย จ.ลำปาง ได้สร้างโปรแกรมหนึ่งขึ้นมาเพื่อรองรับเรื่องนี้ นั่นคือ “ลำปางพร้อม” ให้ อสม. นำไปใช้ในการลงพื้นที่เคาะประตูบ้าน สำรวจผู้ต้องการลงทะเบียน และบันทึกข้อมูลรวบรวมไว้ จากนั้นเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจะนำข้อมูลในระบบนี้มาลงใน “หมอพร้อม” ให้ จากตัวเลขที่เห็น 2 แสนกว่ารายพบว่ามาจาก “ลำปางพร้อม” ถึง 90 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้ยังมี Call center 12 คู่สาย สำหรับให้คำปรึกษาการฉีด ข้อมูลวัคซีน สำหรับคนที่ยังไม่เข้าใจ และช่วยลงทะเบียนให้ โดยจะเปิดตั้งแต่ 8 โมงเช้า ถึงเที่ยงคืน

  1. ทำนัดหมายฉีดวัคซีน เตรียมพร้อมก่อนฉีด

เมื่อได้กำหนดวัดนัดหมายอย่างเป็นทางการจากกระทรวงสาธารณสุขแล้ว อสม. ก็จะลงไปคุยถึงการเตรียมความพร้อมก่อนฉีดวัคซีน และช่วยเหลือในการเดินทางมาฉีดที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน ทำให้การฉีดจะไม่ตกหล่น

  1. เตรียมแผนล่วงหน้าสำหรับการฉีดอีก 3 แสนคน ในรอบต่อไป

เมื่อฉีด 2 แสนคนประสบความสำเร็จ จะเดินหน้าอีก 3 แสนคนที่เหลือ ตามเป้าให้ครบ 5 แสน ให้ได้ตามเป้า เพื่อให้ครบ 70 เปอร์เซ็นต์ของประชาการ จ.ลำปาง ซึ่งต้องวางแผนล่วงหน้า อย่างแผนรอบนี้ ทางจังหวัดเริ่มทำตั้งแต่กลาง เม.ย. 2564 ทำให้ทุกภาคส่วนมีความพร้อมและทำงานออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“เจ้าหน้าที่สาธารณสุขเราเหนื่อยมากครับช่วง 10 วันที่ผ่านมา แต่ผลที่ได้รับ ก็ถือว่าคุ้มเหนื่อย” นายณรงค์ศักดิ์ กล่าว ทิ้งท้าย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า