SHARE

คัดลอกแล้ว
วันที่ 19 ม.ค. 2564 นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค และ นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ร่วมแถลงข่าวกรณีการจัดหาวัคซีนโควิด-19 กรณีมีข่าวว่ากระทรวงสาธารณสุขจัดหาวัคซีนโควิด-19 มีความล่าช้า และราคาแพง ไม่ครอบคลุมประชาชน รวมทั้งกระบวนการได้มาซึ่งวัคซีน ที่ถูกระบุวาไทยติดต่อวัคซีนเพียงบริษัทเดียว เป็นการการจัดหาวัคซีนของแอสตราเซเนก้า และสยามไบโอไซเอนซ์
นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า หลังการระบาดของโควิด-19 รัฐบาลมองว่าวัคซีนเป็นหนึ่งในกระบวนการควบคุมโรค ซึ่งมีการคณะกรรมการจัดหาวัคซีนเพื่อคนไทย และมีคณะทำงานย่อย มีการศึกษาข้อมูลและติดตามอย่างต่อเนื่อง ซึ่งต้องยอมรับว่าขณะนั้นยังมีข้อมูลที่จำกัด แต่วิธีการตั้งเป้าปี 2564 จากการทดลองในเฟส 3 น่าจะได้วัคซีนมาฉีดคนไทย 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งการจัดหามีเจรจาหลายบริษัท ส่วนกรณีไม่ได้แจ้งประชาชนเนื่องจากเป็นข้อจำกัดข้อตกลงระหว่างกัน ที่ไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะ การจัดหาอาจจะมีความล่าช้า เนื่องจากต้องพิจารณาความเป็นไปได้กับทางผู้ผลิตวัคซีน
 
นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวว่า การใช้วัคซีนโควิด-19 ในภาวะเร่งด่วนและในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน การที่สถาบันวัคซีนร่วมกันจัดหาวัคซีนและจองล่วงหน้า ต้องใช้ข้อมูลประกอบกัน และพิจารณารูปแบบวัคซีนที่วิจัยพัฒนาอยู่ว่ามีแนวโน้มจะใช้ได้กับไทยหรือไม่ ไม่ใช่การพิจารณาแค่ชื่อบริษัท หรือตามตัววัคซีนอย่างดียว ซึ่งแอสตราเซเนก้าไม่ใช่การจองซื้อวัคซีนทั่วไป แต่ต้องการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้ไทย ในช่วงเวลาเร่งด่วนจึงต้องมีความพร้อมที่สุด มีความสามารถ มีคุณสมบัติ พบว่ามีสยามไบโอไซเอนซ์ พร้อมที่จะรองรับการถ่ายทอดจากมหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ด เพราะแม้แต่องค์การเภสัชกรรมของไทย ยังไม่มีศักยภาพเพียงพอ เพราะใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่
 
นพ.นคร ระบุอีกว่า การที่ไทยมีข้อตกลงในลักษณะนี้ ก็มีหลายประเทศ อยากได้ข้อตกลงนี้กับไทย มีผู้พยายามแข่งให้บริษัทแอสตราเซเนก้าคัดเลือก แต่ทีมไทยแลนด์ทั้งกระทรวงสาธารณสุข และสถาบันวัคซีน และเอสซีจี และรัฐบาลเจรจา นั่นแสดงให้เห็นว่าศักยภาพของสยามไบโอไซเอนซ์ ที่เดิมผลิตเพียงแค่ชีววัตถุ หรือยาเพิ่มเม็ดเลือดในผู้ป่วยไตวายเรื้องรัง ปรับศักยภาพการมาเป็นการผลิตวัคซีน ซึ่งรัฐสนับสนุน 500 ล้านบาท และเอสซีจีอีก 100 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อเครื่องมือ จนเข้าคุณสมบัติ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า