SHARE

คัดลอกแล้ว
สธ. เผย ทั่วโลกติดโควิด-19 สูงขึ้น แต่เสียชีวิตน้อยลงเพราะวัคซีน พร้อมชี้แจงวิธีหาประสิทธิภาพวัคซีนซิโนแวคป้องกันโควิด-19 ได้ถึง 90% ไม่ได้คำนวณจากค่าตัวเลขแต่ได้มาจากการใช้งานจริง
วันที่ 23 ก.ค. 2564 นพ.ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กล่าวถึงสถานการณ์วัคซีนของประเทศไทย เกี่ยวกับการศึกษาหาประสิทธิผลของวัคซีนซิโนแวค ซึ่งที่มีข้อมูลปรากฏว่า การฉีดวัคซีนซิโนแวคสามารป้องกันโควิด-19 ได้ 90% ซึ่งการวัดประสิทธิผลของวัคซีนไม่ได้วัดที่ภูมิต้านทาน หรือการวัดค่าที่ตัวเลขต่างๆ แต่เป็นการวัดและทดสอบจากใช้งานจริง ในช่วงที่มีการระบาดของสายพันธุ์อัลฟา ใน 3 พื้นที่ จ.ภูเก็ต จ.สมุทรสาคร จ.เชียงราย
จากการคำนวณอัตราผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่ได้รับการการฉีดวัคซีนซิโนแวคครบ 2 เข็ม อย่างน้อย 14 วัน เปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน พบว่าใน 3 พื้นที่ ผู้ที่ฉีดวัคซีนมีประสิทธิผลใกล้เคียงกันประมาณ 90% ส่วนประสิทธิผลในการป้องกันสายพันธุ์เดลตาที่กำลังระบาดอยู่ตอนนี้ กำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล
นพ.ทวีทรัพย์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้สถานการณ์ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่กลับมาเพิ่มสูงขึ้นประมาณ วันละ 500,000 คน เสียชีวิตคงที่ประมาณ 8,000 – 10,000 คนต่อวัน ซึ่งโควิด-19 ได้กลายเป็นโรคติดเชื้อประจำถิ่นทั่วโลก แม้แต่ประเทศที่เคยควบคุมสำเร็จหรือประเทศที่ฉีดวัคซีนไปแล้ว 50-60% ของประชากร ก็เกิดการระบาดระลอกใหม่และติดเชื้อสูงขึ้นใหม่อีกครั้ง
สำหรับแนวโน้มสถานการณ์ประเทศไทย มีผู้ติดเชื้อใหม่หลักหมื่นรายต่อวันตลอดทั้งสัปดาห์ แต่ภายหลังเพิ่มความเข้มข้นมาตรการสาธารณสุข ร่วมกับการระดมฉีดวัคซีน พบข้อมูลของ กทม. จำนวนการติดเชื้อเริ่มชะลอตัวลง ไม่ได้เพิ่มสูงเหมือนสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเป็นผลจากมาตรการที่ทุกฝ่ายพยายามช่วยกันดำเนินการ ส่วนแนวโน้มผู้เสียชีวิตคาดว่า สัปดาห์ถัดไปคงไม่สูงไปกว่า 100 รายต่อวัน โดยเป้าหมายการฉีดวัคซีนมี 3 ประการ คือ 1.ลดการป่วยรุนแรงและเสียชีวิต 2.ปกป้องระบบสุขภาพ และ 3.กลับเข้าสู่การใช้ชีวิตประจำวัน โดยยุทธศาสตร์ของประเทศไทย ได้ฉีดวัคซีนบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อธำรงการควบคุมโรคและรักษาพยาบาลได้อย่างต่อเนื่องแล้ว
ส่วนเป้าหมายที่ 2 ในการลดการเสียชีวิตและการป่วย ที่มีกลุ่มเป้าหมายหลักคือ การฉีดวัคซีนให้ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป รวมถึงผู้ป่วยกลุ่ม 7 โรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากระยะหลังพบการติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น โดยทั้ง 3 กลุ่มนี้จะฉีดให้ครอบคลุมในพื้นที่ระบาดสูงสุดก่อนและเรียงตามประชากรกลุ่มอื่นและพื้นที่อื่นต่อไป
“สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่รับซิโนแวค 2 เข็มแล้ว กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายให้ฉีดเข็มกระตุ้น เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้สูงขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการป้องกันการติดเชื้อให้กับบุคลากรที่ต้องทำงานเสี่ยงสูงและมีโอกาสสัมผัสการติดเชื้อ เนื่องจากซิโนแวคเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย การฉีดกระตุ้นจึงควรใช้วัคซีนรูปแบบอื่น โดยอาจจะเป็นวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า หรือวัคซีนไฟเซอร์ โดยการศึกษาในห้องปฏิบัติการพบว่า วัคซีนทั้ง 2 รูปแบบ สามารถกระตุ้นเพิ่มภูมิต้านทานให้เพิ่มสูงขึ้นมากได้ไม่แตกต่างกัน และด้วยขณะนี้วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้ามีอยู่แล้ว จึงสามารถฉีดกระตุ้นได้เลย ส่วนวัคซีนไฟเซอร์ หากได้รับมาเมื่อไหร่ก็ฉีดได้เช่นเดียวกัน” นพ.ทวีทรัพย์ กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า