SHARE

คัดลอกแล้ว

5 ภาคีรัฐ-เอกชน ประสบความสำเร็จในการพัฒนานวัตกรรมสเปรย์พ่นจมูกดักจับและยับยั้งโควิด-19 ทางกายภาพ สำเร็จตามเป้า สร้างทางเลือกใหม่ให้คนไทยอุ่นใจจากโควิด-19 เริ่มวางจำหน่าย 1 ต.ค.นี้

คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.), องค์การเภสัชกรรม และ บริษัทไฮไบโอไซ จำกัด (บริษัทย่อย ใน บมจ.โรจูคิส อินเตอร์เนชั่นแนล) 5 ภาคีเครือข่ายจากองค์กรชั้นนำภาครัฐและเอกชน ในความร่วมมือพัฒนานวัตกรรมจนสามารถผลักดันงานวิจัยและพัฒนาจนเป็นผลิตภัณฑ์ “สเปรย์พ่นจมูกที่มีคุณสมบัติดักจับและยับยั้งเชื้อโควิด-19 ทางกายภาพบริเวณโพรงจมูก” ภายใต้ แบรนด์เวลล์ “โควิแทรปแอนติโคฟ นาซอล สเปรย์” สำเร็จได้ในที่สุดและได้รับอนุญาตจาก อย. แล้ว

นางวรวรรณ ไชยกำเนิด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไฮไบโอไซ จำกัด ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โรจูคิส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) และ รอ.นพ.นิมิต ประสิทธิ์ดำรง ผู้เชี่ยวชาญกิตติมศักดิ์ บริษัท ไฮไบโอไซ จำกัด พร้อมด้วย รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม ตัวแทนภาคีเครือข่าย ร่วมแถลงความสำเร็จในการสร้างนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ สเปรย์พ่นจมูกดักจับและยับยั้งเชื้อโควิด-19 ทางกายภาพบริเวณโพรงจมูก ถือเป็นนวัตกรรมระดับโลกจากแพทย์ และทีมนักวิจัยไทยในครั้งนี้ ณ ห้องประชุม THE MITR-TING ROOM สามย่านมิตรทาวน์ฮอลล์ ชั้น 5 โดยได้รับเกียรติจาก นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) มาเป็นประธานในงาน

นพ.นพพร ชื่นกลิ่น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ในฐานะประธานในงาน กล่าวถึง สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่เกิดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม 2562 มีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก แม้จะมีแนวโน้มคลี่คลาย แต่โควิด-19 ยังเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ทีมวิจัยทั้งจากภาครัฐและเอกชนจึงร่วมกันทำงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็น การพัฒนาวัคซีน, ชุดตรวจเชื้อ, เครื่องช่วยหายใจ รวมถึงการพัฒนาแอนติบอดีที่มีคุณสมบัติดักจับและยับยั้งเชื้อโควิด-19 ทางกายภาพบริเวณโพรงจมูก โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบในรูปแบบของสเปรย์สำหรับพ่นจมูก ซึ่งจะเป็นนวัตกรรมที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งของประเทศไทยที่จะปรากฏสู่สายตาชาวโลก และเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือร่วมใจกัน เพื่อให้ประเทศไทยก้าวพ้นสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ครั้งนี้ไปได้ จนประสบผลสำเร็จและสามารถยื่นจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อย โดยถ่ายทอดองค์ความรู้นี้ไปสู่ภาคเอกชน เพื่อนำไปต่อยอดในการทำการวิจัย สร้างเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรม ช่วยยับยั้งเชื้อโควิด-19 ได้ในที่สุด

นพ.นพพร กล่าวถึงการเปิดตัว ผลิตภัณฑ์สเปรย์พ่นจมูกเพื่อยับยั้งเชื้อโควิด-19 ทางกายภาพบริเวณโพรงจมูก ภายใต้แบรนด์เวลล์โควิแทรปครั้งแรกของไทยและของโลกด้วยว่า ขอชื่นชมในความสำเร็จของสเปรย์พ่นจมูกเพื่อยับยั้งเชื้อโควิด-19 ที่มีคุณสมบัติดักจับและยับยั้งเชื้อโควิด-19 ทางกายภาพบริเวณโพรงจมูก ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของ 5 ภาคีเครือข่ายจากภาครัฐและเอกชน คือ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.), องค์การเภสัชกรรม และ บริษัท ไฮไบโอไซ จำกัด ที่ได้ร่วมมือกันพัฒนานวัตกรรมไทยสู่ระดับโลก แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของคนไทย ซึ่งรัฐบาลโดยกระทรวงสาธารณสุข พร้อมส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงในระบบสุขภาพของประเทศ และผลิตภัณฑ์นี้ นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของประชาชนที่จะช่วยในการยับยั้งการติดเชื้อโควิด-19

นพ.นพพร กล่าวว่า วันนี้รู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นถึงความร่วมมือของภาคีเครือข่ายทั้ง 5 จากภาครัฐและเอกชน หน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ ที่ได้มุ่งมั่นและร่วมกันพัฒนานวัตกรรมแอนติบอดีที่มีคุณสมบัติเพื่อยับยั้งเชื้อโควิด-19 ให้เป็นนวัตกรรมสุขภาพต้นแบบในการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพคนไทย และเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดการเข้าถึงบริการสุขภาพของคนไทยมากยิ่งขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งพาตนเองด้านสุขภาพของประเทศไทย สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ นับเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของความร่วมมือ ของภาควิชาการ ภาคเอกชน จนสามารถต่อยอดไปยังภาคธุรกิจได้ และเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของความร่วมมือในการวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ และพิสูจน์ให้โลกเห็นว่า งานวิจัยสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทันเวลาในสถานการณ์จริง นพ.นพพร กล่าว

ด้าน รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงภาพรวมของสถานการณ์โควิด-19 ตลอดจนมุมมองด้านการแพทย์เกี่ยวกับโควิด-19 ในปัจจุบันว่า แม้สถานการณ์โควิด-19 จะมีแนวโน้มคลี่คลายดีขึ้นในหลายๆ ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย ทว่าโควิด-19 ก็ยังคงเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ตลอดจนคอยติดตามข่าวสาร และ งานวิจัยทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง เพราะยังมีงานวิจัยที่ยังคงศึกษาถึงผลกระทบกับสุขภาพในระยะยาวของผู้ติดเชื้อเช่นกัน นอกจากนั้น งานวิจัยและนวัตกรรมของจุฬาฯ ในการป้องกันและรักษาผู้ป่วยโควิด-19 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้ร่วมกับคณะต่างๆ ยังมีอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์สำคัญระดับประเทศต่างๆ เช่น การพัฒนาวัคซีน ChulaCov 19, ชุดตรวจเชื้อ, เครื่องช่วยหายใจ เป็นต้น องค์กรมีความยินดีและภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่จะนำองค์ความรู้จากการทำวิจัย โดยทีมนักวิจัยแพทย์จุฬาฯ คือการพัฒนาแอนติบอดีที่มีคุณสมบัติดักจับและยับยั้งเชื้อโควิด-19 ทางกายภาพบริเวณโพรงจมูก ซึ่งทีมนักวิจัยได้บ่มเพาะและพัฒนามาตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการระบาด โดยได้รับการสนับสนุนทั้งจากภาคประชาชน และภาครัฐ คือ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กระทั่งสามารถพัฒนาแอนติบอดีต้นแบบได้และได้ยื่นจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อย และมีความพร้อมที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้นี้ไปสู่ภาคเอกชนเพื่อนำไปต่อยอด ในการทำการวิจัยทางคลินิก เพื่อสร้างเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่น่าจะมีส่วนช่วยป้องกันหรือรักษาโรคโควิด-19 จนเป็นผลสำเร็จได้ในวันนี้

สำหรับเทคโนโลยี Human Monoclonal Antibody ว่า เทคโนโลยีดังกล่าวเป็นเทคโนโลยีทางชีวภาพชั้นสูง โดยพัฒนาจากการถอดรหัสแอนติบอดีที่ได้จากอาสาสมัครที่หายดีจากโควิด-19 โดยมีภูมิคุ้มกันในระดับดีเยี่ยม

นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม กล่าวถึงบทบาทขององค์การเภสัชกรรมในการบริหารจัดการและช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันว่า จากสถานการณ์โควิด-19 ช่วงที่ผ่านมา องค์การเภสัชกรรมในฐานะองค์กรหลักเพื่อความมั่นคงทางยาและเวชภัณฑ์ของประเทศ ได้ดำเนินการตามภารกิจวิจัย พัฒนา ผลิต จัดหา สำรอง กระจายยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ป้องกันต่างๆ สนับสนุนให้กับระบบสาธารณสุขของประเทศ องค์การเภสัชกรรมเป็นองค์กรหลักในการผลิต และจัดหายาและเวชภัณฑ์ในสถานการณ์โควิด-19 มาอย่างต่อเนื่อง และมุ่งส่งเสริมให้มีผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เป็นนวัตกรรมสามารถผลิตขึ้นใช้ได้เองในประเทศ ด้วยความเชี่ยวชาญในการผลิตยาและเวชภัณฑ์ ที่มีมาตรฐานยอมรับในระดับสากล องค์การเภสัชกรรมจึงได้ทำหน้าที่ในการผลิตและควบคุมคุณภาพ ผลิตภัณฑ์นวัตกรรม “สเปรย์พ่นจมูกเพื่อยับยั้งเชื้อโควิด-19 ทางกายภาพบริเวณโพรงจมูก” โดยนวัตกรรมชิ้นนี้สามารถวิจัยและผลิตขึ้นใช้ได้เองในประเทศ โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวได้รับการขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ล่าสุด องค์การเภสัชกรรมได้รับใบจดทะเบียนสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์ โดยมีขอบข่ายการอนุญาตให้ผลิตเครื่องมือแพทย์ในกลุ่ม Respiratory care service สำหรับผลิตภัณฑ์ Nasal spray solution จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และยังได้รับการรับรอง ISO-13485 : 2016 มาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพสำหรับเครื่องมือแพทย์ จากบริษัท UIC certification service ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ตรวจรับรองประเมินมาตรฐานสากลซึ่งแสดงได้ว่าสถานที่ผลิตแห่งนี้ มีคุณภาพ ความปลอดภัย ระบบการจัดการคุณภาพสำหรับการผลิตเครื่องมือแพทย์ที่ดี

นอกจากนี้ นพ.วิฑูรย์ ยังกล่าวถึง ศักยภาพและความพร้อมในการผลิต ตลอดจนความมั่นใจในคุณภาพ ความปลอดภัย และ ความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์จากองค์การเภสัชกรรมว่า องค์การเภสัชกรรมจึงมีความพร้อมที่จะผลิตนวัตกรรมสเปรย์ชิ้นนี้ออกสู่ตลาด เพื่อให้ประชาชนชาวไทยสามารถเข้าถึงนวัตกรรมสุขภาพในการป้องกันและช่วยรับมือกับสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 และยังส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงในระบบสุขภาพของประเทศ นวัตกรรมชิ้นนี้จึงถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการดูแลตัวเอง เพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อโควิด-19 และเป็นนวัตกรรมสุขภาพในการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพของคนไทย ให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและในอนาคตได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

นวัตกรรมสเปรย์พ่นจมูกดักจับและยับยั้งเชื้อโควิด-19 ทางกายภาพ บริเวณโพรงจมูก เวลล์โควิแทรป แอนติ-โคฟ นาซาล สเปรย์ (Vaill CoviTRAP Anti-CoV Nasal Spray) ถือเป็นครั้งแรกของไทยที่พร้อมสู่สายตาของชาวโลกที่มีคุณสมบัติสามารถดักจับและยับยั้งเชื้อโควิด-19 ต่อเนื่อง 6 ชั่วโมง ด้วยหลักการทำงาน 2 กลไก ได้แก่

1. ดักจับด้วย HPMC ที่ทำหน้าที่เคลือบบริเวณพื้นผิวโพรงจมูก ทำให้ความสามารถในการเกาะของเชื้อไวรัสที่บริเวณโพรงจมูกลดลง

2. ยับยั้งเชื้อไวรัสโควิด-19 ทางกายภาพ ที่เข้ามาในบริเวณโพรงจมูกด้วยภูมิคุ้มกัน ใช้พ่นที่โพรงจมูกทั้ง 2 ข้าง สอดหัวพ่นเข้าไปในโพรงจมูกในแนวตั้ง พ่นข้างละ 1-2 ครั้ง ใช้ได้ตามต้องการทุก 6 ชั่วโมง ได้ถึงวันละ 3 ครั้ง มีขนาด 15 มล.

เวลล์โควิแทรป แอนติ-โคฟ นาซาล สเปรย์ พร้อมจัดจำหน่ายในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้ ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Official Line @Covitrap หรือ Facebook โควิแทรป, ตลอดจนเภสัชกรประจำร้านยาองค์การเภสัชกรรม, สถานพยาบาล The Senizens, และ สถานพยาบาล Panacura ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า