Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดจุดฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้แก่ผู้ป่วยจิตเวช กลุ่มเปราะบางที่มีความบกพร่องทางจิต และครอบครัว ที่สถาบันราชานุกูล พร้อมขยายไปยัง รพ.จิตเวช ทั่วประเทศ โดยเปิดให้ลงทะเบียนแล้วตั้งแต่วันที่ 28 พ.ค. เป็นต้นไป คาด 2 เดือน มีผู้ลงทะเบียน 1 ล้านคน

วันที่ 28 พ.ค. 2564 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัด สธ. และ พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมสุขภาพจิต ร่วมเปิดหน่วยบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้แก่ผู้ป่วยจิตเวช กลุ่มเปราะบางที่มีความบกพร่องทางจิต และครอบครัว ณ สถาบันราชานุกูล เขตดินแดง กรุงเทพมหานคร

นายอนุทิน กล่าวว่า ในช่วงเดือนที่ผ่านมา สธ. ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการลงทะเบียนและเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง แต่กลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อยังต้องคำนึงถึงผู้ป่วยอีกกลุ่มในสังคม นั่นคือ ผู้ป่วยจิตเวชและผู้มีความบกพร่องทางจิต เช่น เชาวน์ปัญญาบกพร่อง ออทิซึม โรคจิตเภท และโรคทางอารมณ์ เป็นต้น ซึ่งยังมีความยากลำบากในการเข้าถึงวัคซีนและมีความเสี่ยงจากอาการทางจิตที่ก่อให้เกิดอุปสรรคในการป้องกันการติดโรคของตนเอง

ทาง สธ. จึงจัดให้มีหน่วยบริการฉีดวัคซีนโควิด-19 สำหรับกลุ่มเฉพาะดังกล่าว และมอบหมายให้โรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิตทั่วประเทศ 20 แห่ง ดำเนินการทันที โดยเริ่มเปิดบริการครั้งแรกวันนี้ (28 พ.ค. 2564) ที่สถาบันราชานุกูล

ด้าน นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า ผู้ป่วยจิตเวชมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าประชาชนทั่วไปถึง 6 เท่า และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโควิด-19 และใช้เตียงในหอผู้ป่วยวิกฤต มากกว่า 10 เท่า เมื่อเทียบกับบุคคลที่ไม่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต ดังนั้น เพื่อให้เกิดการกระจายวัคซีนอย่างรวดเร็ว เท่าเทียม และทั่วถึง สธ. จึงขอความร่วมมือผู้ป่วยจิตเวชที่กำลังรับการรักษาในโรงพยาบาลสังกัด สธ. รวมไปถึงสถานพยาบาลภาคเอกชนต่างๆ สามารถลงทะเบียน ณ รพ.จิตเวช ใกล้บ้านได้ตั้งแต่วันที่ 28 พ.ค. 2564 เป็นต้นไป คาดการณ์ว่า จะมีผู้เข้ามารับบริการประมาณ 1 ล้านคน ภายในช่วงระยะเวลา 2 เดือน

ขณะที่ พญ.พรรณพิมล กล่าวว่า ผู้ป่วยจิตเวชและผู้มีความบกพร่องทางจิต เป็นประชาชนกลุ่มเฉพาะที่จำเป็นต้องใช้ข้อปฏิบัติเฉพาะในการรับวัคซีน ได้แก่

  1. รับบริการกับบุคคลและสถานที่คุ้นเคย รพ.จิตเวช จึงเป็นที่ที่เหมาะสมในการให้บริการวัคซีน
  2. รับบริการพร้อมสมาชิกในครอบครัว เพื่อลดความกังวลและง่ายต่อการติดตามมารับวัคซีนครบทั้ง 2 เข็ม

ทั้งนี้ กรมสุขภาพจิตจะเริ่มฉีดวัคซีนให้แก่ผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มที่มีอาการรุนแรงในโรงพยาบาล และกลุ่มผู้ป่วยในที่กำลังจะกลับไปใช้ชีวิตในสังคม และให้ความยินยอมในการรับวัคซีน เป็นลำดับแรก จากนั้นจะกระจายไปยังผู้ป่วยจิตเวชอื่นๆ เป็นลำดับถัดไป

สำหรับ ผู้ป่วยจิตเวชทุกโรคสามารถรับวัคซีนได้โดยไม่ต้องหยุดยาหรือลดยาที่รับประทานแต่อย่างใด หากต้องการลงทะเบียนเพื่อรับวัคซีนให้ติดต่อ รพ.จิตเวช ใกล้บ้านท่าน หรือสถานพยาบาลที่ไปรับบริการอยู่

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า