SHARE

คัดลอกแล้ว

การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้วิถีชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เกิดวิถีชีวิตใหม่หรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า New Normal ที่ผู้คนต้องรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) รวมถึงการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา

6 พฤษภาคม 2563 เนื่องในวันวิสาขบูชา วันสำคัญทางศาสนาพุทธ วันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในศาสนาพุทธ 3 เหตุการณ์ คือวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา ซึ่งในทุกๆ ปีที่ผ่านมาเช้าวันนี้เราจะได้เห็นภาพพุทธศาสนิกชนในเมืองไทยตื่นแต่เช้า เข้าวัด ทำบุญใส่บาตร สวดมนต์ ฟังพระเทศน์ธรรมมะ และเวียนเทียนในตอนค่ำ

แต่ปีนี้ทุกอย่างเปลี่ยนไป…

มหาเถรสมาคมมีมติให้วัดทุกวัดทั่วราชอาณาจักรไทย และวัดไทยในต่างประเทศ งดกิจกรรมที่ประชาชนมารวมกลุ่มกันทุกประเภท ยกเว้นการปฏิบัติภารกิจของสงฆ์ หลายวัดจึงมีการจัดกิจกรรมวันวิสาขบูชาโดยใช้สื่อออนไลน์

วัดบวรนิเวศวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก จัดกิจกรรม “วิสาขบูชา LIVE : สวดมนต์ เวียนเทียน ฟังธรรม โต้รุ่ง ที่บ้าน” เนื่องในวันวิสาขบูชา ประจำปี 2563 ระหว่างวันที่ 5-6 พฤษภาคม 2563 ถ่ายทอดสดจากพระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร ผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร

ทีมข่าว Workpoint News ได้รับโอกาสสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ถึงที่มาที่ไปของกิจกรรม “สวดมนต์ เวียนเทียน ฟังธรรม โต้รุ่ง ที่บ้าน”

พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย) : โดยปกติวันวิสาขบูชาที่วัดบวรนิเวศวิหาร จะมีกิจกรรม 2 วัน คือ ก่อนวันวิสาขบูชาจะมีพิธีไหว้ครูปาธยาย คือการไหว้บรมครูของพระธรรมยุต ของวัดและของพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นพิธีที่ทำตั้งแต่สมัยเจ้าอาวาสองค์ที่ 2 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ส่วนวันนี้วันวิสาขบูชา ก็มีกิจกรรมที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่รัตนโกสินทร์ตอนต้น ถ้าในแง่ของการจัดกิจกรรมไม่ใช่ครั้งแรก แต่ว่าโดยปีนี้ตามที่ทราบกันว่า เราได้รับการเบียดเบียนจากโควิด-19 เลยทำให้ผู้คนไม่สามารถเข้ามาร่วมพิธีวันวิสาขบูชาอย่างที่เคยทำมาทุกปีได้ เพราะฉะนั้นเพื่อให้ความสะดวกแก่ญาติโยมที่ยังมีศรัทธาและอยากที่จะร่วมพิธีในวันสำคัญเช่นนี้ ทางวัดเลยได้อำนวยความสะดวก คือไม่ต้องมาที่วัด เราให้เปลี่ยนบ้านเป็นวัด ที่เรียกว่า ธรรมาราม ก็คือวัดในใจของตนเอง ของแต่ละคน ทำกันที่วัดในใจของตนเองก็คือที่บ้านของตนเอง เท่ากับว่า พระสงฆ์ในวัดบวรนิเวศวิหาร มาสวดมนต์ที่บ้านของเราเอง วัดในใจเราเอง ไม่ได้แปลกอะไร ไม่ต่างอะไรจากที่บางปีบางคนไม่มีเวลาไปวัด ก็สามารถระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ โดยบูชาที่ห้องพระของตนเอง หิ้งพระของตนเอง หรือแม้แค่ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์เพื่อจะน้อมนำเอาสิ่งดีๆ ที่พระพุทธเจ้าสั่งสอนนั้นเอามาปฏิบัติในชีวิตของตนนั่นถือเป็นการบูชาที่ทางพระพุทธศาสนาได้ยกย่องไว้

“ในแง่ของประวัติศาสตร์ก็คือเรามีการถ่ายทอดสดตลอดแต่สมัยก่อนผู้คนอาจจะต้องมาร่วมพิธีที่วัด แต่ว่าปีนี้โควิด ทำให้เราจะต้องสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อให้วัดไปอยู่ในบ้านของตนและสร้างวัดของตนเองที่เรียกว่า ธรรมารามในใจของตน”

โควิดทำให้วิถีเปลี่ยนไปแต่ไม่สามารถเปลี่ยนแก่นของศาสนา

พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย) : ไม่เลย ถ้าเราเข้าใจจะเห็นได้ว่ามีคำสอนหลายๆ เรื่องที่สามารถจะเข้ากับยุคตรงนี้ได้เลย ในขณะที่เรากำลังบอกว่า New Normal ถ้าเรามองจากมุมมองของวิถีพุทธ ไม่ได้เป็น New Normal อะไรเลย เช่น Social Distancing สำหรับประเทศ หรือพวกเราดูเป็นคำใหม่ แต่ถ้าเราไปดูในพระไตรปิฎก ปรากฎว่าพระพุทธเจ้าได้พูดถึงเรื่องนี้ไว้แล้ว ท่านบอกว่าถ้าเราต้องการความสงบ หรือไม่วุ่นวาย ไม่ว่าจะทางกายหรือทางใด ท่านสอนไว้ว่าเราต้องรู้จัก Social Distancing นั่นคือ ไม่ไปคลุกคลีกับหมู่คนมากมาย ก็คือว่า  Social Distancing ในปัจจุบันนี้

นอกจากนี้ ในพระไตรปิฎก เมื่อ 2,600 ปีมาแล้ว พระพุทธเจ้าได้อธิบายการเว้นระยะห่างไว้ 5 ด้าน ซึ่งลึกกว่าพวกเราด้วยซ้ำ ประกอบด้วย

  1. เว้นระยะห่างในการไปฟัง เป็นกลุ่มเป็นก้อน
  2. เว้นระยะห่างจากการไปดู (ดูละคร ดูมวย ดูในที่ที่ผู้คนหนาแน่น )
  3. เว้นระยะห่างจากการพูดคุย เม้าท์มอยของผู้คน
  4. เว้นระยะห่างจากการทานอาหารร่วมกันเป็นหมู่คณะ หรือที่เรียกว่าปาร์ตี้ในปัจจุบัน
  5. เว้นระยะห่างทางกายหรือการสัมผัสต่างๆ

“วิถีชีวิตของพระนั้นไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร คำสอนนั้นก็ยังเป็น อกาลิโก คือยังทันสมัยอยู่มากกว่าที่เราจะคาดคิดได้ คำสอนให้พระพุทธศาสนานั้นอาจจะเรียกว่าเป็นคำสอนวิทยาศาสตร์แต่อาตมาบอกว่ายิ่งกว่าวิทยาศาสตร์ด้วยซ้ำเพราะว่าเป็นคำสอนที่ไม่มีกาลเวลาใช้ได้ตลอดเวลา ปัจจุบัวิถีชีวิตอาจเปลี่ยนไปบ้างแต่ในแง่ของแก่นแท้ความจริงไม่ได้หนีไปจากแก่นเลย สิ่งสำคัญที่สุดคือเราจะต้องเข้าใจ”

หิริโอตตัปปะ ธรรมมะคุ้มครองโลก

ตอนนี้โลกถูกบุกรุกโดยโคโรนา ถ้าเราจะใช้ธรรมะข้อนี้อธิบายจะเห็นได้ชัดเจนว่า พระพุทธเจ้าท่านสอนว่า ต้องมี “หิริ”  ละอายต่อตน คือ รับผิดชอบตนเองการที่จะอยู่ในสังคม ส่วน “โอตตัปปะ” เกรงกลัว คือ เกรงกลัวต่อสังคม รับผิดชอบต่อสังคม ดังนั้นคำสอนเหล่านี้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา และสามารถใช้กับปัจจุบัน เพื่อให้ตัวเองรอดจากสถานการณ์แย่ๆ โดยง่ายดายและปลอดภัย นอกจากกายเราปลอดภัยแล้ว ใจเราต้องทำให้ดีด้วย สุขภาพกับเศรษฐกิจไปด้วยกัน ถ้าเราเข้าใจตามหลักพระพุทธศาสนา Health และ Wealth เป็นคำเดียวกัน Health แปลว่าสุขภาพภายในกาย ส่วน Wealth แปลว่า สุขภาวะไม่ได้แปลว่าเงินทอง เงินทองเป็นส่วนประกอบเป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น สำคัญที่สุดคือการสร้างสมดุลทางกายและใจ

ข้อคิด เนื่องในวันวิสาขบูขา สำหรับคนไทยที่ต้องอยู่ห่างวัดเพราะโควิด-19

พระศากยวงศ์วิสุทธิ์ (อนิลมาน ธมฺมสากิโย) : วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญที่ชาวโลกนับถือกันไม่เฉพาะชาวพุทธ์ สหประชาชาติมีมติให้เป็นวันสำคัญของโลก “วันวิสาขบูชา” อาจเป็นวันที่อาจจะเรียกว่าเป็นวันที่เตือนมนุษยชาติให้รู้จักศักยภาพของมนุษย์

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในพระพุทธเจ้า คือ วันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน หลายประเทศเรียกว่าการเกิดของพระพุทธเจ้า หรือ  birthday ของพระพุทธเจ้า ซึ่ง birthday นั้นเราอาจจะพูดถึงแค่เฉพาะการเกิด ในความหมายจริงๆ นั้น วันวิสาขบูชาเป็นการเกิด 3 เรื่อง คือ เกิดตัวตนของพระพุทธเจ้า คือเจ้าชายสิทธัตถะ, การตรัสรู้ คือการเกิดที่ทำให้เรารู้แจ้ง เห็นแจ้งในสิ่งต่างๆ ทำให้พวกเราเห็นว่ามนุษย์มีศักยภาพในการแก้ไขปัญหาที่เราจะต้องผจญอยู่ในชีวิตประจำวัน และเมื่อพระองค์ดับขันธปรินิพพาน พระองค์ก็ได้ทิ้งของขวัญอันล้ำค่าให้แก่ชาวโลก นั่นคือคำสั่งสอนอันล้ำค่าที่ชาวโลกได้น้อมนำเอามาใช้ประโยชน์ในชีวิตของตน

“ขอให้วันวิสาขบูชานี้เป็นวันแรงบันดาลใจของทุกท่านในการที่จะเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น เพื่อที่จะไปสามารถมีพลังในการที่จะต่อสู้กับสถานการณ์ที่เกิดอยู่ในทุกวันนี้ ไม่ว่าจะในเรื่องของสาธารณสุขที่ต้องเผชิญภัยกับโคโรนา หรือแม้แต่ในเรื่องเศรษฐกิจ สังคมที่กำลังเกิดขึ้นอยู่นี้ ถ้าเรามีความตั้งอกตั้งใจ เรามีคือพุทธะ คือความรู้ ปัญญา เรามีคือธรรมะ คือหลักการ และเรามีคือสังฆะ สังคมช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดูแลซึ่งกันและกันนั้น จะสามารถผ่านพ้นไปได้”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า