SHARE

คัดลอกแล้ว

ภาวะที่เศรษฐกิจแย่แต่ทุกคนก็พูดกันอีก แบบที่พูดย้ำย้ำว่า เศรษฐกิจแย่ จนมันแย่และแย่ลงไปอีก ซึ่งแน่นอนพอมันกลายเป็นมีกระแสส่งต่อไปเรื่อยๆ ด้านหนึ่งก็กลายเป็นเหมือนคำเตือนก้องสะท้อนจนผู้คนยิ่งรัดเข็มขัดและไม่กล้าลงทุน หรือใช้จ่ายทางเศรษฐกิจ ซึ่งยิ่งทำให้กิจกรรมที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจเกิดน้อยลง การบริโภคจับจ่ายใช้สอยลดลง ยิ่งซ้ำเติมให้เศรษฐกิจไม่หมุน

มองมาที่ “เศรษฐกิจไทย” หากย้อนไปดูบรรยากาศหลายปีที่ผ่านมา เราก็มักจะได้ยินคนพูดวนแบบนี้เสมอว่า เศรษฐกิจแย่ แย่ทุกปี ปีนี้เผาหลอก ปีหน้าเผาจริง วนซ้ำไปซ้ำมา

แม้ในบางช่วงตัวเลขเศรษฐกิจจะดูดีขึ้นบ้างจากมุมมองนักวิเคราะห์ แต่สำหรับคนทั่วไปแล้ว ความรู้สึกกลับตรงกันข้าม และยังรู้สึกเสมอว่าเศรษฐกิจแย่เหมือนเดิม หรือแย่ลงกว่าเดิมด้วยซ้ำ

ทำให้มีการพูดทีเล่นทีจริงว่า ถ้าจะดูดัชนีเศรษฐกิจจริงๆ ให้ไปเดินดูตาม ‘ตลาดสด’ ดูการจับจ่ายใช้สอย ซื้อสินค้าในชีวิตประจำวัน จะมองเห็น ‘ฟีลลิ่ง’ ที่เกิดขึ้นมากกว่าจะเป็น ‘ตัวเลขทางเศรษฐกิจ’ เท่านั้น

กลับมาที่คำว่า “เศรษฐกิจแย่” กลายเป็นสิ่งที่แทบจะพูดพร้อมกันได้โดยไม่ได้นัดหมาย อาการนี้เราอาจกำลังติดอยู่ในภาวะที่เรียกว่า ‘Vibecession’ ที่เศรษฐกิจอาจจะฟื้นในเชิงตัวเลข แต่ ‘ฟีลลิ่ง’ กลับไม่ดีตามไปด้วยนั่นเอง

[ Vibecession คืออะไร ]

Vibecession มาจากคำว่า Vibe + Recession หมายถึง “ภาวะเศรษฐกิจซบเซาในความรู้สึก” หรือพูดง่ายๆ คือ ถึงแม้ตัวเลขเศรษฐกิจโดยรวมจะดูดีขึ้น แต่คนส่วนใหญ่กลับ รู้สึก ว่าเศรษฐกิจยังแย่อยู่ แถมยังไม่มีความหวังว่าอนาคตจะดีขึ้นอีกด้วย

คำนี้เริ่มเป็นที่พูดถึงในสหรัฐฯ ก่อนจะไวรัลไปทั่วโลก โดยเฉพาะหลังจากผลสำรวจของ Harvard Business Review เผยให้เห็นว่า ชาวอเมริกันจำนวนมากรู้สึกว่า “ชีวิตแย่ลง” เมื่อเทียบกับปี 2019 ทั้งที่ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจหลายอย่างดีขึ้น เช่น อัตราเงินเฟ้อลดลง การว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ในแง่ความรู้สึกแล้วกลับสวนทาง

เช่น เกือบครึ่งหนึ่ง ของกลุ่มที่มีรายได้น้อยกว่า 80,000 ดอลลาร์ต่อปี บอกว่าตัวเอง “มีฐานะการเงินแย่ลง

ภาวะนี้เกิดจากความเหนื่อยล้าและความไม่มั่นคงสะส ที่ผู้คนต้องเผชิญกับค่าครองชีพที่สูงขึ้น รายจ่ายที่กดดัน แม้จะยังมีงานทำหรือมีรายได้อยู่ก็ตาม  

พูดง่ายๆ คือ เศรษฐกิจอาจไม่เข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างเป็นทางการ แต่ความรู้สึกของผู้คนกลับถดถอยไปก่อนแล้ว

[ มีความรู้สึกเปรียบเทียบกับคนอื่น ทำให้รู้สึกเศรษฐกิจแย่อยู่ดี ]

มีข้อมูลทางเศรษฐศาสตร์ให้คำอธิบาย Vibecession ไว้ 2 แบบ ว่าทำไมเราถึงรู้สึกว่าเศรษฐกิจไม่ดีเลยตลอดเวลา

  1. ชอบเปรียบเทียบตัวเองกับ “คนอื่น” เราอาจมีรายได้เท่าเดิม ชีวิตมั่นคงเหมือนเดิม แต่แค่เห็นเพื่อนรอบตัวไปเที่ยวญี่ปุ่น ซื้อบ้านใหม่ หรือออกรถใหม่ เราก็เริ่มรู้สึกว่าเรากำลังล้าหลังทั้งที่จริงๆ อาจไม่ได้แย่ลงเลย

ยิ่งในยุคโซเชียลมีเดีย ที่เต็มไปด้วยภาพของความก้าวหน้าและความสำเร็จของคนอื่น ความรู้สึกกดดันก็ยิ่งทวีคูณ เช่น เห็นเพื่อนดาวน์บ้าน เราอยู่คอนโดเช่า กดดัน หรือเห็นคนเปลี่ยนมือถือทุกปี รู้สึกเชยทั้งที่เครื่องเรายังดีอยู่

และเมื่อเรารู้สึกว่าคนอื่นไปต่อแต่เรายังอยู่ที่เดิม เราก็มักตีความว่าชีวิตเรากำลังแย่ และโยงไปถึงเศรษฐกิจว่ามันคงแย่ลงแน่ๆ ทำให้แม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจอาจไม่ได้แย่ แต่ความรู้สึกไม่มั่นคงก็ทำให้คนไม่กล้าใช้จ่าย  การบริโภคลดลง  เศรษฐกิจจริงก็ชะลอตามไปด้วย 

และนี่คือจุดสำคัญของ Vibecession  ไม่ใช่เศรษฐกิจแย่ แต่เป็นความรู้สึกว่า “แย่แน่ๆ” และนั่นก็อาจกลายเป็นจริงในที่สุด

  1. Endowment Effect  “สิ่งที่เคยได้” พอหายไป กลายเป็นความรู้สึกสูญเสีย

ในช่วงโควิด-19 ปี 2020–2021 รัฐบาลสหรัฐฯ แจกเงินช่วยเหลือประชาชนหลายครั้ง ทำให้ผู้คนรู้สึกมีเงินในมือมากขึ้น ชีวิตดีขึ้นชั่วคราว พอเวลาผ่านไป มาตรการช่วยเหลือเหล่านั้นหมดลง รายรับกลับสู่ภาวะปกติ แม้จะยังไม่ถึงขั้นย่ำแย่ แต่ผู้คนกลับรู้สึกว่าตัวเองแย่ลง เพราะเคยชินกับช่วงเวลาที่เคยได้รับเงินอุดหนุน

นี่คล้ายกับหลักการของ Endowment Effect  เมื่อเราเคยได้บางอย่างมา เช่น เงินช่วยเหลือหรือโบนัส เราจะรู้สึกยึดติด และเมื่อมันหายไป เราจะรู้สึกเหมือนเสียไป แม้เราจะไม่ได้ย่ำแย่กว่าเดิมในแง่ตัวเลขก็ตาม

ตัวอย่างประเทศไทยก็ไม่ต่างกัน เช่น ช่วงโควิด หลายคนเคยได้สิทธิ ‘คนละครึ่ง’ หรือ ‘เราเที่ยวด้วยกัน’ พอหมดโครงการ ต้องกลับมาจ่ายเองเต็มๆ ความสามารถในการใช้จ่ายลดลงทันที รู้สึกว่าชีวิต “ฝืด” ทั้งที่ก่อนหน้านั้นก็ใช้เงินเท่านี้อยู่แล้ว

อีกตัวอย่างคือบางคนเคยได้โบนัสปีละหลายหมื่น แต่พอปีถัดไปไม่ได้ (แม้รายได้ประจำยังเท่าเดิม) ก็รู้สึกว่า “ปีนี้แย่จัง” ทั้งที่ยังมีงาน มีรายได้ครบ

สองรูปแบบที่เล่ามา สะท้อนว่า ความรู้สึกทางเศรษฐกิจของคนเราไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวเลขแค่เพียงอย่างเดียว แต่มันขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราเห็นจากคนอื่นและความคาดหวังที่เราเคยได้มาก่อน

สรุปง่ายๆ Vibecession เศรษฐกิจไม่ได้วัดจากตัวเลขเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของผู้คนด้วย เพราะแม้ตัวเลขจะฟื้น รายได้จะไม่ลด แต่ถ้าคนยังรู้สึกว่าใช้ชีวิตยากขึ้น ยังรู้สึกว่าไม่มีความมั่นคงในอนาคต ผู้คนก็จะยังจมอยู่กับ Vibecession เพราะความรู้สึกไม่มั่นใจจะส่งผลให้คนไม่กล้าจับจ่าย ไม่กล้าลงทุน และเศรษฐกิจก็จะชะลอตัวตามความรู้สึกนั้น

สำหรับเศรษฐกิจไทย การจะทำให้คนเชื่อว่าเศรษฐกิจกำลังดีขึ้นก็อาจไม่ใช่แค่การอธิบายด้วยตัวเลข แต่คือการทำให้ผู้คนรู้สึกได้จริงว่าใช้ชีวิตง่ายขึ้น มีเงินในกระเป๋าพอใช้โดยไม่ต้องกังวลแต่เรื่องค่าครองชีพ เพราะเศรษฐกิจที่ดี ไม่ใช่แค่เติบโตในเชิงสถิติ แต่ต้องทำให้คนรู้สึกว่าชีวิตดีขึ้นด้วย

ที่มา

        • https://hbr.org/2025/01/research-what-explains-the-vibecession
        • https://www.cnbc.com/2024/09/09/the-vibecession-is-ending-economists-say.html

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า