Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ผลสำรวจสถานการณ์ความรุนแรงต่อเด็ก และผู้หญิงพิการ ปี 2564 โดยมูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม ร่วมกับ สมาคมส่งเสริมสักยภาพสตรีพิการ พบว่า หญิงไทยถูกล่วงละเมิดจากการถูกทำร้ายร่างกาย จิตใจ สุขภาพ และสังคม ไม่น้อยกว่า 7 คน/วัน ขณะที่มีผู้หญิงเข้ารับการบำบัดรักษา แจ้งความร้องทุกข์ เฉลี่ยมากถึงปีละ 30,000 ราย ถือเป็นสถิติความรุนแรงต่อผู้หญิงที่สูงเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก

ขณะที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล สำรวจสถานการณ์ความรุนแรงต่อผู้หญิงและบุคคลในครอบครัวของไทยระดับประเทศ พบความชุกความรุนแรงต่อผู้หญิงและบุคคลในครอบครัว เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34.6 ในปี 2560 เป็นร้อยละ 42.2 ในปี 2563 โดยประเภทความรุนแรงสูงสุด คือ ความรุนแรงทางด้านจิตใจ คิดเป็นร้อยละ 32.3 รองลงมาคือ ความรุนแรงทางร่างกายร้อยละ 9.9 และ ทางเพศร้อยละ 4.5 และแน่นอนว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นจริงนั้นมีมากกว่าสถิติที่รายงานมาทั้งหมด เพราะยังมีผู้ถูกกระทำความรุนแรงอีกมากที่ไม่กล้าหรือไม่อยากเปิดเผยเรื่องลักษณะดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของ UNODC  หรือ สำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ ที่ระบุว่าร้อยละ 87 ของคดีการล่วงละเมิดทางเพศไม่เคยถูกรายงาน

ผู้หญิงอยู่ในกลุ่มเปราะบางต้องเผชิญความเหลื่อมล้ำจากอคติทางเพศ จารีต ประเพณี และวัฒนธรรม ที่ถูกฝังรากลึกมานาน ทำให้บางคนสูญเสียโอกาส และได้รับผลกระทบในชีวิตอย่างหนัก นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ สสส. กล่าว

ที่ผ่านมาสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เดินหน้าขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สุขภาวะผู้หญิง เพื่อปลดล็อกปัญหาการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐาน ป้องกัน คุ้มครอง ให้รอดพ้นจากความรุนแรงทุกมิติ เพื่อทำให้คนกลุ่มนี้มีสุขภาวะที่ดี เช่น กลุ่มคนพิการ มุสลิม ชาติพันธุ์ ผู้ต้องขัง ผู้หญิงบริการ และ ผู้หญิงรักผู้หญิง ซึ่ง “นโยบายสาธารณะ” เป็นกุญแจสำคัญในการกำหนดชะตาชีวิตของผู้หญิงเหล่านี้ สสส. จึงร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ขับเคลื่อนโครงการก้าวที่เป็นมิตรต่อเด็ก ผู้หญิง คนพิการ และผู้ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศ มีเป้าหมายสำคัญ 4 ด้าน ประกอบด้วย

      1. งานด้านวิชาการ ด้วยการพัฒนาองค์ความรู้และสถานการณ์ความรุนแรงต่อผู้หญิงและบุคคลในครอบครัวระดับประเทศ พัฒนาหลักสูตรแก้ปัญหาความรุนแรงและเพิ่มศักยภาพคนทำงานด้านความรุนแรง พัฒนาหลักสูตรความรู้ด้านกฎหมายและการประสานงานสหวิชาชีพกรณีเกิดความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
      2. งานพัฒนาศักยภาพและสานพลังเครือข่าย เป็นการพัฒนาพื้นที่นำร่องสร้างระบบงานสหวิชาชีพแก้ปัญหาความรุนแรงต่อผู้หญิงและครอบครัว (Case Management) ในจังหวัดต่างๆ เพื่อปกป้อง สร้างสวัสดิภาพ ลดความรุนแรงในพื้นที่, พัฒนาแกนนำสตรี 4 ภาค และศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้สุขภาวะผู้หญิงและครอบครัว ให้คำปรึกษาผ่านมูลนิธิเพื่อนหญิง http://www.fowomen.org
      3. งานสื่อสารสาธารณะ ส่งเสริมงานสื่อสารร่วมกับรัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อปรับทัศนคติให้สังคม “ไม่เพิกเฉยต่อความรุนแรง” หรือ มองว่า “ความรุนแรงเป็นเรื่องของคนอื่น ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ก Free From Fear, ขับเคลื่อน “โครงการเผือก” เปลี่ยนพลังเงียบให้เป็นหู เป็นตา ช่วยเหลือ เก็บหลักฐาน พร้อมจัดทำเครือข่ายเมือปลอดภัยเพื่อผู้หญิง Safe Cities for Women Thailand เพื่อลดความรุนแรงหรือการถูกคุกคามในระบบขนส่งสาธารณะ
      4. งานนโยบาย ด้วยการผลักดัน “นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ.2560 – 2564” พัฒนากลไกยุติความรุนแรงผ่านการลงนาม MOU 2 ฉบับ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสู่การปฏิบัติภาคนโยบายขับเคลื่อนนโยบายแก้ไขปัญหาการคุกคามทางเพศบนรถขนส่งสาธารณะ กับ บขส. 3 แนวทาง คือเสริมศักยภาพพนักงาน ติดกล้องวงจรปิดภายในรถ และพัฒนาระบบการแจ้งเหตุถ้ามีการคุกคามทางเพศเกิดขึ้น

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ถือได้ว่าเป็นหน่วยงานภาครัฐด่านหน้าที่ต้องเข้ามาดูแลเรื่องนี้ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ยืนยันการล่วงละเมิดสิทธิไม่ว่าจะกลุ่มบุคคลใด เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ ดังนั้นบทบาทของกระทรวงฯ คือการสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนให้เข้าถึงกระบวนการยุติธรรม เป็นหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติอย่างเท่าเทียม เพราะจุดมุ่งหมายสำคัญคือการปกป้องและเอาผิดกับผู้กระทำความผิด จึงมีนโยบายให้กับหน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว รวมถึงกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ดำเนินการสนับสนุนให้เด็กและสตรีพิการเข้าถึงสิทธิทางกฎหมาย และการสนับสนุนด้านอื่นที่จำเป็นสอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาได้ทำงานแบบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ รวมถึงภาคเอกชน หรือแม้กระทั่งกลุ่มเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ถอดรูปแบบกระบวนการทำงานเช่นเดียวกับกรณีการค้ามนุษย์

“ช่วงโควิด-19 ที่ผ่าน ทำให้คนในครอบครัวใช้เวลาอยู่ด้วยกันมากขึ้น และก่อให้เกิดคดีล่วงละเมิดเพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งการที่จะให้เด็กหรือผู้หญิงออกมากล้าฟ้องหรือแจ้งความเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก เพราะความสัมพันธ์ในเชิงอำนาจ เช่น พ่อทำลูก แต่ลูกไม่กล้าบอก เพราะด้วยความที่เป็นพ่อ ตรงนี้เป็นจุดสำคัญที่จะต้องไปช่วยในกระบวนการรับรู้สิทธิ  ปกป้อง และยืนเคียงข้างในกระบวนการยุติธรรมจนกว่าจะสิ้นสุดกระบวนการ ที่สำคัญต้องทำให้ผู้ที่ถูกละเมิด “กล้า” และ “ไม่รู้สึกว่าสู้อยู่คนเดียว” ก่อนจะเข้าสู่การยอมแพ้ จนสิ้นสุดกระบวนการยุติธรรมในที่สุด นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กล่าว

จากข้อมูลจากการทำงานของ สสส. และภาคีเครือข่าย ปฏิเสธได้ยากที่ว่าสังคมไทยไม่มีการละเมิดต่อผู้หญิง เด็ก และคนพิการ โดยข้อมูลสถิติที่ถูกถ่ายทอดออกมานั้นสะท้อนให้เห็นถึงการละเมิดสิทธิอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสุดท้ายแล้วปลายทางของกระบวนการยุติธรรมกลับพบว่าน้อยมากที่จะดำเนินการไปถึง อีกทั้งร้อยละ 90 การละเมิดกลับเป็นคนใกล้ตัว และยิ่งบุคคลที่เป็นผู้พิการด้วยแล้วจะยิ่งถูกมองว่า “ไร้ตัวตน”

คงถึงเวลาแล้วที่ทุกภาคส่วนต้องหันมาตระหนักถึงปัญหานี้ กลับมามองว่าอะไรเป็นปัจจัยที่จะช่วยเหลือให้ทุกคนปราศจากการละเมิด หรือไม่ก็ผู้ที่ถูกกระทำต้องเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม ได้รับความเป็นธรรมทุกคน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า