SHARE

คัดลอกแล้ว
ผศ.ปริญญา แนะ อัยการสูงสุด – นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจให้สั่งคดีใหม่ถ้าทำไม่ถูก ยกกรณีศาลยังสั่งคดีใหม่ได้ถ้าผิด ส่วนเรื่องหลักฐานใหม่เสนอใช้กรณีโคเคน แจ้งหาข้อเสพก่อน แล้วไปแก้ปมว่าขับรถชนไม่ได้สุดวิสัย
วันที่ 1 ส.ค. 2563 ศูนย์กฎหมายอาญาและอาชญาวิทยา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดงานเสวนาโต๊ะกลม “คดี(กระทิงแดง)ชนตำรวจ : นักกฎหมายเห็น สังคมรู้สึก คำถามที่กระบวนการยุติธรรมต้องตอบ”
ผศ.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวตอนหนึ่งว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก ตนจะไม่ตั้งคำถามว่าคดีนี้จะไปถึงศาลหรือไม่ แต่ตั้งคำถามว่าคดีนี้จะไปถึงศาลได้อย่างไร เป็นเป้าหมายร่วมกัน
ข้อเสนอของตนคือ โดยหลักทั่วไป ถ้าการสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ ไม่โปร่งใส ไม่สุจริตจะเท่ากับไม่ได้กระทำได้หรือไม่ กรณีของศาล ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ยังเปิดให้ศาลสั่งคดีใหม่ได้ถ้าพบว่าผิด ดังนั้น ตนจึงเสนอว่า
1. อัยการสูงสุดลงมาตรวจสอบ คดีนี้ที่พนักงานอัยการที่มีอำนาจหน้าที่ได้สั่งฟ้องไปแล้วแต่มาสั่งไม่ฟ้อง โดยพยานหลักฐานที่เข้ามาใหม่น่าสงสัย ทั้งที่การจะสั่งไม่ฟ้องต้องมาจากพยานหลักฐานทั้งหมดผิดกฎหมายหรือไม่น่าเชื่อถือทั้งหมด กรณีของศาลยังสามารถสั่งใหม่ได้จึงเห็นว่าอัยการก็ทำได้เช่นกัน
2.ตำรวจ ตามกฎหมาย นายกรัฐมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่ดูแลควบคุมกำกับการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจจึงมีอำนาจสั่งการได้ ถ้าพบว่าการไม่คัดค้านการสั่งไม่ฟ้องของอัยการไม่เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ยังแก้ได้ และตอนนี้นายกรัฐมนตรีให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอยู่แล้ว จึงอาจใช้ผลของกรรมการชุดนี้ สั่งให้ทบทวนการไม่คัดค้านได้
ส่วนกรณีหลักฐานใหม่เพื่อนำไปสู่การสั่งฟ้องใหม่ ตนตั้งข้อสังเกตความเร็วของรถรถเฟอร์รารี่ ที่ชนด้วยความเร็วไม่เกิน 80 กม./ ชม. แต่รถบุบมาก และความเร็วที่ลดลงมาจากข้อมูลเดิม 177 กม./ชม. มีผลเพื่อปูทางไปสู่การระบุว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ เพราะถ้าขับเร็วเกินกฎหมายกำหนด 80 กม./ชม. จะเป็นเหตุสุดวิสัยไม่ได้
ตนเสนอให้เปิดภาพจากกล้องวงจรปิด แล้วเอาเครื่องจับความเร็วจี้ดูว่าเลขขึ้นมาเท่าไร ถือเป็นหลักฐานใหม่ได้เพราะไม่เคยวัด และเสนอให้ไปเชิญผู้แทนจากเฟอร์รารี่มาพิจารณาสภาพรถที่ชนว่าชนด้วยความเร็วไม่เกิน 80 กม./ชม. จะบุบขนาดนี้ได้หรือไม่

นอกจากนั้นคือ กรณีผลการตรวจพบโคเคน ในร่างกายนายวรยุทธ อยู่วิทยา แม้การเสพโคเคนไม่อยู่ในกฎหมายเรื่องความผิดเสพยาเสพติดระหว่างขับรถ แต่ความผิดเรื่องการเสพยาเสพติด กรณีนี้มีอายุความอยู่ 10 ปี ขณะนี้ยังเหลืออีก 2 ปี จึงขอตั้งคำถามต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าตรวจเจอยาเสพติด ทำไมไม่ตั้งข้อหา เป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ 157 หรือไม่ ดังนั้นข้อให้ตั้งข้อหาเรื่องนี้
แล้วถ้าหากมียาเสพติดมีผลออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทในตอนขับรถจะเรียกว่าสุดวิสัยได้หรือไม่ การเสพยามาขับรถน่าจะพึงรู้ว่ามีฤทธิ์ต่อจิตประสาทและการตัดสินใจ นี่เป็นหลักฐานใหม่ และอายุความไม่ขาด
“ทั้งหมดนี้เราไม่ตั้งใจ ที่จะมาเอาเป็นเอาตายกับคุณวรยุทธ อยู่วิทยา แต่เพื่อปกป้องประเทศไทย รักษาบ้านเมืองไว้เพื่อให้คนเชื่อถือว่า ถ้าเราทำผิดกฎหมายเราจะได้รับการปฏิบัติจากระบวนการยุติธรรมอย่างเสมอกัน”

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า