SHARE

คัดลอกแล้ว
จะดีกว่าหรือไม่ ถ้าเราเปลี่ยนการประชุมจากนั่งคุย เป็นการเดินไปคุยไป?
.
“การเดินเล่น” ถูกพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งที่ช่วยปลดปล่อยความคิดและกระตุ้นเซลล์ประสาทในสมองจนเกิดความคิดสร้างสรรค์
.
ตัวอย่างเวลาที่ต้องใช้ความคิดเรื่องสำคัญที่คิดไม่ตก “บิล เกตส์” มหาเศรษฐีผู้ก่อตั้งไมโครซอฟท์จะใช้วิธีเดินเล่นเพื่อรวบรวมและจัดระบบระเบียบความคิดและสมองของตัวเอง เขาบอกว่า นี่เป็น “วิธีสร้างขอบเขตความคิด” เพื่อคัดเลือกและตัดสินใจเรื่องราวต่างๆ ได้ดี
.
“เจ.เค. โรว์ลิง” นักเขียนเจ้าของนิยายแฮร์รี่ พอตเตอร์ บอกว่าได้ไอเดียดี ๆ เวลาออกไปเดินเล่นตอนกลางคืนเสมอ นักเขียนคลาสสิกระดับโลก “ชาลส์ ดิกเกนส์” ที่แต่ละวันจะนั่งทำงานเขียนยาวติดกัน 5 ชั่วโมง จนถึงบ่ายก็จะออกไปเดินเล่นแบบยาวๆหลายกิโลเมตรเพื่อสุขภาพ แต่ผลข้างเคียงที่ได้คือการเข้าถึงความคิดดี ๆ มาสร้างสรรค์ในงานเขียนของตัวเอง
.
ไม่ใช่เรื่องมโนคิดไปเอง แต่งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดของ Marily Oppezzo นักวิทยาศาสตร์ด้านพฤติกรรมและการเรียนรู้ พบว่า “การเดิน” ช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์อย่างมาก โดยให้ผู้เข้าร่วมทดสอบได้รับโจทย์ลองคิดพลิกแพลงแบบสร้างสรรค์
.
พบว่ากลุ่มที่ได้คะแนนความคิดสร้างสรรค์เพิ่ม คือกลุ่มที่ได้คิดระหว่างที่เดินบนลู่วิ่ง ซึ่งได้คะแนนความคิดสร้างสรรค์มากกว่ากลุ่มที่ให้นั่งคิดเฉยๆ
.
อย่างไรก็ตามงานวิจัยระบุว่าวิธีเดินไปคิดไปนี้ ไม่เวิร์กในกรณีที่ต้องคิดเพื่อหาคำตอบแบบตายตัว แก้ปัญหาตามตรรกะที่ซับซ้อน แต่วิธีเดินไปคิดไปจะช่วยกระตุ้นความคิดทำให้เกิดไอเดียสดใหม่ มีแนวคิดสร้างสรรค์มากกว่า
.
งานวิจัยยังชี้ว่าบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่เลือกเดินก็มีส่วนส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ด้วย ซึ่งการเดินในสภาพแวดล้อมสีเขียวธรรมชาติจะช่วยเสริมพลังความคิดสร้างสรรค์ได้ดียิ่งขึ้นไปอีก เพราะเป็นการทำให้สมองปลอดโปร่งช่วยเคลียร์ความคิดที่ไม่เกี่ยวข้องออกไปได้มาก จนทำให้เหลือพื้นที่ว่างเพียงพอที่ทำให้คิดจนเกิดความคิดสร้างสรรค์ออกมา

.

เมื่อประโยชน์ของการเดินเล่นทำให้เกิดพลังความคิดที่มีคุณภาพ จึงมีการนำมาประยุกต์ให้เป็นรูปแบบหนึ่งของการประชุมแบบเดินไปคุยไป

.
มีบริษัทจัดอบรมด้านสร้างเสริมแรงบันดาลใจบางแห่งในต่างประเทศนำวิธีนี้ไปอบรมให้บริษัท องค์กรธุรกิจต่าง ๆ เพราะทดสอบว่าวิธีนี้ทำให้การประชุมผ่อนคลายขึ้น กล้าแลกเปลี่ยนความเห็นระหว่างหัวหน้าและทีม ผู้ร่วมประชุมมีความเข้าใจเรื่องที่พูดคุยชัดเจนขึ้น และยังมีความคิดสดใหม่ออกมาระหว่างการพูดคุย
.
การประชุมแบบเดินไปคุยไป เหมือนเรากำลังออกไปเดินเล่น (แต่ได้งาน) รองรับด้วยงานวิจัยที่ว่าวิธีนี้ช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ได้มากกว่าการนั่งประชุมในห้องถึง 60 เปอร์เซ็นต์
.
ถ้าคิดจะทำวิธีนี้ มีคำแนะนำว่าควรจะต้องเลือกจังหวะที่เหมาะสม และมีการแจ้งให้ผู้เข้าร่วมหรือทีมทราบล่วงหน้า เพื่อให้สามารถวางแผนได้ อาทิ เตรียมแต่งตัวจัดเสื้อผ้า รองเท้าที่เดินได้สะดวกสบาย เหมาะสมในการเดินประชุมเพื่อให้คล่องตัว รวมทั้งจะได้พกของจำเป็นอื่น ๆ อาทิ น้ำดื่ม
.
อีกสิ่งสำคัญคือ การประชุมแบบเดินไปคุยไปจะมีการจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม รูปแบบที่มีประสิทธิภาพที่สุดคือไม่ควรเกิน 4 คน
.
นอกจากนี้หากมีวาระการประชุมก็ยังต้องคงไว้ในการประชุมแบบเดินไปคุยไป ซึ่งสามารถดูวาระได้จากสมาร์ทโฟนหรือแทบเล็ตที่พกไปด้วยไว้ตรวจสอบระเบียบวาระการประชุมแบบรวดเร็ว เพื่อให้ประเด็นต่าง ๆ ถูกนำมาพูดคุยหารือได้ครบระหว่างประชุม
.
การประชุมแบบเดินไปคุยไป จะทำให้แต่ละคนสามารถออกความเห็นพูดความคิดใหม่ๆขึ้นมา ดังนั้นไม่ต้องกังวลเรื่องการจดบันทึกประชุม แต่ให้ใช้วิธีบันทึกเสียงทางโทรศัพท์ หรือจดเพียงโน้ตสั้นๆเท่านั้นพอ
.
ส่วนรูปแบบประชุมแบบนี้อาจต้องวางแผนเส้นทางเดินสำหรับการประชุมไว้ก่อน อาจจะต้องเลือกกำหนดเส้นทางเดินไว้เพื่อลดผลเสีย และสิ่งที่อาจรบกวนสมาธิระหว่างการเดินไปคุยไป หรืออีกวิธีก็คือเลือกสถานที่เดินประชุมที่คนในทีมคุ้นเคย
.
ขณะเดียวกันแม้งานวิจัยจะชี้ว่าการประชุมแบบเดินไปคุยไปจะช่วยเรื่องสมาธิ คุณภาพความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งสภาพจิตใจและร่างกายที่ช่วยลดออฟฟิศซินโดรม ทำให้ผู้ร่วมประชุมมีความกระตือรือร้นขึ้นกว่าการประชุมแบบนั่งโต๊ะ แต่ก็ต้องประเมินสถานการณ์ก่อนว่าประชุมหัวข้อหรือลักษณะหารือแบบไหนสามารถจัดแบบเดินไปคุยไปได้
.
มีคำแนะนำว่าการทดลองทำช่วงแรก ๆ อาจจะดูยังไม่ค่อยเข้าที่ หรือถูกต่อต้านไม่ให้ความร่วมมือ แต่ขอให้ลองทำเรื่อย ๆ ในประชุมที่คิดว่าปรับทำวิธีนี้ได้ เพราะช่วงโควิด-19 แพร่ระบาดมีการศึกษาที่เป็นห่วงว่าคนทำงานจำนวนมากเผชิญสถานการณ์การประชุมออนไลน์ที่มากเกินไปจนส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและใจ แม้กระทั่งหมดเวลาทำงาน หรือหลังเลิกงานแล้วก็ยังเกิดเอ็ฟเฟ็กต์ความเหนื่อยล้าเรื้อรังตามมา
.
การประชุมออนไลน์ที่มากเกินไปจึงลดทอนประสิทธิภาพความคิดสร้างสร้างสรรค์และมีความกระตือรือร้นลดลง การประชุมแบบเดินไปคุยไปอาจเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นคนทำงานให้กลับมามีพลังขึ้นได้
.
ใครเคยมีประสบการณ์ประชุมแบบเดินไปคุยไปแล้วได้ผล เวิร์กหรือไม่ ร่วมแสดงความเห็นกันได้
.

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า