SHARE

คัดลอกแล้ว

รีวิว WandaVision ถอดรหัสการข้ามผ่านความสูญเสียในซิตคอมเรื่องแรกของมาร์เวล

ภาพจาก :: website Disney Media and entertainment distribution

บทความนี้เปิดเผยภาพและเนื้อหาบางส่วนของซีรีส์

เรื่องเริ่มขึ้นเมื่อวันด้าและวิสชั่นที่เข้ามาอยู่ในหมู่บ้านเวสต์วิวเพื่อสร้างครอบครัวแสนสมบูรณ์แบบ แต่มีหลายอย่างที่ชวนสงสัยว่าทั้งหมดอาจะเป็นแค่ภาพลวงตา และผู้ชมต้องคอยติดตามว่าทั้งสองมาอยู่ในโลกนี้ได้อย่างไร โดยเหตุการณ์นี้เกิดหลังจากที่ทุกคนกลับมาจาก ‘The Blip’ หรือเหตุการณ์ที่คนหายไปครึ่งโลกตอนที่ธานอสดีดนิ้วใน Avengers: End Game

WandaVision เป็นซีรีส์แนวซิตคอมที่ฉีกจากซีรีส์เรื่องอื่นๆ ของมาร์เวล ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบซิตคอมที่ย้อนยุค ไล่ตั้งแต่ยุค 1950s มาจนถึงปัจจุบัน เปิดเรื่องมาด้วยการย้ายเข้าบ้านใหม่และการพยายามปรับตัวให้ดูเป็นคน ‘ปกติ’ ของทั้งสองคน จากนั้นเรื่องจะค่อยๆ เฉลยว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวละคร และทำไม่ทุกตอนโลกของวันด้าและวิสชั่นถึงเปลี่ยนไปตามยุคสมัยอย่างรวดเร็ว 1-3  ตอนแรกคนดูอาจจะงงกับสไตล์ที่แตกต่างและเรื่องที่ดูไม่เกี่ยวอะไรกับสิ่งที่เราเคยดูกันมา แต่ในตอนท้าย เมื่อเรื่องราวคลี่คลายทุกอย่างเราจะพบว่ามีความสนุกอย่างที่คุ้นเคยผสมกับรสชาติแปลกใหม่ได้อย่างลงตัว

แม้เรื่องจะจั่วหัวว่าจะเป็นตลกสไตล์ซิตคอม แต่เมื่อดูให้ลึกเข้าไปเราจะเจอกับเนื้อหาที่ลึกซึ้งและเปี่ยมด้วยความหมายซ่อนอยู่ ตั้งแต่โครงเรื่องที่ไหลตามตามทฤษฏี 5 Stages of Grief หรือ 5 ระยะของการข้ามผ่านการสูญเสีย ไปกับวันด้าหลังจากที่ต้องเสียวิสชั่นไปโดยที่ไม่ได้แม้แต่จัดงานศพให้

ภาพจาก :: website Disney Media and entertainment distribution

  • ระยะที่ 1: ปฏิเสธ (Denial)

ในตอนที่ 1-2 ไปจนถึงท้ายๆ ตอนที่ 3 เราจะเห็นการปฏิเสธความจริงของวันด้า ที่สะท้อนผ่านการสร้างโลกในอุดมคติที่ทุกวันจะจบอย่างแฮปปี้เอนดิ้งในรูปแบบของซิตคอม เพราะตลอดชีวิตของวันด้า ซิตคอมเป็นสิ่งที่ช่วยปลอบประโลมใจในวันที่เธออ่อนแอ วันด้าจึงปฏิเสธความจริงทุกอย่างแล้วฝังตัวเองเข้าไปในโลกมายาที่เธอสร้างขึ้น และมองข้ามทุกอย่างที่จะเรียกเธอกลับสู่โลกแห่งความเป็นจริง แม้ความเป็นจริงและความเศร้าจะกลับมาหลอกหลอนเธอบ่อยขึ้นทุกที

  • ระยะที่ 2: โกรธ (Anger)

ในท้ายตอนที่ 3 วันด้าเข้าสู่ระยะที่สองคือความโกรธ และอยู่ในระยะนี้ในตอนที่ 4-5 เธอโกรธเจอรัลดีน หรือความจริงคือผู้กองโมนิก้าที่พูดถึงความเป็นจริงขึ้นมาจนเธอเตะโมนิก้าออกไปนอกเวสต์วิว จากนั้นเมื่อวิสชั่นรู้ความจริงแต่ไม่เห็นด้วยกับเธอพวกเขาก็ทะเลาะกัน แต่ในอารมณ์โกรธของวันด้ามีการยอมรับความจริงอยู่ด้วยว่าเธอเป็นคนสร้างโลกมายานี้ขึ้นมา

ภาพจาก :: website Disney Media and entertainment distribution

  • ระยะที่ 3: ต่อรอง (Bargaining) 

เป็นระยะที่คนมักจะรู้สึกอ่อนแอและอยากรู้สึกเหมือนควบคุมสถานการณ์หรือเปลี่ยนผลลัพธ์ของเหตุการณ์ได้ เหมือนกับที่วันด้ารู้อยู่ลึกๆ ว่าการใช้พลังควบคุมคนทั้งเมืองนั้นไม่ดี แต่ก็คิดว่ามันไม่เป็นไรเพื่อต่อรองยืดเวลาที่จะอยู่ในโลกนี้ต่อไปเหมือนในตอนที่ 6

  • ระยะที่ 4: ซึมเศร้า (Depression)

ในตอนที่ 7 เราจะได้เห็นระยะซึมเศร้าเมื่อตอนที่วันด้ารู้ตัวว่าไม่มีทางที่เธอจะทำให้วิสชั่นในโลกที่เธอสร้างขึ้นแบบเดิมได้อีกต่อไปแล้ว และการได้กลับไปมองเหตุการณ์ในอดีตยิ่งทำให้เธอเศร้ากับการที่วิสชั่นจากไปแบบไม่มีวันหวนคือเหมือนกับครอบครัวของเธอ

  • ระยะที่ 5: ยอมรับ (Acceptance)

สุดท้ายในตอนที่ 9 วันด้านก็ยอมรับความจริงและปล่อยวิสชั่นและลูกของเธอสองคนให้หายไป แต่ระยะการยอมรับไม่ได้หมายความว่ามันจะเป็นตอนจบที่แสนสุขหรือการไปต่อได้โดยไม่คิดถึงเรื่องเก่าๆ อีก เหมือนกับวันด้าที่ยังคงได้ยินเสียงของลูกร้องให้ช่วย หรือยังแอบหวังเล็กๆ ที่จะได้เจอวิสชั่นอีกตอนบอกลา

ภาพจาก :: website Disney Media and entertainment distribution

WandaVision จึงไม่ใช่เรื่องที่จิตนาการนอกกรอบจนเลอะเทอะ แต่สอนประสานไปกับเส้นเรื่องหลักของจักรวาลมาร์เวลเป็นอย่างดี นอกจากนี้ WandaVision ก็ยังคงเสน่ห์ในการใส่ Easter Egg ในรายละเอียดไว้ เช่น ในของประกอบฉาก โฆษณาปลอม ไตเติ้ลและเนื้อเพลง ที่สะท้อนความรู้สึกของวันด้า ถูกใช้เป็นลางบอกเหตุ หรือเชื่อมโยงกับเนื้อเรื่องอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี

ภาพจาก :: website Disney Media and entertainment distribution

ความพิเศษอีกอย่างของ WandaVision อยู่ที่รายละเอียดของการย้อนยุคด้วยที่ย้อนทุกอย่าง ตั้งแต่สัดส่วนภาพที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยตั้งแต่ยุคจอขาวดำไปจนถึงภาพสี ไม่ว่าจะเป็นฉาก เสื้อผ้า หน้าผม เพลงและภาพช่วงไตเติ้ล วิธีการเล่าเรื่อง หรือวิธีการเล่น ก็แตกต่างกันไปในแต่ละตอน และอ้างอิงจากซิตคอมดังจองสมัยนั้นๆ อาทิ ของยุค ‘50-60s ในตอนที่ 1-2 จาก  ‘The Dick Van Dyke Show’, ‘Love Lucy’ และ ‘Bewitched’ เป็นต้น หรือในตอนที่ 7 ที่มีตัวละครพูดกับกล้องก็อ้างอิงถึงสไตล์แบบเดียวกันกับที่เราอาจเคยดู ‘Modern Family’ สิ่งเหล่านี้ทำให้ WandaVision ดูโดดเด่นและแปลกตาจากซีรีส์อื่นๆ ของมาร์เวล แต่หากใครยังอยากดูฉากแอคชั่นและความทันสมัยต่าง ๆ ก็ยังคงมีให้ดูอยู่หลังจากเรื่องตัดกลับมาเล่าเรื่องโลกปัจจุบันที่ขนานกันอยู่ในตอนที่ 4

WandaVision จึงเป็นซีรีส์ที่เปิดแนวใหม่ให้กับตัวละครในจักรวาลมาร์เวล ให้เรารู้ว่าตัวละครของมาร์เวลจะไม่ต้องติดอยู่กับแนวแอคชั่นฮีโร่อีกต่อไป แต่จะเป็นอะไรก็ได้ ยิ่งมีข่าวว่า She-Hulk จะมาแนว Legal-Comedy ตลกกันแบบขึ้นโรงขึ้นศาล ยิ่งทำให้ต้องรอดูว่าแนวของซีรีส์ของมาร์เวลจะขยายไปไกลอีกแค่ไหน

 

ภาพจาก :: website Disney Media and entertainment distribution

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า