SHARE

คัดลอกแล้ว

กรณีหลายพื้นที่ประสบภัยแล้งจากฝนทิ้งช่วง บางจังหวัดขาดน้ำทำการเกษตร บางจังหวัดแหล่งน้ำในการผลิตน้ำประปาเหลือน้อย โดยเฉพาะจังหวัดทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วันที่ 19 ก.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แล รมว.กลาโหม ได้สั่งการด่วนให้ทุกเหล่าทัพสนับสนุนอากาศยานและกำลังพลในการทำทำฝนเทียมเพิ่มปริมาณน้ำเหนือเขื่อนและร่วมแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำกับฝ่ายพลเรือนแบบบูรณาการ เป้าหมายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุด เพราะปีนี้ฝนทิ้งช่วงยาวนาน ทำให้มีปริมาณน้ำน้อยกว่าปกติถึงร้อยละ 40 และประเทศเพื่อนบ้านลดการระบายน้ำลงแม่น้ำโขง

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ยังสั่งการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง เช่น จัดรถบรรทุกน้ำ, ขุดเจาะบ่อบาดาล และการเพิ่มความจุแหล่งน้ำ

ด้าน 3 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า, น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์​ และนายประภัตร โพธสุธน ลงพื้นที่ติดตามรับฟังบรรยายสรุปสถานการณ์น้ำในเขื่อน ณ เขื่อนภูมิพล ต.บ้านนา อ.สามเงา จ.ตาก และเขื่อนสิริกิติ์ ต.ผาเลือด อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ โดยรับฟังรายงานสถานการณ์น้ำของจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยก่อนลงพื้นที่ดูสภาพน้ำและปริมาณน้ำในเขื่อน

ทั้งนี้มีการนำเกษตรกร 250 คน จากลุ่มน้ำเจ้าพระยา 13 จังหวัด ลงพื้นที่ดูสภาพน้ำและปริมาณน้ำเก็บกัก ด้วยเพื่อให้เกษตรกร เห็นและรับทราบข้อมูลว่า ปริมาณน้ำของเขื่อนภูมิพลในขณะนี้ อาจจะไม่เพียงพอต่อการปลูกพืชที่ใช้น้ำมากหรือปลูกข้าวนาปรังได้ เกษตรกรคงจะต้องปรับเปลี่ยนหันไปปลูกพืชอื่นๆ แทน โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมมาตรการกำหนดแต่ละพื้นที่ควรปลูกพืชชนิดใด .

ส่วนที่ จ.สุพรรณบุรี นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำ นายวิจารย์ สิมาฉายา ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนายจงจิตร์ นีรนาทเมธีกุล อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง ที่บ้านห้วยม้าลอยต.หนองสาหร่าย อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี พร้อมแสดงความห่วงใยประชาชนหลายจังหวัดที่ประสบปัญหาฝนทิ้งช่วง ทำให้ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคและน้ำเพื่อการเกษตร

นายวราวุธ กล่าวว่า การที่จะใช้น้ำบาดาลไปช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง ต้องดูแต่ละพื้นที่ว่ามีน้ำบาดาลเพียงพอและมีคุณภาพดีมากน้อยแค่ไหน เช่น จ.สุพรรณบุรี บางพื้นที่ขุดลงไปแค่ 100 กว่าเมตรก็จะได้น้ำที่มีคุณภาพดี แต่บางจุดต้องขุดลึกลงไปถึง 200 กว่าเมตรกว่าจะได้น้ำ บางแห่งแม้จะขุดลึกลงไปถึง 200-300 เมตรแต่ยังได้น้ำมีสนิมเหล็ก และตะกรันอยู่ จึงต้องให้ทางกรมทรัพยากรน้ำ สำรวจก่อนว่าคุณภาพน้ำที่จะขุดขึ้นมานั้นสามารถนำมาใช้อุปโภคบริโภคได้มากน้อยเพียงใดและมีปริมาณน้ำเเพียงพอที่จะรองรับความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรหรือไม่

บทบาทและหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พวกเราทุกคนจะทำงานกันอย่างเต็มใช้เวลาทุกนาทีที่จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกรในทุกๆ ภาค โดยหลังจากดูพื้นที่สุพรรณบุรีแล้ว ตนจะให้ทางกรมวางแผนไปดูที่ภาคอีสาน และภาคเหนือเพื่อที่จะไปแก้ปัญหาและไปสำรวจเจาะกันให้เห็นเลยว่ามีปริมาณน้ำเพียงพอมีคุณภาพเพียงเท่าใด

https://www.facebook.com/WorkpointNews/photos/a.153956988306921/986560368379908/?type=3&theater

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า