SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 18 ต.ค. เวลา 21.30 น. นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคอนาคตใหม่ อภิปราย ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 2563 เรื่องทรัพยากรน้ำและการบริหารจัดการ
.
ประเทศไทยไม่ได้ขาดน้ำ แต่มีปัญหาประสิทธิภาพในการจัดการ ทำให้มีพื้นที่ชลประทานน้อยและแล้งซ้ำซาก


แผนบูรณาการน้ำงบประมาณเกือบ 6 หมื่นล้าน และมีงบจัดการน้ำในภาวะวิกฤติ เกือบ 1 แสนล้านบาท ซึ่งรวมทั้งงบกลาง 3 พันล้านบาท ในส่วนงบทดรองราชการ และสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉิน
.
แต่วิเคราะห์แล้วเห็นว่างบกว่าแสนล้านบาท ไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน ถ้าบริหารแบบนี้ต้องใช้เวลากว่า 100 ปีคนไทยจึงจะบริหารจัดการน้ำได้เพียงพอต่อความต้องการ
.
เพราะความต้องการใช้น้ำต่อปี 151,750 ล้าน ลบ.ม. รัฐจัดการได้ 102,140 ล้าน ลบ.ม. มีส่วนที่ขาด 49,610 ล้าน ลบ.ม. แต่ตามแผนปี 2563 จะได้น้ำเพิ่มจากเดิมเพียง 348 ล้าน ลบ.ม.
ต้องใช้เวลาอีก 142 ปี ซึ่งคงไม่มีโอกาสได้เห็นวันนั้นเพราะอยู่ไม่ถึง วันที่คนไทยใช้น้ำได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม


ปัญหาเกิดจากงบประมาณสะท้อนความเป็นราชการรวมศูนย์ขาดการกระจายอำนาจ แม้งบลงทุนจะเป็นเรื่องดีแต่งบไปกระจุกที่กระทรวง ขณะที่ลุ่มน้ำ,จังหวัด และท้องถิ่น ได้รับการจัดสรรงบประมาณน้อยกว่ามาก ส่วนงบในภาวะวิกฤต เน้นการเยียวยามากกว่าเตรียมพร้อม งบต้องเน้นไปที่ก่อนภาวะฉุกเฉินมากขึ้น มีการจัดสรรงบให้ท้องถิ่นที่ไม่ใช่แค่การแก้ปัญหาเท่านั้น
.
ทางออกของวิกฤติเรื่องน้ำในประเทศไทย ยังอยู่ที่ความหลากหลายทางนโยบายบริหารจัดการน้ำ เสื้อตัวเดียวตัดให้ทุกจังหวัดใส่ไม่ได้ ยาพาราเซตามอลเม็ดเดียวแก้ทุกโรคไม่ได้
.
“ถ้าเรามีเทคโนโลยีกับท้องถิ่น 2 ท. ไปเสริมกับทรัพยากร ไม่มีปัญหาไหนในประเทศไทยที่จะแก้ไม่ได้ จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยไปในทิศทางที่ไม่มีใครจะมาหยุดเราได้ และจะทำให้ได้อีก 2 ท. คือ เท่าเทียมและเท่าทัน ทรัพยากร-ท้องถิ่น-เทคโนโลยี จะทำให้คนไทยเท่าเทียมกันและเท่าทันโลก”

 

ต่อมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ในฐานะประธานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ กบช. ชี้แจงถึงการบริหารจัดการน้ำว่า มีการบูรณาการหลายหน่วยงาน และทำงานในรูปแบบคณะกรรมการเพื่อบริหารจัดการน้ำทั้งประเทศ ซึ่งการแก้ไขปัญหาจะมองด้านใดด้านหนึ่งว่าอุทกภัยหรือภัยแล้งอย่างเดียวไม่ได้ แม้จะมีปริมาณน้ำฝนเพียงพอ แต่ปัญหาคือการบริหารจัดการกักเก็บน้ำอย่างไรไม่ให้น้ำท่วม และมีน้ำใช้อย่างเพียงพอ

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า รัฐบาลมีแนวทางการบริหารจัดการน้ำว่า ต้องไม่ขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ซึ่งในกรณีจำเป็นเร่งด่วนก็ต้องใช้งบกลางแก้ไขทั้งสิ้น แต่สมาชิกหลายคนกลับพยายามอภิปรายเสนอตัดงบกลาง แต่ปัญหาคือไม่มีทางแก้ไขได้ 100% เนื่องจากยังมีปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่ของประชาชน ทั้งการพัฒนาระบบชลประทานการจัดทำบ่อกักเก็บน้ำ รวมถึงการระบายน้ำออกทางฝั่งตะวันออกและตะวันตก เนื่องจากมีอุปสรรคเกี่ยวกับพื้นที่ของประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลต้องคำนึงถึงด้วยเช่นกัน รวมถึงการแก้ไขปัญหาไม่สามารถทำได้ทีเดียวทั้งหมดเพราะงบประมาณไม่เพียงพอ

นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่ารัฐบาลไม่ทอดทิ้งเกษตรกร พยายามแก้ไขปัญหาแต่ต้องคำนึงถึงขั้นตอนที่ซับซ้อนด้วย จะเอาแต่หลักวิชาการอย่างเดียวมาแก้ปัญหาคงไม่ได้ ต้องเอาพฤติกรรมและความเป็นคนไทยมาพิจารณา เพื่อแก้ปัญหาแบบบูรณาการ รวมถึงขอให้ ส.ส.ไปพูดคุยกับประชาชนและหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วย หากสามารถดำเนินการได รัฐบาลก็มีงบประมาณแก้ปัญหาให้ ยืนยันว่ารัฐบาลไม่ทิ้งใครไว้ และมีเป้าหมายว่าจะทำอย่างไรให้มีพื้นที่ชลประทานมากขึ้นและน้ำจะไม่ท่วม

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า