สรุปสถานการณ์ #น้ำประปาเค็ม กรุงเทพฯต้องเผชิญไปจนถึงเดือนพฤษภาคม 2563 แนะ 7 กลุ่มเสี่ยง “หลีกเลี่ยงดื่ม” สัตว์เลี้ยงแก่มีโรคประจำตัวควรเลี่ยง
1) ภัยแล้งปีนี้รุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปี น้ำจืดในเขื่อนน้อย ประกอบน้ำทะเลหนุนสูง ความเค็มจึงผ่านเข้ามาในระบบผลิตน้ำประปา
2) รสชาติของน้ำประปาในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีรสกร่อยและเค็ม (บางช่วง)
3) ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ได้รับผลกระทบเพราะใช้น้ำดิบจากจังหวัดกาญจนบุรี
4) เกลือในน้ำประปาขณะนี้ขึ้นไปอยู่ที่ 400-800 มิลลิกรัมต่อลิตร (ปกติอยู่ที่ 100 มิลลิกรัมต่อลิตร)
5) คนที่สุขภาพแข็งแรง ยังดื่มน้ำประปาแบบนี้ได้
6) กลุ่มเสี่ยงที่ต้องเลี่ยงดื่มน้ำประปาในช่วงที่ความเค็มสูงขึ้น ได้แก่
7) การปรุงอาหารในช่วงเวลานี้ หากใช้น้ำประปาควรลดการเติมเครื่องปรุงรสให้น้อยลง
8) ระวังสุนัข-แมวแก่ หรือสัตว์เลี้ยงที่เป็นโรคไต และโรคหัวใจ ดื่มน้ำประปาเค็ม
9) สถานการณ์น้ำประปามีรสชาติเค็ม จะมีไปจนถึงเดือนพฤษภาคมปีนี้ หรือ 5 เดือน
10) การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาคขอความร่วมมือประชาชนช่วยประหยัดการใช้น้ำในช่วงสถานการณ์ภัยแล้ง พร้อมยืนยันจะไม่หยุดผลิตน้ำประปา
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย ระบุว่า ฝั่งพระนคร คือพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา แบ่งเขตออกเป็น 35 เขต ดังนี้
เขตคลองเตย
เขตคลองสามวา
เขตคันนายาว
เขตจตุจักร
เขตดอนเมือง
เขตดินแดง
เขตดุสิต
เขตบางกะปิ
เขตบางเขน
เขตบางคอแหลม
เขตบางซื่อ
เขตบางนา
เขตบางรัก
เขตบึงกุ่ม
เขตปทุมวัน
เขตประเวศ
เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย
เขตพญาไท
เขตพระโขนง
เขตพระนคร
เขตมีนบุรี
เขตยานนาวา
เขตราชเทวี
เขตลาดกระบัง
เขตลาดพร้าว
เขตวังทองหลาง
เขตวัฒนา
เขตสวนหลวง
เขตสะพานสูง
เขตสัมพันธวงศ์
เขตสาทร
เขตสายไหม
เขตหนองจอก
เขตหลักสี่
เขตห้วยขวาง