SHARE

คัดลอกแล้ว

จับตานโยบายสำคัญที่ ‘โดนัลด์ ทรัมป์’ เร่งดำเนินการหลังขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐเมื่อเข้าพิธีสาบานตนในวันที่ 20 มกราคม ส่งสัญญาณต่อเศรษฐกิจโลกรวมถึงเศรษฐกิจไทย และจะส่งแรงกระเพื่อมต่อการเงินและการลงทุนที่นักลงทุนทั่วโลกต่างจับตามองอย่างไรบ้าง   

เดอะวิสดอมกสิกรไทย จัดงาน “Wealth Forum Thailand 2025 : The New Frontiers of Investment Opportunity”  ที่จัดขึ้นสำหรับลูกค้าเดอะวิสดอมกสิกรไทยเท่านั้น เจาะลึกวิเคราะห์ทุกมิติที่ส่งผลกระทบต่อนักลงทุน รวมถึงแนวทางการปรับกลยุทธ์ ปรับพอร์ตการลงทุน ในปี 2025 โดยทีม K WEALTH ซึ่งเป็นศูนย์ข้อมูลด้านการเงินและการลงทุนของธนาคารกสิกรไทย และผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน การลงทุน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากทีมผู้บริหารธนาคารกสิกรไทยและ  J.P. Morgan Asset Management , Lombard Odier พันธมิตรด้านการลงทุนระดับโลก 

สรุปประเด็นความน่าสนใจของงาน “Wealth Forum Thailand 2025 : The New Frontiers of Investment Opportunity”  ดังนี้ 

‘ดร. พิพัฒน์พงศ์ โปษยานนท์’ ผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวถึง แนวโน้นการเปลี่ยนแปลงการลงทุนสินทรัพย์ทั่วโลก ปี 2025 

หลังจากพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม 2025 คาดว่าจะเห็นนโยบายเร่งด่วนใน 100 วันแรก ของโดนัล ทรัมป์ เช่น นโยบายการลดเงินสนับสนุนทางทหารกับชาติพันธมิตร นโยบายกีดกันผู้อพยพเข้าเมือง นโยบายด้านพลังงาน รวมถึงการลดภาษี ซึ่งโดยรวมแล้วจะสร้างแรงกดดันเงินเฟ้อให้กับเศรษฐกิจสหรัฐฯ จากต้นทุนการนำเข้าที่เพิ่มขึ้น ค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น รวมถึงการขาดดุลการคลังที่สูงขึ้น ซึ่งแนวโน้มเงินเฟ้อที่สูงขึ้น จะทำให้ภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะดีขึ้นตามนโยบายของทรัมป์ยังมีความไม่แน่นอนอยู่​

“สงครามการค้าจะสร้างความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจในฝั่งเอเชียรวมถึงไทยอย่างมากจากการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ การตอบโต้ทางการค้าไปมา การปรับเปลี่ยนห่วงโซ่อุปทานโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบทางลบจากโอกาสทางการค้าที่หายไป นอกจากนี้ การปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนอีก 60% จะส่งผลกระทบทางอ้อมให้ประเทศต่างๆ ต้องเผชิญการไหลบ่าเข้ามาของสินค้านำเข้าจากจีนที่ได้เปรียบด้านราคา ซึ่งจะส่งผลกระทบอีกต่อหนึ่งต่อภาคการผลิตในแต่ละประเทศ​”

สำหรับเศรษฐกิจไทย นอกจากจะเผชิญความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกแล้ว สงครามการค้าจะเป็นความเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า จากการที่สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับไทยเป็นอันดับที่ 12 ของคู่ค่าทั้งหมดของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นความเสี่ยงต่อสินค้าส่งออกไทยที่จะเจอภาษีสินค้านำเข้าไปยังสหรัฐฯ ที่สูงขึ้น หรือไทยอาจจะต้องเปิดตลาดนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ มากขึ้น ซึ่งโดยรวมแล้วเป็นปัจจัยลบต่อทิศทางดุลการค้าของไทยในระยะข้างหน้าให้เกินดุลได้ลดลง​

 

[ Global Economic Landscape 2025 ] 

แนวโน้มและทิศทางเศรษฐกิจโลกปี 2025 

Ms. Jin Yuejue Managing Director, Asia Head of Investment Specialist Multi-Asset Solution group จาก J.P. Morgan Asset Management กล่าวถึง มุมมองเกี่ยวกับแนวโน้มและทิศทางของเศรษฐกิจโลก ปี 2025  ดูเหมือนกลับสู่ภาวะปกติมากขึ้น แต่ยังคงมีเมฆหมอกปกคลุม (Cloudy) 

การกลับมาของ โดนัลด์ ทรัมป์ และนโยบายของเขา อาจสร้างแรงกระเพื่อมต่อเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะในประเด็นการจัดการกับแรงงานอพยพ การเก็บภาษีการค้ากับจีน และนโยบายเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยที่อาจส่งผลต่อเงินเฟ้อในระยะยาว

แม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจโลกในปี 2025 จะดูเป็นบวก แต่ความไม่แน่นอนยังคงมีอยู่ ทั้งในแง่ของนโยบายการเงิน ภาวะเงินเฟ้อ และความเสี่ยงทางภูมิรัฐศาสตร์ การวางแผนการลงทุนอย่างรอบคอบ และการกระจายความเสี่ยงยังคงเป็นหัวใจสำคัญสำหรับนักลงทุนในปีนี้

[ กลยุทธ์การลงทุนในภาวะเศรษฐกิจโลก ] 

  1. การกระจายพอร์ตการลงทุน:
    ควรกระจายการลงทุนระหว่างสินทรัพย์ เช่น หุ้น ตราสารหนี้ และหุ้นกู้เอกชนคุณภาพดี เพื่อรองรับความผันผวน
  2. ตลาดที่น่าสนใจ :
  • สหรัฐฯ : หุ้นในตลาดอเมริกายังคงน่าสนใจ เนื่องจากมีแนวโน้มการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
  • ญี่ปุ่น : หุ้นในตลาดญี่ปุ่นมีศักยภาพสูง แต่ตราสารหนี้ญี่ปุ่นอาจไม่เป็นที่ชื่นชอบของนักลงทุน
  1. ปรับพอร์ตตามความเสี่ยง:
    ติดตามการเปลี่ยนแปลงของนโยบายดอกเบี้ยจากธนาคารกลาง โดยเฉพาะในสหรัฐฯ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการตัดสินใจลงทุน

Mr. Homin Lee  Senior Macro Strategist จาก Lombard Odier 

มองแนวโน้มและทิศทางของเศรษฐกิจโลก ปี 2025  เป็นช่วงเวลาสำคัญที่เศรษฐกิจโลกอาจต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โดยหนึ่งในปัจจัยหลักที่สร้างความผันผวน คือ การกลับมาของโดนัลด์ ทรัมป์ ในฐานะผู้นำสหรัฐฯ พร้อมกับนโยบายที่ส่งผลกระทบทั้งด้านบวกและลบต่อเศรษฐกิจโลก

แม้ว่าการมาของทรัมป์อาจสร้างความผันผวนในตลาด แต่ก็ส่งผลดีต่อตลาดหุ้นสหรัฐฯ ซึ่งยังคงเป็นตลาดที่มีศักยภาพ 

[มุมมองการลงทุนที่น่าสนใจ ในช่วงเศรษฐกิจโลกผันผวน]

  1. การลงทุนในพันธบัตร (Bonds) ยังคงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับกระจายความเสี่ยงในสภาวะตลาดผันผวน
  2. การลงทุนในทองคำ  (Gold Fund) ยังคงเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยที่น่าสนใจในภาวะที่มีความไม่แน่นอนสูง 
  3. อสังหาริมทรัพย์ในสวิตเซอร์แลนด์ยังเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในตลาดที่มีความมั่นคง

 

[ Investment Opportunities & Strategies 2025 ]  

โอกาส ความเสี่ยง และกลยุทธ์การลงทุนปี 2025 

 

‘วีระพล บดีรัฐ’  ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกสิกรไทย แนะนำแนวทางสำหรับนักลงทุนทั่วไปที่ต้องการจัดการพอร์ตการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการกระจายความเสี่ยง และปรับพอร์ตให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจ 

โดยแบ่งเงินลงทุนออกเป็น 2 ส่วนหลัก ดังนี้ 

  1. Core Portfolio (70%) : ลงทุนในสินทรัพย์ที่มั่นคง เช่น กองทุนผสม (K Wealth Plus) ซึ่งเหมาะสำหรับการลงทุนระยะยาวเน้นการสร้างความมั่นคงให้พอร์ต ไม่ว่าตลาดจะผันผวนเพียงใด
  2. Satellite Portfolio  (30%) : ใช้สำหรับการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น หรือเลือกจังหวะลงทุนเอง เช่น หุ้นรายตัวหรือสินทรัพย์ทางเลือก เหมาะสำหรับการเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนในระยะสั้น

สำหรับมือใหม่ลองขยับจากเงินฝากมาลงทุนในตราสารหนี้ ซึ่งให้ผลตอบแทนที่มั่นคงและมีความเสี่ยงต่ำ ทดลองการลงทุนระยะสั้น 12 เดือน 

ใช้เงินเพียง 20% ของพอร์ตในกองทุนผสม เพื่อดูว่าคุณสามารถรับมือกับความผันผวนได้หรือไม่ จากนั้นค่อยเพิ่มสัดส่วนการลงทุน

[ หลักการปรับพอร์ตตามสถานการณ์ ] 

  • เศรษฐกิจดี : ปรับลดสัดส่วน Core Portfolio ลง และเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น
  • เศรษฐกิจไม่ดี : ปรับเพิ่มสัดส่วน  Core Portfolio เพื่อสร้างความมั่นคง

ไม่ว่าตลาดจะเป็นอย่างไรการกระจายความเสี่ยงและวางแผนการลงทุนให้รอบคอบคือสิ่งสำคัญที่สุด ทำให้คุณสามารถสร้างผลตอบแทนในระยะยาวได้อย่างยั่งยืน แม้จะไม่ใช่มืออาชีพก็ตาม 

 

‘สรพล วีระเมธีกุล’ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บมจ. หลักทรัพย์กสิกรไทย มองว่า ภาพรวมการลงทุนในปี 2025 ตลาดหุ้นไทยอาจจะเผชิญกับความผันผวน ส่งผลให้การเลือกลงทุนในหุ้นต้องพิจารณาปัจจัยพื้นฐานอย่างรอบคอบ  

การลงทุนในตลาดหุ้นไทยช่วงนี้ควรมุ่งเน้นไปที่หุ้นกลุ่มพลังงานและหุ้นของบริษัทที่บริหารต้นทุนได้ดี เนื่องจากสามารถรับมือกับความผันผวนในตลาด และสร้างความมั่นคงให้กับพอร์ตการลงทุนในระยะยาว นักลงทุนควรติดตามปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาน้ำมันและต้นทุนการผลิต เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการตัดสินใจลงทุนอย่างรอบคอบ

นอกจากนี้ยังได้วิเคราะห์จุดยืนของเศรษฐกิจไทย ผ่าน 3 มุมมอง ได้แก่  

  1. เงินทุนต่างชาติ : นักลงทุนต่างชาติเริ่มเข้าซื้อสินทรัพย์ในไทย รวมถึงการย้ายฐานการผลิตตั้งโรงงานในประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงที่ต้องจับตา โดยเฉพาะจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน
  2. ผลกระทบจากสงครามการค้า :
    สหรัฐฯ อาจพิจารณาเกณฑ์การขึ้นภาษีสินค้านำเข้า ซึ่งมี 3 เกณฑ์สำคัญที่อาจทำให้ต้องระมัดระวัง ได้แก่
  • ค่าเงินที่แข็งค่าเกินไป 
  • ดุลการค้าที่เกินดุลกับสหรัฐฯ
  • การสนับสนุนภาคการผลิตในประเทศอย่างไม่เท่าเทียม
  1. ค่าเงินบาทหลังการเลือกตั้งสหรัฐฯ :
    การเปลี่ยนแปลงของนโยบายทางเศรษฐกิจและการค้าของสหรัฐฯ หลังการเลือกตั้งอาจส่งผลกระทบต่อค่าเงินในภูมิภาค เช่น เงินบาทของไทย  เงินหยวนของจีน และเงินวอนของเกาหลี ซึ่งอาจทำให้ไทยต้องเผชิญกับแรงกดดันเพิ่มเติม 

 

‘วจนะ วงศ์ศุภสวัสดิ์’  CFA, รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กสิกรไทย มองว่า สถานการณ์ปัจจุบันยังคงเปิดโอกาสให้นักลงทุนสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีได้ แม้ตลาดจะเผชิญกับความผันผวนสูง   ปีนี้เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการจัดพอร์ตการลงทุนอย่างรอบคอบ โดยเน้นสร้างความยืดหยุ่นและกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์หลากหลายประเภท ทั้งหุ้น ตราสารหนี้ และอสังหาริมทรัพย์ การลงทุนอย่างมีแผนจะช่วยให้คุณพร้อมรับมือกับความผันผวนและสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงในระยะยาว

โดยมีมุมมองที่น่าสนใจในหลายประเด็นดังนี้

[ หุ้นสหรัฐฯ ยังคงเป็นขาขึ้น ] 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงมีศักยภาพสูง ด้วยอัตราดอกเบี้ยและนโยบายการเงินที่ยืดหยุ่นช่วยสนับสนุนการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าการมาของโดนัลด์ ทรัมป์ จะสร้างความผันผวนให้ตลาด แต่โอกาสการลงทุนยังคงมีอยู่  การลงทุนให้ยาวขึ้น น่าจะได้ผลตอบแทนที่ดี ถ้าทิศทางเป็นไปอย่างที่คาดไว้ 

[ การจัดพอร์ต : เน้นความยืดหยุ่นและกระจายความเสี่ยง ] 

  1. กองทุนตราสารหนี้เพื่อความมั่นคงในระยะยาว [ K-FIXEDPLUS ]  : เน้นการลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพสูง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เหมาะสำหรับผู้ที่มองหาทางเลือกในการสร้างผลตอบแทนที่มั่นคงและต่อเนื่อง โดยเฉพาะในสภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในทิศทางขาลง
  2. กองทุนหุ้นโลก [ K-GSELECT ] : เป็นกองทุนเริ่มต้นที่ดีสำหรับผู้สนใจลงทุนในหุ้นระดับโลก ซึ่งช่วยกระจายความเสี่ยงและรับผลประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจโลก
  3. กองอสังหาริมทรัพย์ [ K-PROPI ] :
    ในภาวะอัตราดอกเบี้ยลดลง อสังหาริมทรัพย์ยังคงเป็นตัวเลือกที่ให้ผลตอบแทนที่น่าสนใจ

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า