Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

เมื่อไม่นานมานี้เราคงได้ยินข่าวที่ว่า Bitkub โอ้กะจู๋ ชายสี่ หรือ 3 ธุรกิจชื่อดังของไทยกำลังยื่น IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ 

แต่ทุกคนเคยสงสัยไหมว่าทำไมการ IPO ถึงจำเป็นกับธุรกิจที่อยากเติบโต? TODAY Bizview จะมาอธิบายเรื่องนี้ให้ฟัง

แต่ก่อนอื่น TODAY Bizview จะเล่าถึงเคสหุ้น IPO ของปี 2567 ที่ระดมทุนวันแรกราคาหุ้นเด้งไปไกล เรียกเสียงฮือฮาให้กับนักลงทุนไม่น้อยเลย นั่นก็คือหุ้น ADVICE (ร้านขายสินค้าไอที) ที่เพิ่ง IPO ไปเมื่อต้นปี (31 ม.ค. ปี 2567) ราคา IPO ที่หุ้นละ 3.24 บาท

แต่เข้าเทรดวันแรกราคาพุ่งถึง 80% ทำราคาหุ้นพุ่งอยู่ที่ 5.85 บาท คิดเป็นมูลค่า 3,600 ล้านบาท โดยในตอนนั้น ADVICE ต้องการ IPO ระดมทุนไปขยายธุรกิจและสั่งสินค้ามาสต๊อกไว้ในร้าน รวมถึงชำระหนี้คืนนายทุนสถาบัน 

สะท้อนให้เห็นแล้วว่าการ IPO ถือเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับธุรกิจ เพราะสามารถนำเงินที่ระดมทุนได้ไปใช้ได้หลายอย่าง

[ IPO คืออะไร? ]

และต้องเล่าแบบนี้ว่าสำหรับภาคธุรกิจแล้ว เวลาที่ต้องการขยายธุรกิจการเพิ่มทุนด้วยการกู้-ยืมธนาคารถือเป็นหนึ่งในตัวเลือกแรกๆ แต่การกู้-ยืมธนาคารก็ถือว่าบริษัทต้องมีราคาที่ต้องจ่ายคืนกลับแพงเกินไป เพราะต้องเผชิญกับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้และค่าใช้จ่ายยิบย่อยอื่นๆ 

ทำให้การ IPO ถือเป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะทำให้บริษัทเติบโตได้ เพราะเงินที่ได้จากระดมทุน IPO สามารถนำไปต่อยอดได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ขยายธุรกิจ ลงทุนวิจัยและพัฒนา หรือชำระหนี้สินก็ตาม 

ฉะนั้น เรามาเริ่มรู้จักคำว่า IPO กันก่อน 

IPO ย่อมาจาก Initial Public Offering หมายถึง หุ้นของบริษัทที่ต้องการระดมทุนเพื่อต่อยอดธุรกิจ และถูกเสนอขายหุ้นให้แก่นักลงทุนหรือประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก 

โดยวัตถุประสงค์ที่บริษัทออกหุ้น IPO ส่วนใหญ่ก็มาจากที่บริษัทเหล่านี้ต้องการที่จะระดมเงินทุนเพื่อใช้ในการขยายกิจการให้เติบโตมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น

            • Bitkub ต้องการ IPO เพื่อระดมทุนขยายธุรกิจและเพิ่มจำนวนพนักงานให้ถึง 3,000 คน
            • โอ้กะจู๋ ต้องการ IPO เพื่อระดมทุนขยายธุรกิจและเปิดแบรนด์ร้านอาหารใหม่ 
            • ชายสี่  ต้องการ IPO เพื่อระดมทุนขยายธุรกิจและพัฒนาระบบแฟรนไชส์ พร้อมแบ่งสัดส่วนการถือหุ้นของลูกชายให้ชัดขึ้น

นี่ก็หมายความว่าสำหรับประชาชนทั่วไป นักลงทุนสถาบัน นักลงทุนต่างชาติก็สามารถเข้ามาซื้อหุ้นบริษัทเหล่านี้เพื่อมีสิทธิ์ที่จะมีส่วนร่วมในการเป็นเจ้าของบริษัทได้

นอกจากนี้ ในขั้นตอนการ IPO จะมีการเปิดเผยข้อมูลบริษัทต่อสาธารณะในการเสนอขายหุ้น IPO ช่วยให้บริษัทได้รับการประชาสัมพันธ์ และพอเป็นบริษัทมหาชน อาจช่วยให้บริษัทได้เงื่อนไขที่ดีขึ้นจากผู้ให้กู้อีกด้วย

อีกหนึ่งเรื่องที่นักลงทุนต้องรู้คือวิธีการดูบริษัทที่ IPO เข้าตลาดแล้วจะชื่อหลักทรัพย์ และเปลี่ยนนามสกุลต่อท้ายเป็น ‘จำกัด (มหาชน)’  

ตัวอย่างเช่น WORK หรือ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) 

[ SET สำหรับธุรกิจใหญ่ MAI สำหรับธุรกิจกำลังเติบโต ]

สำหรับประเทศไทยมีตลาดหลักทรัพย์ที่ดำเนินกิจการในประเทศ 2 ตลาด นั่นก็คือ 

            • SET (Stock Exchange of Thailand) ตลาดหลักทรัพย์ขนาดใหญ่กว่า MAI ซึ่งมีบริษัทจดทะเบียนมากกว่า 500 บริษัท เน้นธุรกิจขนาดใหญ่ มีรายได้และกำไรแข็งแกร่ง ตัวอย่างเช่น PTT (ปตท.) BCP (บางจาก)  
            • MAI (Market for Alternative Investment) ตลาดหลักทรัพย์ที่เหมาะกับกำลังเติบโต ค่อยๆ ขยายธุรกิจ เป็นที่นิยมสำหรับบริษัทสตาร์ทอัพต่างๆ ที่ต้องการระดมทุน เช่น FSMART (เจ้าของตู้เต่าบิน) MASTER (โรงพยาบาลศัลยกรรมมาสเตอร์พีช)

นอกจากนี้ หุ้นของบริษัทที่จะ IPO จะสามารถจองซื้อในราคา IPO ได้ก่อนเทรดวันแรกผ่านคนกลางของบริษัทนั้นๆ อีกด้วย 

ตัวอย่างเช่น หุ้น ADVICE (ร้านขายสินค้าไอที) ที่เพิ่ง IPO ไปเมื่อต้นปี (เดือนม.ค. ปี 2567) มีบริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส จำกัด เป็นที่ปรึกษาทางการเงินและคนกลางด้านการซื้อ-ขายรอบราคา IPO หรือก่อนเข้าเทรดวันแรก นักลงทุนที่สนใจสามารถซื้อผ่านบลจ. เอเซียพลัสได้ตามเงื่อนไข 

[ 5 ขั้นตอนการ IPO ]

ทำความเข้าใจให้ลึกลงไปอีกคือ การที่บริษัทจะ IPO ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องผ่านขั้นตอนหลักๆ 5 ขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็น

            1. บริษัทที่ต้องการ IPO จะต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินหรือ ผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ มาช่วยตกแต่งโปรไฟล์ อาทิ งบการเงิน เอกสารต่างๆ ที่จำเป็นหรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต้องการ 
            2. บริษัทจะต้องยื่นคำขอเพื่อเสนอขาย (Filing) หรือเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป กับสำนักงาน ก.ล.ต. พร้อมพูดคุยหารือและจัดเตรียมเอกสารสำหรับยื่นต่อกับสำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ 
            3. อนุมัติคำขอเสนอขาย (Approved) หลังจากยื่นคำขอแล้ว สำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ จะพิจารณาข้อมูลพร้อมกับสัมภาษณ์ที่ปรึกษาทางการเงินและผู้สอบบัญชี พร้อมเยี่ยมชมธุรกิจ สัมภาษณ์ผู้บริหารและอื่นๆ โดยกระบวนการทั้งหมดจะใช้เวลาคร่าวๆ 120 วัน
            4. บริษัทได้รับการเสนอขายหุ้นแล้วจะต้องกำหนดวันจองซื้อ (Effective) กำหนดราคาและวันเสนอขาย โดยราคาเสนอขายจะประเมินได้หลายวิธีตามความเหมาะสมของประเภทธุรกิจ 
            5.  เข้าสู่วันซื้อขายวันแรก (IPO) หรือที่เราคุ้นปากกันว่า First Trading Day จะเป็นวันแรกที่บริษัทให้ประชาชนนักลงทุนทั่วไปสามารถซื้อขายหุ้นได้ พร้อมกับเปลี่ยนนามสกุลมาเป็น ‘จำกัด (มหาชน)’  นั่นเอง

แล้วถ้าถามว่าทำไมการ IPO ถึงจำเป็นสำหรับธุรกิจที่ต้องการเติบโต คำตอบคือ มันคงจะดีกว่าหากเรามีนักลงทุนหลายๆ คนเข้ามาช่วยเพิ่มทุนให้บริษัทสามารถขยายธุรกิจให้เติบโตอย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้เร็วขึ้น และเมื่อบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ไปแล้วจะมีการทำงานอย่างเป็นระบบเกิดขึ้นเพราะจะมี ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ คอยดูแล สะท้อนถึงความมั่นคงในธุรกิจนั้นๆ อีกด้วย

ที่มา 

https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/304-securities-preparing-for-ipo

https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/244-things-to-know-before-investing-in-ipo-stock

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า