Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สิ่งสำคัญที่สุดสำหรับการลงทุนก็คือ ‘เงินลงทุน’ หากมีเงินลงทุนมากพอ แม้ผลตอบแทนจะไม่สูง ก็ได้กำไรกลับมามากมายแล้ว ในทางกลับกัน อุปสรรคสำคัญสำหรับการลงทุนก็คือการหา ‘เงินต้น’ ซึ่งต้องแลกมาด้วยการทำงาน เก็บออม เพื่อให้มีเงินมากพอมาลงทุน

อย่างไรก็ตาม หากหุ้นที่เราสนใจปรับตัวลงมาในระดับราคาที่น่าลงทุน แต่เรากลับมีเงินไม่เพียงพอจะทำอย่างไร ในบทความนี้ขอพามาทำความรู้จักกับ ‘มาร์จิ้น’ เครื่องมือทางการเงินที่จะช่วยเพิ่มเงินลงทุนให้กับนักลงทุนได้ทันตา

[ ‘มาร์จิ้น’ คืออะไร ]

‘บัญชีมาร์จิ้น’ หรือ ‘เครดิตบาลานซ์’ คือรูปแบบบัญชีที่นักลงทุนสามารถเปิดกับโบรคเกอร์ได้ ซึ่งเป็นบัญชีที่จะสามารถขอสินเชื่อ (กู้เงินมาลงทุน) ให้กับนักลงทุนที่เป็นเจ้าของบัญชี

โดยที่นักลงทุนต้องนำเงินสด หรือ หลักทรัพย์มาวางเป็นหลักประกันการชำระหนี้ก่อนซื้อหุ้นตามที่โบรกเกอร์กำหนด พร้อมกับการจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่บริษัทหลักทรัพย์กำหนด

[ ข้อดีของบัญชีมาร์จิ้น ]

ตัวอย่างเช่น นาย A มีเงินลงทุนในหุ้นรวม 1,000,000 บาท วันหนึ่งอยากลงทุนเพิ่มแต่ไม่มีเงินสดเหลือแล้ว นาย A ก็อาจจะพิจารณานำเอาหุ้นในพอร์ตไปวางเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน และขอกู้เงินจากโบรกเกอร์มาลงทุน

หากนาย A ต้องการซื้อหุ้นดังกล่าวแค่ 300,000 บาท ก็คิดเป็นสัดส่วนการกู้ยืม 30% ของพอร์ตการลงทุนของนาย A และหากราคาหุ้นดังกล่าวปรับตัวขึ้น 10% หลังจากที่เข้าซื้อ ก็จะทำให้นาย A ได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมา 30,000 บาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทน 3% จากเงินลงทุน 1,000,000 บาทเท่าเดิม

[ ข้อเสียของบัญชีมาร์จิ้น ]

แต่ทั้งนี้ ‘มาร์จิ้น’ ก็ไม่ได้มีแต่ข้อดีเสมอไป แต่มีข้อเสียที่อาจทำให้นักลงทุนหมดเนื้อหมดตัวได้เหมือนกัน หากควบคุมความเสี่ยงไม่เหมาะสมและโลภเกินความรู้

หากใช้กรณีตัวอย่างเดิมที่นาย A มีเงินลงทุนอยู่ 1,000,000 บาท แต่เขาใจร้อนอยากเร่งผลตอบแทน จึงใช้มาร์จิ้น 50% ของพอร์ตการลงทุน ทำให้ได้เงินลงทุนมาเพิ่มอีก 500,000 บาท ซึ่งเขานำเงินก้อนนั้นไปลงทุนในหุ้นตัวหนึ่งทั้งหมดที่กู้มา 

นาย A ประเมินว่า หุ้นตัวนี้จะเติบโต 100% ภายในหนึ่งปี จากการอ่านบทวิเคราะห์ และข่าว หากเป็นไปตามคาด เงินลงทุนที่ยืมมา 500,000 บาท ก็จะกลายเป็น 1,000,000 บาท คิดเป็นกำไร 500,000 บาท จากเงินลงทุนเดิมที่เขามีเพียงแค่ 1,000,000 บาท หรือคิดเป็นผลตอบแทน 50%

[ แย่สุดถูก Forced Sell ]

แต่หากไม่เป็นไปตามคาด เช่น ตลาดย่ำแย่ ส่งผลให้มูลค่าพอร์ตที่นำมาวางเป็นหลักประกันลดลงมากกว่า 50% จนต่ำกว่าเกณฑ์อัตรามาร์จิ้นขั้นต่ำ นาย A จะโดนบังคับขายหุ้นในพอร์ตเพื่อคืนเงินโบรกเกอร์ (Forced sell) หรือถูกเรียกให้วางเงินสดเพิ่ม ซึ่งนั่นอาจทำให้เขาหมดตัวได้เลยทีเดียว

ดังนั้น หากใช้มาร์จิ้นโดยควบคุมความเสี่ยงได้ไม่ดี หรือโลภจนเกินไป นอกจากจะทำให้มลายหายไปอย่างรวดเร็วแล้ว อาจทำให้มีหนี้สินเพิ่มขึ้นมาได้อีกด้วย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า