Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ไม่นานมานี้ มีเทรนด์ใหม่มาแรงอย่าง ‘Quiet Quitting’ ที่ได้รับการพูดถึงเป็นวงกว้าง ทั้งจากบอร์ดเว็บไซต์ต่างประเทศ รวมถึงในกลุ่มคนทำงานบ้านเราเองด้วย

‘Quiet Quitting’ คือแนวคิดที่บอกว่า การทำงานหนักไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต ไม่ผิดอะไรที่จะปล่อยให้ตัวเองได้รีแล็กซ์ ทำงานตามขอบเขตที่จำเป็นตาม Job Description บ้าง ซึ่งวิธีคิดดังกล่าวก็ได้รับการเผยแพร่จนกลายเป็นไวรัลโดยแอคเคานต์ติ๊กต่อก @zaidleppelin

ใจความของคลิปไวรัลนั้นบอกว่า ไม่เป็นไรเลยที่เราจะทำงานน้อยลงบ้าง หากการทุ่มเททำงานอย่างหนักไม่ได้ทำให้ชีวิตคุณดีขึ้น ซึ่ง Quiet Quitting ก็ไม่ได้บอกให้เราเป็นคนขี้เกียจ ไร้ความผิดชอบ ทิ้งงานกลางทางแต่อย่างใด เพียงแต่อย่าให้การทำงานมาเบียดขับลดทอนความสุขในพาร์ตอื่นๆ ของชีวิตมากเกินไปเท่านั้นเอง

แต่หลัง Quiet Quitting เป็นเทรนด์ได้ไม่นาน ก็เกิดขั้วตรงข้ามอย่าง ‘Quiet Firing’ ขึ้น ซึ่งนัยและความหมายของคำนี้ก็ดูจะรุนแรงและโหดร้ายกับคนทำงานมาก

เพราะในขณะที่ Quiet Quitting เกิดขึ้นเพื่อหักล้างค่านิยมทำงานหนัก Quiet Firing กลับเป็นพฤติกรรมของนายจ้างที่กำลังบีบให้คนทำงานทนไม่ไหวและลาออกไปเอง

[ ไม่มีค่า ไม่ได้รับการมองเห็น ไม่มีโอกาสเติบโต ]

Quiet Firing แปลตรงตัวคือการไล่ออกอย่างเงียบๆ โดยที่นายจ้างไม่ต้องทำการเลิกจ้าง ประกาศ Layoff อย่างเป็นทางการ หรือจ่ายค่าชดเชยใดๆ เลย เพราะ Quiet Firing จะบีบให้คนทำงานรู้สึกดิ่ง ไร้คุณค่าที่สุดจนตัดสินใจลาออกเอง

ตัวอย่างของการไล่ออกเงียบๆ มีตั้งแต่การปฏิเสธที่จะปรับเพิ่มฐานเงินเดือนให้กับพนักงานคนดังกล่าวแม้จะทำงานที่บริษัทมานานมากแล้ว กีดกันและไม่เปิดโอกาสให้ได้แสดงศักยภาพหรือเติบโตในองค์กร เมินเฉยและไม่ให้ความสำคัญกับงานที่พวกเขาทำ

จนนานวันเข้าเมื่อพนักงานถูกมองข้ามบ่อยๆ อยู่ไปก็ไม่มีใครเห็นคุณค่า รู้สึกไม่แมตช์กับองค์กรอีกต่อไป ก็จะตัดสินใจยื่นใบลาออกเอง

เอลลา วอชิงตัน (Ella Washington) นักจิตวิทยาองค์กรและที่ปรึกษาด้านความหลากหลายให้ความเห็นว่า การไล่ออกอย่างเงียบๆ เกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยมักมีต้นตอจากหัวหน้าที่ไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่พวกเขาคาดหวังจากตัวพนักงาน รวมถึงไม่ได้สร้างบรรยากาศความสัมพันธ์ภายในทีมที่ดีอีกด้วย

หัวหน้าทีมหลายคนมักจะหลงลืมไปว่า หน้าที่ในการกำหนดแนวทาง และการโค้ชชิ่งคนทำงานเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำอยู่แล้ว แต่กลายเป็นว่า พวกเขากลับรู้สึกว่าการสอนงานเป็นหน้าที่พิเศษที่เพิ่มเติมเข้ามา เมื่อหัวหน้าละเลยการสอนงาน พนักงานไม่สามารถทำตามสิ่งที่บริษัทคาดหวังได้ ก็ทำให้เกิดการบีบให้คนออกไปเอง

ทั้งนี้ งานวิจัยชิ้นล่าสุดจาก McKinsey & Co. ยังพบว่า การขาดโอกาสก้าวหน้าในหน้าที่การงานเป็นสาเหตุอันดับต้นๆ ที่ทำให้ผู้คนตัดสินใจลาออก ตามมาด้วยประเด็นของหัวหน้าหรือผู้นำที่ไม่ใส่ใจ

ซึ่งในงานชิ้นนี้ยังอธิบายเพิ่มเติมด้วยว่า ก่อนที่จะมีเหตุการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 เกิดขึ้นนั้น เงินเดือนอาจจะเป็นปัจจัยสำคัญสูงสุดที่ทำให้พนักงานอยู่กับองค์กรไปนานๆ แม้ว่าหัวหน้าจะไม่ดีอย่างไร แต่หากเงินเดือนยังเป็นที่น่าพึงพอใจพนักงานก็เลือกที่จะอยู่ต่อมากกว่า

ตรงกันข้ามกับช่วงที่การระบาดใหญ่จบลงแล้ว ผู้คนเริ่มคิดถึงความก้าวหน้า การได้รับการมองเห็น และเรื่องของการให้คุณค่ามากขึ้น หากหัวหน้าไม่ดี ไม่ใส่ใจ ไม่ให้ความสำคัญกับตนเอง พนักงานก็เลือกที่จะออกมามากกว่าทนอยู่โดยคิดเพียงเรื่องของตัวเลขอย่างในอดีต

นอกจากการเมินเฉยแล้ว Quiet Firing ยังมาในอีกรูปแบบด้วย คือการให้งานรับผิดชอบเยอะๆ เกินกว่าโหลดงานที่จะรับไหวได้ ทำให้พนักงานรู้สึกเหนื่อย Burnout ฟีดแบ็กไปก็ไม่ได้รับการตอบกลับ ทางเดียวที่จะหลุดออกจากวงจรนี้ได้จึงเป็นการหาลู่ทางใหม่ๆ นั่นเอง

ซึ่งทั้งหมดก็อาจจะเรียกได้ว่า เป็นวิธีการที่เอารัดเอาเปรียบ ใจร้ายกับคนทำงานอย่างถึงที่สุด นอกจากประสิทธิภาพการทำงานจะลดลงจากการถูกทำให้รู้สึกแย่แล้ว สุขภาพจิตของคนทำงานเองก็อาจจะพังไปพร้อมๆ กันเลยด้วย

[ จับได้ว่าโดน Quiet Firing อยู่ พนักงานทำอะไรได้บ้าง? ]

ถ้ากำลังสงสัยว่า สิ่งที่บริษัททำนั้นเข้าข่าย Quiet Firing อยู่รึเปล่า อแมนด้า ฮัดสัน (Amanda Hudson) ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคล เมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา ให้ความเห็นว่า อันดับแรก อย่าเพิ่งด่วนสรุปว่าสิ่งที่นายจ้างทำคือการไล่ออกอย่างเงียบๆ

ถ้าเริ่มรู้สึกว่ามีบางอย่างเปลี่ยนแปลงไปให้เริ่มต้นด้วยบทสนทนาก่อน โดยเป็นการคุยด้วยบทสนทนาแบบปลายเปิด มากกว่าไปด้วยการเสนอข้อโต้แย้งทันที ลองชวนคุยคร่าวๆ ก่อนว่า ด้วยการอธิบายว่าตอนนี้คุณกำลังรู้สึกอย่างไร และสิ่งที่คุณคิดเป็นความตั้งใจของเขาจริงๆ ไหม

ที่สำคัญ ในการพูดคุยทุกครั้งต้องมีการบันทึกหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร สามารถย้อนกลับมาดูได้ อย่างการส่งอีเมลสรุปการพูดคุยเป็นต้น

เพราะหากอนาคตเกิดเหตุการณ์ Quiet Firing ขึ้นมาจริงๆ ตัวพนักงานเองก็จะมีหลักฐานในการเรียกร้อง หรือหากถึงขั้นมีข้อกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องตัวเราเองก็จะได้ใช้สิ่งนี้ในการยืนยันข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้ด้วย

ส่วนในมุมของบริษัทเองผู้เชี่ยวชาญแนะว่า ตอนนี้มีหลายแห่งที่กำลังกังวลเกี่ยวกับเทรนด์ ‘Quiet Quitting’ ซึ่งจริงๆ แล้วองค์กรควรหันมาใส่ใจและโปร่งใสกับคนทำงานให้มากขึ้น โฟกัสที่ปรากฏการณ์ ‘Quiet Firing’ จะดีกว่า

เพราะในระยะยาวการบีบคนให้ออกด้วยวิธีนี้ไม่ได้ส่งผลดีกับองค์กรและตัวคนทำงานเลย โดยเฉพาะกับหัวหน้าทีมที่มีความใกล้ชิดกับคนทำงานระดับ Staff มากที่สุด ที่ต้องทำหน้าที่ในการสอนงาน โค้ชชิ่ง บอกสิ่งที่จำเป็นกับพนักงาน แต่หัวหน้ากำลังทำอะไรอยู่ถึงทำให้บริษัทตัดสินใจใช้วิธีการแบบนี้กับคนทำงาน

ฉะนั้น องค์กรต้องโฟกัสให้ถูกจุด ต้องจริงใจกับคนทำงานด้วย

อ้างอิง:

https://www.bloomberg.com/news/articles/2022-09-02/quiet-quitting-backlash-spotlights-bosses-quiet-firing-employees

https://www.businessinsider.com/what-is-quiet-firing-workers-quiet-quitting-debate-2022-8

https://nypost.com/2022/09/02/being-quietly-fired-more-common-than-quiet-quitting-expert/

Move Aside Quiet Quitting—Quiet Firing Is the Latest Workplace Trend

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า