SHARE

คัดลอกแล้ว

การลงทุนที่เปรียบเสมือน ‘ห่านทองคำ’ ที่ลงทุนไปแล้วก็จะคอยสร้างเงินให้กับเราไปเรื่อยๆ คงจะหนีไม่พ้น ‘อสังหาริมทรัพย์’

แต่ด้วยสภาวะดอกเบี้ยที่กำลังอยู่ในระดับสูง ณ ขณะนี้ ก็อาจจะทำให้ต้นทุนทางการเงินสำหรับการกู้ยืมเพื่อสร้างอสังหาริมทรัพย์ของตัวเองค่อนข้างตึงตัว 

ยังไม่รวมค่าบำรุงรักษาเมื่อเวลาผ่านไปสามปีห้าปี ค่าเสียโอกาส การบริหารจัดการเงินสดหากไม่มีผู้เช่า ปัญหาการทวงถามค่าเช่าหากได้ผู้เช่าที่ไม่ดี ฯลฯ

[ กอง REIT คืออะไร ]

ในบทความนี้ เราจะพาผู้อ่านไปทำความรู้จักกับกองทุนอสังหาริมทรัพย์อย่างกองรีท (REIT) หรือชื่อเต็มๆ ว่า ‘ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์’ (Real Estate Investment Trust: REIT)

การลงทุนผ่านกอง REIT จะช่วยนำเงินของเราไปลงทุนในอสังหาริมทรัพย์รูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาคารสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โรงแรม หรือแม้แต่นิคมอุตสาหกรรม และจะนำรายได้ค่าเช่ามาแบ่งให้เราตามสัดส่วนที่ลงทุน

การลงทุนในกอง REIT ยังเป็นการเปิดโอกาสให้นักลงทุนทั่วไปสามารถเข้าถึงการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เล็ก-ใหญ่ได้ โดยที่ไม่ต้องเป็นเจ้าของสินทรัพย์โดยตรง

นอกจากนี้ ผู้ลงทุนยังไม่ต้องคอยกังวลว่า จะมีผู้เช่าหรือไม่ จะต้องจ่ายค่าบำรุงรักษาอย่างไร เพราะจะมีผู้ดูแลสินทรัพย์ (Trustee) คอยบริหารจัดการเกี่ยวกับอสังหาฯ ก้อนนั้นๆให้ 

[ กอง REIT เหมาะกับใคร ]

กอง REIT เหมาะกับ ‘นักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนที่มั่นคงและสม่ำเสมอ’ เพราะกอง REIT มักมีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ในพื้นที่ที่ค่อนข้างมั่นคงเป็นหลัก

ทำให้มีรายได้จากค่าเช่าค่อนข้างสม่ำเสมอ ซึ่งนำผลตอบแทนจากค่าเช่ามาจ่ายให้กับผู้ถือหน่วย อย่างสม่ำเสมอในทุก 1 เดือน 3 เดือน หรือ ทุกไตรมาสเช่นกัน ขึ้นกับรายละเอียดของแต่ละกอง

นอกจากนี้ ยังเหมาะกับ ‘นักลงทุนที่ต้องการกระจายการลงทุนในพอร์ต’ โดยกอง REIT ช่วยให้นักลงทุนกระจายการลงทุนไปยังอสังหาริมทรัพย์ได้สะดวกขึ้น ไม่จำเป็นต้องดูแล หรือบริหารจัดการเอง

อีกกลุ่มหนึ่งก็คือ ‘นักลงทุนที่พอร์ตลงทุนยังเล็ก’ แต่ต้องการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ชิ้นใหญ่ เช่น ห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงานให้เช่า คลังสินค้า ฯลฯ ซึ่งต้องอาศัยการลงทุนผ่านกอง REIT เพื่อเป็นเจ้าของสินทรัพย์

[ ลงทุน REIT เสี่ยงแค่ไหน ]

การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ผ่านกอง REIT ดูเหมือนจะมีข้อดีเต็มไปหมด ทั้งรายได้ที่สม่ำเสมอ การไม่ต้องบริหารจัดการทรัพย์สินเองให้เครียด การมีผู้เช่าที่ค่อนข้างแน่นอน ฯลฯ

แต่การลงทุนยังไงก็หนีไม่พ้นความเสี่ยงอยู่ดี ซึ่งกอง REIT เองก็มีความเสี่ยงเช่นกัน อาทิในช่วงโควิด-19 ที่หลายกองจำเป็นต้องลดค่าเช่าเพื่อช่วยเหลือผู้เช่า หรือบางพื้นที่ผู้เช่าขแไม่เช่าต่อ ก็อาจทำให้ไม่มีเงินไปจ่ายผลตอบแทนให้กับนักลงทุน

อีกหนึ่งความเสี่ยงเมื่อเทียบกับสินทรัพย์อื่นๆ คือ โอกาสเติบโต แม้กอง REIT จะมีรายได้ที่แน่นอน แต่หากเทียบกับหุ้นที่ราคาจะสามารถปรับตัวขึ้นได้ตามผลประกอบการนั้น

ดูเหมือนว่า ราคา NAV หรือราคาหน่วยลงทุนของกอง REIT มักจะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ทำให้นักลงทุนเสียโอกาสในการทำกำไรจากการเพิ่มขึ้นของราคาสินทรัพย์ (Capital Gain)

[ Freehold vs Leasehold ]

นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งความเสี่ยงสำคัญที่ต้องเข้าใจ คือ รูปแบบการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งแบ่งเป็น ‘Freehold’ และ ‘Leasehold’

โดย Freehold หมายถึง นักลงทุนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตลอดไป ไม่มีวันหมดอายุ ส่วน Leasehold หมายถึง นักลงทุนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แค่ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น 20-30 ปี ก่อนส่งคืนเจ้าของเดิม

เวลาที่กอง REIT แบบ Leasehold ใกล้ครบอายุสัญญา ราคาของหน่วยการลงทุนก็จะปรับตัวลงตามระยะเวลาที่เหลือ สะท้อนว่ากอง REIT นั้นๆ ใกล้จะหมดมูลค่าแล้ว ทำให้นักลงทุนที่ไม่เข้าใจอาจขาดทุนและเสียหายได้

อย่างไรก็ตาม กอง REIT ที่มีศักยภาพหลายกองมักกระจายการลงทุนไว้ทั้งในส่วนของ Freehold และ Leasehold เช่น Freehold 60% และ Leasehold 40% หรือมีการเพิ่มทุนต่อเนื่องเพื่อรักษามูลค่ากองทุนเอาไว้

[ โอกาสลงทุนกอง REIT ]

นอกจากผลตอบแทนจากการปล่อยเช่าพื้นที่จ่ายให้นักลงทุนอย่างสม่ำเสมอ กอง REIT ยังเป็นอีกหนึ่งสินทรัพย์ที่ผลตอบแทนสามารถสู้เงินเฟ้อได้ (Inflation Hedge) จากค่าเช่าที่ปรับขึ้นทุกปี

แม้ว่าช่วงนี้อัตราดอกเบี้ยโลกจะยังเป็นขาขึ้น แต่จากการส่งสัญญาณของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เราก็พอจะมองเห็นเทรนด์แล้วว่า ดอกเบี้ยขาขึ้นได้ผ่านจุดพีคไปแล้ว และกำลังจะเข้าสู่ภาวะดอกเบี้ยขาลงในปีหน้า

นั่นทำให้ส่วนต่างผลตอบแทน (Yield Gap) ระหว่างดอกเบี้ยนโยบายกับดอกเบี้ยของกองรีทถ่างขึ้น กล่าวคือ ดอกเบี้ยนโยบายลดลง แต่ดอกเบี้ยของกอง REIT กลับเพิ่มขึ้น จูงใจให้นักลงทุนเข้ามาลงทุน ราคาหน่วยลงทุนก็ปรับตัวขึ้นตาม

ดังนั้น หากใครที่กำลังมองหาการลงทุนในกอง REIT แล้วอยากจะเข้าในช่วงที่ราคากองยังไม่สูงมาก ต้องรีบคว้าโอกาสในช่วงนี้เอาไว้แล้ว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า