SHARE

คัดลอกแล้ว

ทั่วโลกกำลังจับตามองความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และทันทีที่รัสเซียเข้าปฏิบัติการทางทหารในยูเครน ราคาน้ำมัน หุ้น บิทคอยน์ก็ถึงจุดวิกฤต 

หากใครตามข่าวต่างประเทศช่วงนี้ก็จะเห็นว่ายุโรปและสหรัฐฯ ต่างก็ใช้มาตรการคว่ำบาตรหน่วยงานและภาคส่วนที่สำคัญของเศรษฐกิจ เพื่อตอบโต้รัสเซีย

โดยหนึ่งในไพ่ใบสำคัญของฝั่งสหรัฐและยุโรปคือการตัดรัสเซียออกจากระบบ SWIFT ซึ่งถ้าทำจริงๆ ก็ไม่ต่างจากการตัดรัสเซียออกจากระบบธนาคารทั่วโลกเลยทีเดียว

SWIFT คืออะไร สำคัญกับรัสเซียยังไง และจะเป็นอย่างไรถ้ารัสเซียถูกตัดออกจากระบบจริงๆ TODAY Bizview จะชวนมาเจาะลึกกันในบทความนี้ 

[SWIFT เสาหลักการเงินระหว่างประเทศ]

SWIFT หรือ สมาคมโทรคมนาคมทางการเงินโลก ย่อมาจาก Society for Worldwide Interbank Financial Telecommunication เป็นระบบที่สร้างมาใช้แทนที่ของเดิมอย่าง telex ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1973 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศเบลเยียม 

หน้าที่หลักของ SWIFT คือเป็นตัวกลางในการโอนเงินระหว่างประเทศ โดยตอนนี้มีสถาบันการเงินกว่า 11,000 แห่งใช้บริการชำระเงินผ่านระบบ SWIFT ครอบคลุมการใช้งานใน 200 ประเทศ เรียกได้ว่า SWIFT เป็นเสมือนเสาหลักของระบบการเงินของโลกเลยทีเดียว

วิธีการทำงานของ SWIFT คือ เป็นตัวกลางรับส่งข้อมูลการโอนเงินระหว่างประเทศ ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมของธนาคารไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไหน 

เฉพาะปี 2021 ที่ผ่านมา มีการส่งข้อมูลทางการเงินระหว่างกันบนระบบ SWIFT ถึง 42 ล้านครั้งต่อวัน ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลคำสั่งซื้อ, การยืนยันการชำระเงิน การค้า และการแลกเปลี่ยนสกุลเงิน

SWIFT มีการกำกับดูแลและควบคุมโดยธนาคารแห่งชาติของเบลเยียม และตัวแทนจากระบบธนาคารกลางสหรัฐ, ธนาคารแห่งอังกฤษ, ธนาคารกลางยุโรป, ธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น และธนาคารกลางรายใหญ่อื่นๆ 

SWIFT เป็นเพียงตัวกลาง ไม่มีระบบฝากเงิน ไม่มีการถือเงินไว้ การควบคุมดูแลจึงมีลักษณะที่ต่างจากธนาคารทั่วๆ ไป 

[ผลกระทบหากรัสเซียโดนบล็อกจาก SWIFT]

ทันทีที่ยุโรปขู่จะดำเนินการบล็อกรัสเซียจาก SWIFT นักการเมืองอาวุโสของรัสเซียก็ออกมาตอบโต้ว่า “หากรัสเซียถูกตัดการเชื่อมต่อจาก SWIFT สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เราจะไม่ได้รับเงินจากต่างประเทศ แต่ผู้ซื้อประเทศในยุโรปก็จะไม่ได้รับสินค้าสำคัญอย่าง น้ำมัน ก๊าซ โลหะ เช่นกัน” 

สมาชิกรัฐสภารัสเซียบางคนถึงกับประกาศกร้าวเลยว่า การคว่ำบาตรของ SWIFT เท่ากับการประกาศสงคราม

เมื่อดูจากท่าทีข้างต้น ก็อาจตีความได้ว่ารัสเซียเองก็ไม่อยากให้ตัวเองถูกถอดออกจาก SWIFT เหมือนกัน 

หากสถานการณ์บานปลาย จนรัสเซียโดนบล็อกจริงๆ สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นคือ รัสเซียจะถูกตัดออกจากธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศส่วนใหญ่ กระทบผลกำไรจากการผลิตน้ำมันและก๊าซแน่นอน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 40% ของรายได้ของประเทศ

Carnegie Moscow Center แหล่งวิเคราะห์เชิงลึกเกี่ยวกับรัสเซียและประเทศในอดีตสหภาพโซเวียต ได้ประมาณการผลกระทบว่า การคว่ำบาตรของ SWIFT จะทำให้ GDP ของรัสเซียลดลง 5% 

ครั้งหนึ่งอิหร่านเคยถูกถอดออกจาก SWIFT มาแล้วในปี 2012  เนื่องจากโดนคว่ำบาตรจากโครงการนิวเคลียร์ ผลจากการคว่ำบาตรครั้งนั้นทำให้อิหร่านสูญเสียรายได้จากการส่งออกน้ำมันเกือบครึ่งหนึ่ง กระทบ 30% ของการค้าต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม การถอดรัสเซียออกจาก SWIFT นั้น ไม่สามารถทำได้ในทันที เพราะต้องเข้ากระบวนการพิจารณาให้สหภาพยุโรป รวมถึงอีกหลายๆ ประเทศผ่านมาตรการคว่ำบาตรเสียก่อน 

[การคว่ำบาตรของ SWIFT อาจไม่เกิดขึ้น]

แม้เหล่านักวิเคราะห์จะคาดการณ์ว่าการคว่ำบาตรของ SWIFT นั้นเป็นไพ่ใบสำคัญสู้กับรัสเซียได้  แต่ผู้เชี่ยวชาญนโยบายบางคนก็ชี้ว่ามันดูเป็นท่าทีที่เกินเหตุไปหน่อย เพราะถ้าจะคว่ำบาตรรัสเซียจริงๆ สู้พุ่งเป้าไปที่ธนาคารรัสเซียเลย น่าจะตรงเป้ากว่าการถอดรัสเซียออกจาก SWIFT 

นอกจากนี้ รัสเซียไม่ใช่ผู้เดียวที่จะเจอผลกระทบหากโดนถอดออกจาก SWIFT แต่สหรัฐและเยอรมนีก็โดนด้วย เพราะธนาคารของทั้งสองประเทศใช้ SWIFT ในการสื่อสารกับธนาคารรัสเซียบ่อยที่สุด 

ที่สำคัญ ธุรกรรมบน SWIFT ส่วนใหญ่ยังชำระเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ เป็นจุดสำคัญที่ช่วยให้สหรัฐฯ มีอิทธิพลอย่างมากต่อเศรษฐกิจโลก 

ส.ส.สหรัฐฯ บางคน ก็มีแนวคิดอยากให้สหรัฐฯ เริ่มคว่ำบาตรรัสเซียจาก SWIFT ทันที (เหมือนอย่างที่เคยทำสำเร็จมาแล้วตอนกดดันอิหร่าน) แต่ที่ผ่านมา ทั้งฝั่งสหรัฐฯและยุโรป ต่างเลือกใช้มาตรการอื่นแทน เช่น คว่ำบาตรไปที่ธนาคาร บุคคลในรัฐบาล และนักธุรกิจที่เกี่ยวข้องโดยตรง 

Reuters ล่าสุดรายงานโดยอ้างอิงคำพูดจากประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ว่า สหรัฐฯและยุโรปจะยังไม่ใช้มาตรการคว่ำบาตรจาก SWIFT เพราะการคว่ำบาตรธนาคารตรงๆ นั้นให้ผลมากกว่า 

ด้าน โอลาฟ ชอลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี บอกด้วยว่า การคว่ำบาตรจาก SWIFT ยังไม่ใช่ทางเลือกที่จะใช้ในตอนนี้ 

จนถึงตอนนี้ มาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจที่ได้เริ่มไปแล้วคือ 

  • สหรัฐฯ คว่ำบาตรธนาคารใหญ่ VEB และ PSB ธนาคารของกองทัพรัสเซีย
  • ยุโรปขึ้นบัญชีดำนักการเมือง, สมาชิกสภานิติบัญญัติ และเจ้าหน้าที่ของรัสเซีย
  • อังกฤษคว่ำบาตรธนาคารรัสเซีย 5 แห่งและนักธุรกิจรัสเซียจำนวนหนึ่ง
  • เยอรมนีระงับการออกใบอนุญาตโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ‘นอร์ด สตรีม 2’ (Nord Stream 2) 
  • ออสเตรเลียเตรียมจำกัดการเดินทางและคว่ำบาตรพลเมืองหรือเจ้าหน้าที่รัสเซียที่มีส่วนเกี่ยวข้อง

ผู้อ่านสามารถอ่านสรุปเรื่องราวรัสเซีย-ยูเครนฉบับเข้าใจง่ายได้ที่นี่ > Explainer สงครามโลกครั้งใหม่? สรุปยูเครน VS รัสเซีย แบบเข้าใจง่าย  

อ่านมุมมองรัสเซีย-ยูเครนกับผลกระทบเศรษฐกิจและการลงทุนไทยได้ที่นี่ > ความเห็น รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการอิสระด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง 

ที่มา : Washington Post, CNN, Protocol, Reuters, Workpoint TODAY

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า