SHARE

คัดลอกแล้ว

ในรอบปีที่ผ่านมา กระแสการเลิกจ้างหรือ ‘Layoff’ เกิดขึ้นกับตลาดแรงงานทั่วโลก ด้วยปัจจัยเรื่องสภาวะเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ที่กลายเป็นแผลเป็นอันยาวนาน ส่งผลกระทบมาถึงภาคธุรกิจและภาคประชาชนในฐานะคนทำงานด้วย

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมากับการตัดสินใจปลดพนักงานครั้งใหญ่ในแวดวงบริษัทเทคโนโลยีหรือ ‘Tech company’ ไม่ว่าจะเป็นเมตา (Meta) บริษัทแม่ของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยักษ์ใหญ่อย่างเฟซบุ๊ก (Facebook) ที่ตัดสินใจปลดพนักงาน 11,000 คนในคราวเดียว

ไปจนถึงทวิตเตอร์ (Twitter) รวมถึงเทคคอมปานีเจ้าอื่นๆ ในซิลิคอน แวลลีย์ (Silicon Valley) ที่ที่เคยเป็นเป้าหมายสูงสุดในการทำงานของใครหลายคน กระทั่งสำนักข่าวเดอะวอชิงตัน โพสต์ (The Washington Post) ได้ให้คำนิยามกับปรากฏการณ์ปลดคนครั้งใหญ่ระลอกนี้ว่า ‘ฤดูแห่งการผลิบานของบริษัทเทคฯ ได้จบลงแล้ว’

เมื่อสถานการณ์การปลดคนอาจเกิดขึ้นกับใคร เมื่อไรก็ได้ แม้กระทั่งคนทำสายเทคฯ ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความต้องการสูงเป็นอันดับต้นๆ

หากการ Layoff เกิดขึ้น เราจะมีวิธีรับมือ-เตรียมพร้อมกับสิ่งที่เกิดขึ้นต่อไปอย่างไรได้บ้าง TODAY Bizview จะพาคุณทบทวนก่อนที่จะตัดสินใจร่อนเรซูเม่เพื่อเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง

[ อย่าผูกคุณค่าความเก่งของตัวเองไว้ที่การ Layoff ครั้งนี้ ]

เมื่อเราคือผู้ถูกเลือกในการปลดคน สิ่งที่เลี่ยงไม่ได้แน่ๆ ก็คือ การกลับมาสะท้อนย้อนคิดกับตัวเองว่า ทำอะไรผิดพลาดไป เราไม่เก่งหรือเปล่าถึงกลายเป็นตัวเลือกในการลดต้นทุนของบริษัท ทำไมจึงเป็นเรา และคนอื่นๆ ที่ได้ไปต่อเขาเก่งกว่าเราใช่ไหม?

ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว การ Layoff ไม่ได้ถูกวัดผล-ชั่งน้ำหนักด้วยศักยภาพของคนทำงาน หากแต่เป็นภาพสะท้อนถึงการขาดการวางแผนที่เหมาะสมของบริษัทในช่วงสภาวะเศรษฐกิจถดถอย รวมถึงการเปลี่ยนแปลงในเชิงกลยุทธ์ของบริษัทที่ไม่สอดรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

การถูกเลิกจ้างไม่ได้แปลว่าทักษะการทำงานของเราด้อยกว่าใครแต่อย่างใด หากจะก้าวต่อไปข้างหน้า ลองบูสต์พลังงานด้วยการพูดคุยกับคนหัวหน้าเก่าของคุณก็ได้ เพื่อให้เขาสะท้อนข้อดีและทักษะที่คุณอาจมองข้ามจากตัวคุณเองไป เพื่อที่จะได้เก็บเกี่ยว ไปต่อยอดในการสมัครงานครั้งต่อไป

[ ถามตัวเองว่าต้องการอะไร แล้วเขียน ‘ความสำเร็จ’ ขึ้นซะ ]

หลายคนที่ประสบกับการ Layoff มา มักจะเกิดอาการวิตกกังวล ยิ่งคนที่มีภาระค่าใช้จ่ายมาก ยิ่งต้องเร่งหางานให้ได้เร็วที่สุด ซึ่งจุดนี้เป็นเรื่องที่ต้องคิดทบทวนก่อนตัดสินใจเปลี่ยนงานอยู่เหมือนกัน เพราะอาจส่งผลกับอนาคตคุณได้ด้วย

โดนปลดกะทันหันไม่ได้แปลว่างานต่อไปจะเป็นงานอะไรก็ได้ ถามตัวเองดีๆ ก่อนว่า เราต้องการงานแบบไหนต่อไป เป็นบริษัทขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่

อยากไปต่อใน Career path เดิมหรือย้ายสายงาน งานแบบไหนที่แมตช์กับความต้องการในตอนนี้มากที่สุด รวมถึงความสามารถของคุณในตอนนี้เพียงพอกับบทบาทที่มองไว้หรือไม่

เว็บไซต์ Harvard Business Review แนะนำให้ลิสต์ความสำเร็จออกมาด้วยวิธีคิดที่เรียกว่า ‘CARL’ ย่อมาจากคำว่า Context, Action, Result และ Learning และ ‘START’ ที่มาจากคำว่า Situation, Task, Action, Result และ Takeaways

การลองอธิบายความสำเร็จด้วยการ Short-list จากนิยามตั้งต้นเหล่านี้จะช่วยให้เราจัดหมวดหมู่ความสำเร็จที่ผ่านมาได้ดีขึ้น ทำให้เข้าใจทักษะที่มี รวมถึงทำให้ความพร้อมสำหรับการสัมภาษณ์งานครั้งใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นเป็นไปอย่างราบรื่น

การเช็กลิสต์แบบนี้ไม่เพียงแต่จะทำให้คุณได้กางทักษะของตัวเองออกมาอย่างเป็นระเบียบเท่านั้น แต่ยังทำให้ความกระวนกระวายใจที่เกิดขึ้นภายหลังถูก Layoff ได้สงบลงจากการลงมือเขียนไปขณะเดียวกันด้วย

[ หางานที่สนใจ แต่อย่าเพิ่งใจเร็วสมัคร ]

หลังจากทบทวน ลิสต์ทุกอย่างออกมาแล้ว เปิดเว็บหางานแล้วลองนำสองสิ่งมาแมตช์กัน ได้แก่

1.คีย์เวิร์ดงานที่คุณกำลังมองหา

2.คีย์เวิร์ดความสามารถของคุณ

งานที่คุณมองหาอยู่ตรงกับคุณสมบัติของคุณหรือเปล่า ตำแหน่งงานที่คุณโน้ตไว้ว่า ฉันจะยื่นสมัครกับที่นี่แหละ! คุณคิดว่าความสามารถและทักษะที่มีเพียงพอหรือเป็นไปตามที่บริษัทกำลังมองหาหรือไม่

และในขณะเดียวกันก็อย่าลืมที่จะวางตัวเองให้เป็น ‘ผู้เลือก’ มากกว่า ‘ผู้ถูกเลือก’ มองให้ไกลไปอีกสเต็ปว่า งานในตำแหน่งนี้ กับบริษัทแห่งนี้จะให้อะไรกับคุณเมื่อได้เข้าไปทำบ้าง ทั้งเราและเขาสามารถเกื้อกูลและให้ประโยชน์ต่างตอบแทนซึ่งกันและกันได้มากน้อยแค่ไหน

การถูกเลย์ออฟไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต และแน่นอนว่าไม่ใช่ความล้มเหลวของตัวคุณเองเช่นกัน มีอีกหลากหลายปัจจัยมากมายที่คุณเป็นผู้ถูกเลือก

โดยที่คนทำงานระดับ Staff เองก็ไม่อาจรู้เหตุผลตื้นลึกหนาบางที่แท้จริงได้ แต่หากพิจารณาจากที่ ‘Big Tech’ ยักษ์ใหญ่หลายเจ้าออกมาให้เหตุผลกันนั้น เราก็พอจะอนุมานได้ว่า พนักงานหรือผู้ที่ถูกเลือกให้จากไปไม่ใช่ผู้ร้ายในเรื่องนี้อย่างแน่นอน มั่นใจในความสามารถของตัวเองเข้าไว้ เพื่อไปต่อกับสิ่งดีๆ ที่รออยู่ข้างหน้าดีกว่า

อ้างอิง:

https://hbr.org/2022/11/what-to-do-after-being-laid-off

https://hbr.org/2015/07/how-to-bounce-back-after-getting-laid-off

What to Do When You Get Laid Off

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า