Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

“สองคืนแล้วที่พวกเราได้รับความบันเทิงจากรถพ่วงที่ติดตั้งระบบแสงเสียง ยังมีเปียโน Steinway หนึ่งหลัง แม่คงหัวเราะแน่ถ้าได้เห็นมัน เพราะมันเล็กมากมีสีเขียวเหมือนรถจี๊ป เราได้รวมตัวรอบเปียโนเพื่อร้องเพลง  ผมได้นอนหลับพร้อมกับรอยยิ้มและฮัมเพลงตลอดคืน แม้จะไม่รู้ว่าพรุงนี้จะมีชีวิตอยู่หรือไม่”

จดหมายถึงครอบครัวของ “เคนเนทท์ คราเนส”  พลทหารอเมริกันเขียนเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 1943 ในค่ายทหารระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งอีกไม่ถึงสัปดาห์เจ้าตัวก็เสียชีวิตเพราะกระสุนรถถังของนาซีเยอรมัน

เรื่องราวความสุขเล็กๆจากดนตรีท่ามกลางสมรภูมิรบที่เกิดขึ้นเมื่อกว่า 70 ปีก่อน

มีที่มาที่ไปจากนโยบายของสหรัฐช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กำหนดให้สินค้าทุกชนิดที่ต้องใช้โลหะ ต้องถูกระงับการผลิต เพราะโลหะจำเป็นต่อการผลิตอาวุธสงคราม ทำให้หลายอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบไปตามๆกัน

เฉกเช่นเดียวกับโรงงานผลิตเครื่องดนตรีก็ไม่พ้นผลกระทบนี้

บางโรงงานต้องปรับตัวไปผลิตสินค้าให้กองทัพ หรือรอให้สงครามสิ้นสุดค่อยผลิตต่อ

แต่ให้ดีจริงๆถ้าไม่อยากหมดตัวคือเลิกทำธุรกิจไปเลย!!

ทหารสหรัฐร้องเพลงสังสรรค์กันในค่ายช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

 

ในช่วงเวลาที่ยากลำบากเหลือเกินสำหรับธุรกิจดนตรี แต่ Steinway & Sons” หนึ่งในผู้ผลิตเปียโนระดับยักษ์ใหญ่ ที่มีกิจการมานาน 90 ปี  ยังกัดฟันสู้ไม่ยอมล้มเลิกธุรกิจง่ายๆ แม้ว่าต้องปรับตัวผลิตสินค้าทางทหารให้กับกองทัพ โดยแทบไม่มีกำไรเลย แต่ก็จำเป็นเพื่อพยุงให้ธุกิจยังต่อลมหายใจไปได้

กระทั่งปลายปี 1941 ในที่สุด  Steinway & Sons ก็ได้รับรางวัลจากความอดทน เมื่อมีคำขอร้องจากกองทัพสหรัฐให้ผลิตเปียโนเพื่อให้หน่วยดุริยางค์ทหารใช้แสดงดนตรีในแนวหลังพื้นที่สนามรบ

“มันเหมือนของขวัญจากพระเจ้า ที่ทำให้ผมและครอบครัวเหมือนกลับมามีความหวังอีกครั้ง เพราะจะได้ผลิตสินค้าที่เรารักหมดหัวใจ”  ธีโอดอร์ ไตน์เวย์  ประธานรุ่นที่ 4 ของ Steinway & Sons บรรยายความรู้สึกเมื่อโรงานจะได้กลับมาผลิตเปียโน

เดือนมิถุนายน 1942  ‘พอล ฮูเบอร์’ ผู้จัดการโรงงาน  Steinway & Sons  ได้ออกแบบเปียโนขนาดเล็กสูงไม่เกิน 40 นิ้วและหนัก 455 ปอนด์(206 กิโลกรัม) สามารถใช้ทหาร 4 นายยกเคลื่อนย้ายได้

มีการใช้น้ำยากำจัดป้องกันปลวกและแมลง พร้อมกับทากาวที่กันน้ำป้องกันความชื้น

แป้นกดเสียงปุ่มงาช้างทำมาจากเซลลูลอยด์สีขาว เพื่อปกป้องสภาพภูมิอากาศในเขตร้อนชื้น

ใช้ขดลวดสายเบสที่ผลิตขึ้นจากเหล็กอ่อนแทนทองแดง ใช้โลหะเพียง 33 ปอนด์ประมาณ 1ใน10 ของเปียโนทั่วไป

มีการลงสีตามสีประจำของแต่ละเหล่าทัพ (เขียวมะกอก,น้ำเงิน และเทา)

ซึ่งฉายาของมันคือ Victory Verticals” หรือเรียกอีกอย่างว่า G.I. pianos”

“Victory Verticals” หรือเรียกอีกอย่างว่า “G.I. pianos”

 

เจ้า G.I. pianos  ได้ถูกบรรจุลงในลังไม้เอาไปใส่เครื่องบินทิ้งระเบิด B-17(ถูกขนมาพร้อมกับระเบิดนั่นแหละ) จากนั้นผูกติดกับร่มชูชีพรวมทั้งสิ้นประมาณ 2,500 หลังแล้วปล่อยทิ้งแบบแอร์ดรอปให้ทหารอเมริกันในสนามรบถึง 3 ทวีป

บทบาทของเปียโนเหล่านี้กลายเป็นสิ่งสำคัญของทหารเพราะช่วยลดภาวะความตึงเครียดป้องกันไม่ให้ทหารเกิดอาการต่างๆจากภัยสงครามที่น่ากลัวและการคิดถึงบ้านเกิดเมืองนอน อีกทั้งยังช่วยในการส่งเสริมกิจกรรมที่ช่วยจรรโลงจิตใจ เช่นการล้อมวงสนทนา,ความบันเทิงหรือการรสวดมนตร์ภาวนา ซึ่งลดพฤจิกรรมที่อาจทำให้ทหารทำเรื่องที่ผิดวินัย

แต่ใช่ว่าทุกฝ่ายจะเห็นพ้องด้วยกับนโยบายเปียโนสู่สนามรบเนื่องด้วยราคา G.I. pianos  ตกอยู่หลังละ 486 เหรียญ ซึ่งถือว่าสูงกว่าเปียโนทั่วไปในเวลานั้น

จึงมีคำวิจารณ์ลักษณะกระทบกระเทียบของสื่อมวลชนบางส่วนที่ไม่เห็นด้วย

“ทำไมต้องซื้อเปียโนราคาแพงกว่าเปียโนปกติทั่วไปให้ทหาร ลองคิดดูสิเราก็ไม่ซื้อรถยนต์โรสรอยเพื่อไปต่อสู้ศัตรูในสนามรบอยู่แล้ว” 

แต่ทาง Steinway ก็ตอกกลับอย่างแสบสันว่า “มันก็เหมือนกับต้องซื้อถุงเท้าทีทำจากขนสัตว์ให้ทหาร เพราะมันทนทานและใช้งานได้นาน รวมถึงทนต่อสภาพอากาสหนาวได้เป็นอย่างดีนั่นแหละ”

G.I. pianos  ถูกบรรจุลงในลังไม้ปใส่เครื่องบินทิ้งระเบิด B-17 แล้วโยนลงมาให้ตามค่ายทหาร

 

เปียโนในค่ายสนามรบของ Steinway & Sons  ได้รับการตอบรับที่ดีต่อเนื่อง ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะสิ้นสุดลง ยังมีการผลิตเพิ่มอีก 5,000 หลัง ครึ่งหนึ่งเอาไปให้กองทัพส่วนอีกครี่งหนึ่งขายให้กับสถาบันการศึกษา,องค์กรศาสนา,โรงเรียน และสถานที่ราชการรวมถึงชุมชนสาธารณะ โดยการการผลิต G.I. pianos  มีอยู่จนถึงปี 1946

 หลังสงครามโลกสิ้นสุดลง เปียโน Steinway ยังคงรับใช้กองทัพสหรัฐเป็นเวลายาวนาน

เมื่อครั้งที่เรือดำน้ำที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ USS Thomas A. Edison ถูกสร้างขึ้นในปี 1961 เปียโน Steinway ยังมีการวางไว้ประจำที่รวมพล จนกระทั่งถูกปลดประจำการไม่ต่างจากอาวุธในกองทัพชนิดอื่นๆ ในปี 1983

ขณะที่นักดนตรีที่เป็นมือเปียโน หากมีกำลังทรัพย์พอ

น้อยคนนักที่ไม่อยากได้เปียโน Steinway & Sons  ไว้ในครอบครอง

 

เขียนและเรียบเรียง

โดย ธนรัชต์ คูสมบัติ

อ้างอิงที่มา
https://www.amusingplanet.com/2019/07/that-time-when-america-air-dropped.html
https://www.questia.com/magazine/1G1-560925626/88-keys-to-victory-winning-world-war-ii-took-tanks
https://www.steinway.com/news/features/steinway-sons-victory-vertical
https://www.victoryvertical.com/
https://www.steinway.com/news/features/victory-verticals

 

 

 

 

 

 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า