Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ผอ.องค์การอนามัยโลกย้ำ ยังไม่ตัดทุกความเป็นไปได้เกี่ยวกับต้นตอไวรัสโควิด-19 หลังส่งทีมผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่เมืองอู่ฮั่น จุดเริ่มต้นการแพร่ระบาด ขณะที่งานวิจัยล่าสุดพบไวรัสคล้ายโควิด-19 ในค้างคาวที่ประเทศไทย

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2564 เว็บไซต์อัลจาซีรารายงานอ้างการแถลงข่าวของนายทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ระบุว่า องค์การอนามัยโลกยังไม่ตัดความเป็นไปได้ของทุกสมมุติฐานที่กล่าวถึงต้นตอของไวรัสโควิด-19 ที่ทำให้เกิดภาวะการระบาดลุกลามไปทั่วโลก

โดยการแถลงข่าวในครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากที่องค์การอนามัยโลกส่งผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่เมืองอู่ฮั่นของจีน ซึ่งถูกระบุว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 เมื่อเดือนธันวาคม 2562 ซึ่งผอ.องค์การอนามัยโลกยืนยันว่า ภารกิจดังกล่าวแม้จะไม่ได้ตอบทุกคำถามที่สงสัย แต่ก็ทำให้ได้ข้อมูลสำคัญเพื่อทำความเข้าใจที่มาของไวรัสโควิด-19 ได้ต่อไป

ก่อนหน้านี้ทีมผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลกเปิดเผยว่า มีความเป็นไปไม่ได้สูงที่ไวรัสโควิด-19 จะหลุดจากห้องทดลองในเมืองอู่ฮั่น หลังจากที่ผ่านมา ห้องทดลองในเมืองอู่ฮั่นถูกหลายฝ่าย โดยเฉพาะรัฐบาลสหรัฐฯ ในสมัยอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ กล่าวหาว่า อาจเป็นต้นตอทำไวรัสโควิด-19 หลุดออกมาจากห้องแล็บ

ส่วนท่าทีของจีน เว็บไซต์โกลบอลไทม์ส สื่อของทางการจีน รายงานอ้างผู้เชี่ยวชาญชาวจีนและประชาชนในโลกออนไลน์ของจีน ที่เรียกร้องให้องค์การอนามัยโลกทำการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับต้นตอของโรคโควิด-19 โดยเสนอให้องค์การอนามัยโลกขยายขอบเขตการศึกษาให้กว้างขึ้นทั่วโลก เนื่องจากมีหลักฐานว่า ไวรัสโควิด-19 อาจพบมาตั้งแต่ก่อนการระบาดที่เมืองอู่ฮั่น

ขณะเดียวกันเมื่อ 2 วันก่อน เว็บไซต์บีบีซี สื่ออังกฤษ รายงานอ้างการวิจัยที่เพิ่งเผยแพร่ล่าสุดในวารสาร ‘Nature Communications’ ว่า ทีมนักวิทยาศาสตร์ค้นพบไวรัสที่มีลักษณะใกล้เคียงกับไวรัสโควิด-19 ในค้างคาวที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกของไทย พร้อมตั้งสมมุติฐานว่า ไวรัสที่มีส่วนคล้ายกับไวรัสโควิด-19 นี้ น่าจะมีอยู่ในค้างคาวในหลายพื้นที่ของเอเชีย ตั้งแต่ ญี่ปุ่น จีน รวมถึงประเทศไทยด้วย

อย่างไรก็ตาม ดร.สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี รอง ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ให้ความเห็นว่า ไวรัสที่ทีมนักวิจัยพบในค้างคาวไทยนั้น แม้จะมีความใกล้เคียงกับโคโรนาไวรัสถึง 91% แต่ก็เป็นไวรัสที่ไม่สามารถเข้าสู่เซลล์มนุษย์​ได้ ต่างจากค้างคาวของอู่ฮั่นที่มีความใกล้เคียงถึง 96% และสามารถเข้าสู่เซลล์มนุษย์​ได้ด้วย ดังนั้นค้างคาวไทยจึงไม่น่าใช่พาหะของโควิด-19

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า