SHARE

คัดลอกแล้ว

ทางเว็บไซต์ขององค์การอนามัยโลกหรือ WHO ได้มีการเปิดเผยบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ 31 ธันวาคม 2562 จนถึงปัจจุบัน ทาง workpointTODAY จึงขอสรุปย่อมาให้ดังนี้

31 ธันวาคม 2562 – สำนักงานองค์การอนามัยโลกประจำประเทศจีนไปเจอแถลงการณ์ของสำนักงานสาธารณสุขอู่ฮั่น ที่ระบุว่ามีผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งเป็นโรคปอดบวมจากเชื้อไวรัส หน่วยงานสาธารณสุขทั่วโลกที่ทราบข่าวเริ่มติดต่อไปยัง WHO เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

1 มกราคม 2563 – WHO ติดต่อทางการจีนเพื่อขอรายงานเพิ่มเติม และส่งสัญญาณให้หน่วยงานของ WHO เตรียมพร้อมรับมือหากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน

2 มกราคม – WHO ยังไม่ได้ข้อมูลจากทางการจีน จึงได้ส่งคำขอย้ำไปอีกครั้งพร้อมกับเสนอความช่วยเหลือ

3 มกราคม – ทางการจีนส่งข้อมูลให้ WHO

4 มกราคม – WHO แจ้งต่อสาธารณชนว่า พบผู้ป่วยจำนวนหนึ่งในเมืองอู่ฮั่นที่ป่วยด้วยโรคปอดบวมจากเชื้อไวรัสโดยยังไม่ทราบสาเหตุ และกำลังทำการสืบสวนอยู่

5 มกราคม – WHO แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติมรวมทั้งสื่อทั่วโลก และแนะนำให้สังเกตอาการของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่และโรคติดเชื้อทางเดินหายใจเป็นพิเศษ

9 มกราคม – จีนแจ้งว่าโรคนี้เกิดจากไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่

11 มกราคม – WHO แจ้งว่าได้รับลำดับดีเอ็นเอของเชื้อจากจีนแล้ว และทางสื่อจีนได้รายงานว่ามีผู้เสียชีวิตคนแรก

13 มกราคม – กระทรวงสาธารณสุขของไทยรายงาน WHO ว่ามีผลตรวจยืนยันถึงเชื้อโคโรนาไวรัสตัวนี้ในไทย นับเป็นการตรวจพบครั้งแรกนอกสาธารณรัฐประชาชนจีน

14 มกราคม – WHO แถลงต่อสื่อมวลชนว่าเชื้อตัวนี้อาจติดต่อจากคนสู่คนได้ แต่ผลของทางการจีนรายงานว่าไม่พบหลักฐานที่ชัดเจนว่าเชื้อสามารถติดต่อจากคนสู่คนได้

16 มกราคม – กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่นพบผู้ติดเชื้อที่เดินทางกลับมาจากอู่ฮั่น นับเป็นรายที่ 2 ที่พบนอกประเทศจีน

20-21 มกราคม – WHO เดินทางไปอู่ฮั่นเป็นครั้งแรกในการปฏิบัติภารกิจเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดเชื้อ และพบว่ามีหลักฐานชัดเจนว่าเชื้อสามารถติดจากคนสู่คนได้ (แต่ยังไม่ยืนยัน 100%) และเริ่มมีบุคลากรทางสาธารณสุขติดเชื้อแล้ว และพบผู้ป่วยที่สหรัฐอเมริกา 1 ราย

24 มกราคม – พบผู้ติดเชื้อ 3 รายในฝรั่งเศสที่มีประวัติเดินทางไปอู่ฮั่น นับเป็นเคสแรกในยุโรป

29 มกราคม – พบผู้ติดเชื้อรายแรกในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นับเป็นเคสแรกในตะวันออกกลาง WHO ตีพิมพ์บทความเรื่องแนะนำให้ใช้หน้ากากในผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วย

30 มกราคม – มีการยืนยันอย่างเป็นทางการว่าเชื้อตัวนี้ติดจากคนสู่คนได้

4 กุมภาพันธ์ – ผู้ติดเชื้อ 99% ยังอยู่ในจีน ส่วนประเทศอื่นมีการยืนยันติดเชื้อ 176 ราย

11 กุมภาพันธ์ – ประกาศให้เรียกชื่อโรคที่เกิดจากไวรัสโคโรนาตัวนี้ว่า โควิด-19

24 กุมภาพันธ์ – ประกาศให้ทุกประเทศเฝ้าระวังในระดับสูงสุด

25 กุมภาพันธ์ – พบผู้ติดเชื้อรายแรกในอัลจีเรียและอียิปต์ เป็นเคสแรกในทวีปแอฟริกา

27 กุมภาพันธ์ – WHO แนะนำให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสมกับสถานการณ์ของแต่ละคน เนื่องจากกลัวหน้ากากอนามัยมีไม่เพียงพอสำหรับบุคลากรทางแพทย์ (แต่ไม่ได้แนะนำให้คนทั่วไปใส่อุปกรณ์ป้องกัน – ผู้เรียบเรียง)

3 มีนาคม – WHO เรียกร้องให้รัฐบาลและผู้ผลิตหน้ากากอนามัยเพิ่มกำลังการผลิต 40%

7 มีนาคม – จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกครบ 100,000 ราย

9 มีนาคม – WHO ของบสนับสนุนฉุกเฉิน 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2.4 แสนล้านบาท)

11 มีนาคม – WHO ประกาศให้โควิด-19 เป็นการระบาดทั่วโลก (Pandemic) อย่างเป็นทางการ

13 มีนาคม – ยุโรปกลายเป็นศูนย์กลางการระบาดแห่งใหม่แทนที่จีน WHO ได้รับเงินบริจาคกว่า 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากผู้บริจาค 187,000 ราย

30 มีนาคม – WHO ทยอยส่งอุปกรณ์ป้องกันเชื้อเกือบ 3 ล้านชิ้นไปยัง 74 ประเทศที่ต้องการมากที่สุด

4 เมษายน – ตัวเลขผู้ติดเชื้อทั่วโลกแตะ 1 ล้านราย

6 เมษายน – WHO อัปเดตข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องหน้ากาก (แต่ยังคงไม่ได้ระบุให้คนทั่วไปสวมหน้ากาก)

18 เมษายน – WHO ร่วมกับ Global Citizen จัดคอนเสิร์ตออนไลน์เพื่อระดมทุน และได้รับเงินบริจาคทั้งหมด 127.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

30 เมษายน – ผู้อำนวยการ WHO เห็นชอบกับคำแนะนำของคณะกรรมให้ดำเนินการตรวจสอบว่าเชื้อไวรัสมาจากสัตว์ชนิดใด

13 พฤษภาคม – เปิดตัวแอปพลิเคชัน WHO Academy App

5 มิถุนายน – WHO อัปเดตคำแนะนำเรื่องการใส่หน้ากาก โดยแนะนำให้คนทั่วไปที่ไม่สามารถเว้นระยะห่างทางสังคมใส่หน้ากากที่ทำจากผ้า

26 มิถุนายน – หน่วยงาน Access to COVID-19 Tools Accelerator (ACT-Accelerator) ของ WHO ประกาศขอทุนจำนวน 3.13 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ใน 12 เดือนข้างหน้าเพื่อนำไปจัดซื้อชุดตรวจเชื้อ ยกรักษา และวัคซีน

การสรุปย่อนี้ไม่ได้เป็นการนำเหตุการณ์ทุกเหตุการณ์มาลงไว้ หากต้องการข้อมูลโดยละเอียด สามารถติดตามเอกสารฉบับเต็มได้ที่ https://www.who.int/news-room/detail/29-06-2020-covidtimeline

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า