SHARE

คัดลอกแล้ว

ปฏิเสธไม่ได้จริงๆ ว่าทุกวันนี้บรรดามิจฉาชีพ แก๊งคอลเซ็นเตอร์คอยโทรและส่งข้อความ (SMS) หาเรามากกว่าแฟนเสียอีก

แถมบางคนก็กดรับสายและอ่านข้อความโดยที่ไม่รู้ตัวจนถูกหลอกเงินไปก็ไม่น้อยเลย ที่สำคัญมิจฉาชีพยังมีมุขใหม่ๆ สรรหามาหลอกกันได้ไม่เว้นวัน

สถิติในปี 2566 จาก ‘Whoscall’ พบว่าคนไทยตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพวันละ 217,047 ราย มีคนรับสายจากมิจฉาชีพถึง 20.8 ล้านครั้ง และยังถูกหลอกลวงจากข้อความมากกว่า 58.3 ล้านข้อความสูงที่สุดในเอเชียอีกด้วย

ที่สำคัญตัวเลขของเหยื่อยังคงเพิ่มสูงขึ้นจากปี 2565 โดยมีผู้ถูกหลอกจากสายโทรศัพท์เพิ่มขึ้น 22% ข้อความเพิ่มขึ้น 17% มูลค่าความเสียหายสะสมรวมกว่า 53,875 ล้านบาท ซึ่งสะท้อนว่าคนไทยยังหลงกลมิจฉาชีพอยู่

[ Whoscall ผู้ใช้งานทั่วโลก 100 ล้านคน ] 

ด้วยความที่คนไทยยังตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพอยู่เรื่อยๆ หลายๆ คนจึงหาวิธีในการช่วยตรวจสอบเบอร์ก่อนรับสายว่าสายนี้เป็นเบอร์ของมิจฉาชีพหรือไม่ด้วยการติดตั้ง ‘Whoscall’ 

โดย Whoscall เป็นแอปพลิเคชันจากบริษัท Gogolook บริษัท Startup จากฝั่งไต้หวัน เปิดให้บริการในไทยมาแล้วมากกว่า 10 ปี แต่มาได้รับความนิยมและมีผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นมากหลังโควิด-19 เป็นต้นมา

Whoscall มียอดดาวน์โหลดทั่วโลกมากกว่า 100 ล้านดาวน์โหลดแล้วในปัจจุบัน โดยเปิดให้ดาวน์โหลดใช้งานได้ฟรีใน 31 ประเทศทั่วโลก

เป็นที่นิยมทั้งในไต้หวัน เกาหลีใต้ ฮ่องกง ญี่ปุ่น มาเลเซีย บราซิล รวมถึงไทย และยังมีฐานการให้บริการหลักๆ อยู่ใน 7 ประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในเอเชียและบราซิล

[ ไทยขึ้นแท่นตลาดเบอร์ 1 ]

จากยอดดาวน์โหลดทั่วโลกมากกว่า 100 ล้านดาวน์โหลด โดยประเทศที่มีฐานผู้ใช้งานอยู่มากที่สุดอันดับ 1 คือไทย รองลงมาอันดับที่ 2 คือไต้หวัน

ทางด้าน ‘ฐิตินันท์ สุทธินราพรรณ’ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ บริษัท Gogolook ได้เล่าให้ฟังว่า ไทยเป็นประเทศยอดนิยมที่เหล่ามิจฉาชีพชื่นชอบที่จะหาวิธิมาหลอกเงิน

จะเห็นได้ชัดจากสถิติว่ายังมีการถูกหลอกค่อนข้างสูงและยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเป็นปัญหาระดับประเทศที่หลายหน่วยงานให้ความสำคัญในการปราบปรามมิจฉาชีพ

ล่าสุดได้มีเเคมเปญ ‘จับมือเพื่อนรัก ตัดสายมิจร้าย’ (SAVE FRIENDS FROM FRAUD) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ อาทิ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และภาคเอกชน สร้างการรับรู้และภูมิคุ้มกันเพื่อไม่ให้คนไทยโดนหลอกซ้ำอีก

[ มิจฉาชีพเยอะและหลอกเก่งขึ้น ]

ด้วยวิวัฒนาการของกลโกงการหลอกลวงที่มาถึงยุค 5.0 เป็นยุคที่มิจฉาชีพหลอกด้วย AI อาทิ การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงอย่าง AI Deep Fake ในการปลอมตัวตน หรือเก็บและนำข้อมูลส่วนตัวมาหลอกให้ดูน่าเชื่อถือมากขึ้น

โดยจะเริ่มพบเห็นการหลอกในรูปแบบ โทรมาด้วยเสียงของคนที่คุ้นเคยและข้อมูลที่ระบุตัวตนถูกต้อง ซึ่งสามารถทำให้ตกเป็นเหยื่อได้ง่ายยิ่งขึ้น

ในขณะที่ความเสี่ยงต่อการสูญเสียทรัพย์สินยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นในปี 2567 นี้ Whoscall จึงตั้งเป้าที่จะช่วยลดความสูญเสียทางทรัพย์สินจำนวน 2.8 หมื่นล้านบาทจากมิจฉาชีพให้ได้

ซึ่งวิธีที่แก๊งคอลเซ็นเตอร์ยังนิยมใช้หลอกเงิน อันดับ 1 หลอกเข้าเว็บไซต์ปลอม 27% อันดับ 2 หลอกให้โหลดแอปปลอม 20% และอันดับ 3 หลอกให้ช้อปปิ้งออนไลน์ปลอม 8%

[ ใช้ฟรี กับ เสียเงิน ต่างอย่างไร? กำไรมาจากไหน ]

ปัจจุบันผู้ใช้งานส่วนใหญ่ของ ‘Whoscall’ ยังเป็นผู้ใช้งานฟรี (Free User) แต่จะมีผู้ใช้งานที่เป็นพรีเมี่ยม (Premium User) อยู่ในสัดส่วนประมาณ 5% (สัดส่วนของไทยและทั่วโลกใกล้เคียงกัน)

โดยแพ็กเกจพรีเมี่ยม ผู้ใช้งานต้องจ่ายค่าบริการปีละ 599 บาท สามารถใช้งานได้แบบไม่มีโฆษณา อัปเดตฐานข้อมูลอัตโนมัติ และสแกนความปลอดภัยจากลิงก์ที่ส่งมาในรูปแบบ SMS ต่างจากแบบฟรีที่ต้องกดปิดโฆษณาที่เด้งขึ้นมา และต้องคอยอัปเดตฐานข้อมูลด้วยตัวเองบ่อยๆ

ดังนั้น หากสงสัยว่า Whoscall มีรายได้มาจากส่วนไหนเพราะผู้ใช้งานส่วนใหญ่ก็ใช้งานแบบฟรี ก็ต้องบอกว่ารายได้หลักมาจาก 2 ทางคือ 1 รายได้จากโฆษณาแฝงบนแอปพลิเคชั่น และรายได้จากตัวลูกค้าพรีเมี่ยมนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม Whoscall ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาแอปพลิเคชั่นและระบบฐานข้อมูลให้มีความสดใหม่ รวมถึงการจับมือร่วมกับองค์กร หน่วยงาน อินฟลูเอนเซอร์ต่างๆ เพื่อให้ข่าวสารเข้าถึงคนไทยได้มากที่สุด

ตามคอนเซ็ปต์ที่ให้ไว้ว่า ไม่อยากให้คนไทยตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ และมีสถิติของการถูกแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวงลดน้อยลง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า