SHARE

คัดลอกแล้ว

ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมามีประเด็นร้อนเกี่ยวกับกำไรของธนาคารในไทย หลังมีรายงานคาดการณ์กำไรธนาคารพาณิชย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ 2.2 แสนล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์​

เรื่องนี้ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมในการทำกำไรของธุรกิจธนาคารในประเทศ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว จนถูกตั้งคำถามแรงๆ ถึงรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ทั้งรัฐบาลและแบงก์ชาติได้ ‘เอ๊ะ’ กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้หรือไม่ว่า

กำไรของกลุ่มธุรกิจแบงก์ สวนทางชีวิตปากท้องทางเศรษฐกิจของพ่อค้าแม่ค้า เอสเอ็มอีที่กำลังหมดแรง และกำลังซื้อผู้คน จนถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็น ‘กำไร’ ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ สวนทางตัวเลขจีดีพีประเทศที่ปรับตัวลดลง

โดยเฉพาะประเด็น ‘ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ’ หรือ NIM ที่ถูกมองว่าเป็นตัวทำกำไรที่สูงลิ่วให้แบงก์

ดอกเบี้ยขึ้น ธนาคารกำไร ท่ามกลางหนี้พุ่ง เงินเฟ้อชะลอ แต่ทำไมแบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ยเป็นวาระร้อนที่เป็นทั้งคำถามต่อนโยบายการเงิน และสัญญาณสะเทือนถูกส่งออกมาจากทำเนียบรัฐบาลอีกครั้ง

เมื่อ ‘เศรษฐา ทวีสิน’ นายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง เพิ่งออกมาแสดงความเห็นโพสต์ผ่าน X (ทวิตเตอร์) เรื่องดอกเบี้ย ฟาดแรงใส่แบงก์ชาติว่า ขึ้นดอกเบี้ยสวนทางเงินเฟ้อ ทั้งที่ตัวเลขเงินเฟ้อติดลบติดต่อกันหลายเดือน ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจ

ที่ผ่านมา เศรษฐา เคยออกมาแสดงจุดยืนชัดเจนแล้วว่าไม่เห็นด้วยกับนโยบายการเงินของแบงก์ชาติในเรื่องการขึ้นดอกเบี้ย และล่าสุด หลังจากโพสต์ X ไปแล้ว ยังให้สัมภาษณ์ย้ำว่า จากนี้จะมีคุยกับผู้ว่าฯธปท.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ แน่นอน

กระแสการ ‘เอ๊ะ’ กำไรธนาคารที่สูงมาก จากประเด็นขึ้นดอกเบี้ยถูกปลุกเป็นกระแสขึ้นมา ถ้าตัดมุมมองแบบการเมืองออกไป แล้วการขึ้นดอกเบี้ยที่จริงแล้วมีผลต่อกำไรของกลุ่มธนาคารแค่ไหน

แหล่งข่าวจากแวดวงธนาคารมองว่า กำไรของกลุ่มธนาคารที่สูงนั้นมีผลมาจากการแข่งขันในธุรกิจธนาคารที่ต่ำ โดยที่ผ่านมาแบงก์ชาติเน้นดูแลเสถียรภาพ ‘มากเกินไป’ ปกป้องแบงก์ไทย ทำให้แบงก์ต่างประเทศเข้ามาแข่งในตลาดรายย่อยได้ยาก

‘ที่ผ่านมาซิตี้แบงก์ (Citibank) เข้ามา แบงก์ฮ่องกง (HSBC) เข้ามา ไม่นานก็ต้องเลิกธุรกิจ ดังนั้น แบงก์ชาติต้องสนับสนุนให้เพิ่้มการแข่งขัน ถ้าแข่งได้กำไร (Margin) ก็จะลดลงเอง’

แล้วกำไร 2.2 แสนล้านบาทของธุรกิจกลุ่มธนาคารนี่ถือว่ามากแค่ไหน และธนาคารไทยอยู่ตรงไหนของโลก TODAY Bizview ขอพาไปสำรวจชวนไปหาคำตอบพร้อมๆ กัน

‘ธนเดช รังษีธนานนท์’ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) บอกว่า ฝ่ายวิจัยจัดทำคาดการณ์กำไรของกลุ่มธนาคาร โดยคาดว่าในปี 2566 จะมีกำไรที่สูงเป็นประวัติการณ์ที่ 2.02 หมื่นล้านบาท

หลักๆ มาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ย (Spread) ระหว่างดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยฝากสูงขึ้น ถัดมาคือการรับรู้รายการทางบัญชี (Mark to Market) ในตราสารทุนและตราสารเงิน

นอกจากนี้ ยังมาจากการที่มูลค่าเศรษฐกิจไทย (Norminal GDP ไม่รวมเงินเฟ้อ) เติบโตสูงสุดเป็นประวัติการณ์ด้วยเช่นกัน ส่งผลให้กำไรของธนาคารเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ

ขณะที่ประเด็นกำไรมากไปนั้น ยอมรับว่าตัดสินได้ยาก เนื่องจากกำไรส่วนหนึ่งเป็น ‘กำไรทางบัญชี’ ซึ่งสะท้อนการบริหารจัดการของธนาคารไทยที่ทำได้ดีและมีประสิทธิภาพ

ส่วนประเด็นส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ต้องอธิบายเพิ่มเติมว่า NIM ไม่เท่ากับ ‘ดอกเบี้ยรับ-ดอกเบี้ยจ่าย’ ตรงๆ แต่เป็น ‘ดอกเบี้ยสุทธิ/สินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้’ กล่าวคือ ซับซ้อนกว่าการเอาดอกเบี้ยเงินกู้ลบดอกเบี้ยเงินฝากนั่นเอง

ทางด้าน ‘ภาสกร หวังวิวัฒน์เจริญ’ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด อธิบายว่า ปรากฏการณ์ดังกล่าวถือเป็น ‘วัฏจักร’ (Cycle) ของธุรกิจธนาคาร ที่เมื่อดอกเบี้ยในระบบสูงขึ้น กำไรของกลุ่มธนาคารก็เติบโตตามไปด้วย

ยกตัวอย่างคาดการณ์กำไรในปี 2566 บล.เอเซีย พลัส ประเมินไว้ที่ 221,842 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.2% จากปีก่อน ขณะที่ปีนี้ (2567) คาดการณ์ว่ากำไรของกลุ่มธนาคารจะเติบโตไม่ถึง 10% ตามวัฏจักรดอกเบี้ยที่เริ่มเป็นขาลง

‘เดิมแบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ยสกัดเงินเฟ้อ แบงก์พาณิชย์ก็ต้องตอบสนอง ต้นทุนทางการเงินก็ต้องขึ้นตาม แต่พอดอกเบี้ยกลับทิศ กำไรก็อาจจะลดลงหรือทรงตัวได้ ขึ้นอยู่กับการบริหารของแต่ละแบงก์’

ส่วนข้อวิพากษ์ว่ากำไรของธนาคารไทยมากเกินความเหมาะสมหรือไม่นั้น หากพิจารณาอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (Return On Equity: ROE) จะเห็นว่ากลุ่มธนาคารมี ROE เฉลี่ยที่ 8-9% เท่านั้น ถือว่าต่ำมาก (ปกติลงทุนคาดหวังกันที่ 10% ขึ้นไป)

ขณะที่ธนาคารในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ROE เฉลี่ยจะอยู่ที่ระดับเลขสองหลัก (Double Digit) ขึ้นไป ยกตัวอย่างเช่น ‘เจพีมอร์แกน’ (JPMorgan) รายนี้ ROE สูงถึง 16% พอเป็นคำตอบได้ว่า กำไรของธนาคารไทยไม่ได้อยู่สูงไปกว่าโลกเลย

นอกจากนี้ เมื่อเทียบกับในอดีต อัตรากำไรตอนนี้ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำ เพราะในช่วงปี 2556-2557 หรือเมื่อราว 10 ปีก่อน ธนาคารไทยเคยมี ROE สูงถึง 17-18% เลยทีเดียว (ยกเว้นช่วงโควิด-19 เคยตกลงไปที่ 5-6%)

สรุปได้ว่า นักวิเคราะห์มองว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ย มีผลต่อกำไรธนาคารก็จริง แต่ไม่ใช่ปัจจัยของกำไรธนาคารทั้งหมดที่จะไปฟันธงแบบนั้นได้

แต่วันนี้สังคมรู้สึกไปแล้วทางจิตวิทยาเมื่อเห็นตัวเลขกำไรแบงก์สูงลิบว่าดูเหมือนประเทศไทยที่ถ้าเปรียบเป็นร่างกาย ก็อาจกำลังมีภาวะการทำงานของหัวใจเต้นผิดปกติ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า