SHARE

คัดลอกแล้ว

หลังได้รัฐบาลใหม่ นโยบายต่างๆ ที่เคยหาเสียงก็เริ่มทยอยปล่อยออกมา แต่นโยบายที่เป็นที่จับตามากที่สุดคงหนีไม่พ้น ‘กระเป๋าเงินดิจิทัล 10,000 บาท’ หรือนโยบาย Digital Wallet

นอกจากเม็ดเงินจะเป็นที่สนใจแล้ว วิธีการดำเนินนโยบายก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง หลังพรรคเพื่อไทยมีแนวคิดจะนำบล็อกเชนมาใช้ในการแจกเงิน

โดยกูรูในวงการบล็อกเชนต่างให้ความเห็นว่า การใช้บล็อกเชนนั้น ‘ไม่จำเป็น’ เพราะสามารถใช้แอปพลิเคชัน ‘เป๋าตังค์’ ของธนาคารกรุงไทยในการดำเนินนโยบายได้ เช่นเดียวกับการทำนโยบายประชานิยมในอดีต

ในบทความนี้จะมาสรุปแนวคิดเกี่ยวกับนโยบายกระเป๋าเงินดิจิทอล 10,000 บาทของพรรคเพื่อไทย ผ่านการถกประเด็นต่างๆ ของเหล่านักวิเคราะห์จาก ‘Roundup Podcast’ โดยกลุ่มการเงิน Cryptomind

ซึ่งในรายการมี ‘ธีรพงษ์ ศรีสุพรรณ’ เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยมี ‘อรุณ รุ่งโรจน์สุนทร’ และ ‘อภินัทธ์ เดชดอนบม’ ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์ของ Cryptomind มาเป็นผู้ร่วมถกประเด็น

[ บล็อกเชนจำเป็นหรือไม่ ]

เนื่องจากนโยบายดังกล่าวมีความเป็น ‘Programmable Money’ หรือ ‘เงินที่สามารถระบุเงื่อนไขได้’ เช่นการกำหนดว่าเงินจะต้องใช้ภายในกี่เดือน ใช้ภายในรัศมีเท่าไหร่ จึงมีการนำบล็อกเชนมาใช้โปรแกรม

แต่ก็มีการตั้งคำถามว่า การใช้บล็อกเชนมีความจำเป็นจริงหรือ เพราะโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินในปัจจุบันก็สามารถทำได้เช่นกัน เช่น แอปพลิเคชันเป๋าตังค์ หรือระบบโอนเงินพร้อมเพย์ เป็นต้น

หากใช้ระบบที่พิสูจน์มาแล้วอย่างเป๋าตังค์ ที่ก็สามารถตั้งเงื่อนไขให้ชำระเงินภายใต้ร้านบางร้านเท่านั้นได้เช่นกัน ก็อาจทำให้นโยบายมีประสิทธิภาพกว่า ประหยัดต้นทุนทางด้านเงินและเวลากว่าหรือไม่

อย่างไรก็ตาม พรรคเพื่อไทยอาจจะอยากนำระบบบล็อกเชนมาใช้เพื่อทดลองนโยบายแจกเงิน 10,000 บาทนำร่อง แล้วต่อยอดสำหรับการใช้งานอื่นเพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานในอนาคต

[ ข้อควรระวังก่อนใช้บล็อกเชน ]

แต่การนำบล็อกเชนมาใช้ยังมีข้อกังวลด้านเทคนิคอยู่เต็มไปหมด โดยเฉพาะข้อกังวลที่ว่า ระบบดังกล่าวจะรองรับการใช้งานที่มีผู้ใช้ระดับ 40-50 ล้านคนได้หรือไม่

ทั้งนี้ เนื่องจากระบบเดิมอย่างพร้อมเพย์หรือเป๋าตังค์ ก็ยังพบเจอเหตุการณ์ระบบล่มอยู่บ่อยๆ ทั้งที่สามารถรองรับการขยายตัวชองธุรกรรมได้มากกว่าบล็อกเชนหลายเท่าตัว

โดยระบบบล็อคเชนที่เชื่อกันว่าเร็วและรองรับได้มากที่สุดในขณะนี้อย่าง Solana ก็ยังรองรับได้เพียงหลักพันธุรกรรมต่อวินาทีเท่านั้นเอง ดูเป็นไปได้ยากที่จะนำมาใช้จริงเช่นกัน

เพราะจากการคาดการณ์ดูเหมือนว่าขนาดธุรกรรม 15,000 ต่อวินาที ถึงจะเพียงพอต่อประชากรจำนวน 40-50 ล้านคน

นอกจากนี้ ก่อนหน้านี้ ‘พงศ์กวิน จึงรุ่งเรืองกิจ’ จากพรรคเพื่อไทย ก็ได้ชี้แจงว่า นโยบายเงินดิจิทัลจะใช้บล็อกเชนแบบ ‘Proof of Authority’ (PoA) ที่จะมีการกระจายโหนดไว้ในหน่วยงานรัฐเพื่อความเป็นส่วนตัว

แต่ท้ายที่สุดระบบดังกล่าวจะเป็นไปได้จริงหรือไม่ เพราะหากกระจายโหนดก็จะทำให้ธุรกรรมต่อวินาทีลดลงเหลืออยู่เพียงหลักร้อยเท่านั้น

[ ปรัชญาของบล็อกเชน ]

นักวิเคราะห์ยังตั้งคำถามต่อความปลอดภัยอีกว่า หากใช้ระบบบล็อคเชนแบบ PoA ที่ไปทางความเป็นรวมศูนย์ ก็อาจทำให้ความปลอดภัยลดลง ดังที่มีเหตุการณ์ในหลายกรณี และการนำมาใช้กับโครงการระดับประเทศ ก็อาจเป็นความเสี่ยงต่อการโดนโจมตีระบบได้หรือไม่

นอกจากนี้ ยังมีข้อกังวลว่า หากใช้ระบบ PoA จะขัดต่อแนวคิดของบล็อกเชนที่เน้นการกระจายศูนย์หรือไม่

สุดท้าย นักวิเคราะห์กังวลว่า พร้อมเพย์ หรือธนาคารนั้น มีกลุ่มคนที่ดูแลข้อมูลไม่กี่ส่วน แต่หากระบบการเงิน บบ PoA มีหน่วยงานรัฐหลายส่วนมาดูแลข้อมูล ก็อาจมีโอกาสหลุดรั่วออกไปได้หรือไม่ ซึ่งก็ได้ทิ้งไว้ให้เป็นคำถามเพื่อติดตามต่อไป

ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ต้องรอพัฒนาการและความคืบหน้าจากทีมรัฐบาลต่อไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า