SHARE

คัดลอกแล้ว

ในยุคที่ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุ ภาวะการมีลูกน้อยของคนไทยถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ยิ่งทำให้ปัญหาจากสังคมผู้สูงอายุรุนแรงขึ้น เนื่องจากในอนาคตประเทศไทยอาจขาดแคลนแรงงาน และทำให้การดูแลผู้สูงอายุทั้งในระดับประเทศและในระดับครอบครัวเป็นไปได้ยากขึ้น

รายงานเรื่อง “From cubs to ageing tigers: Why countries in Southeast Asia need to think about fertility rates before it’s too late” ของ The Economist Intelligence Unit ได้สรุปถึง 7 เหตุผลที่ทำให้ประเทศไทย รวมถึงอีกหลายประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอัตราการเกิดน้อยลง ดังนี้

1. การส่งเสริมการคุมกำเนิดอย่างแพร่หลายในอดีต: ในช่วงปี พ.ศ. 2513-2539 ประเทศไทยมีนโยบายส่งเสริมการคุมกำเนิดอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะการคุมกำเนิดในครอบครัวขนาดเล็ก ซึ่งนโยบายในช่วงเวลาดังกล่าวทำให้อัตราการเกิดในประเทศไทยลดลงอย่างมาก

และแม้ว่าหลังจากช่วงดังกล่าว อัตราเกิดในประเทศไทยก็ยังลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในปี 2560 หญิงไทยหนึ่งคนเฉลี่ยมีลูกเพียง 1.58 คนเท่านั้น หรือพูดอีกอย่างก็คือ ครอบครัวสามีภรรยา 1 คู่ (2 คน) มีลูกเฉลี่ยเพียง 1.58 คน ซึ่งหมายความว่าในอนาคตมีแนวโน้มที่ประชากรในประเทศไทยจะลดลง

2. ชาวต่างจังหวัดย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองที่ค่าครองชีพสูง:เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ทำให้ผู้หญิงต้องทำงานนอกบ้านมากขึ้นเพื่อหารายได้ แทนที่จะเป็นแม่บ้านเช่นในอดีต บทบาทของการเป็นแม่และการเป็นแรงงานในตลาดแรงงานที่ไปด้วยกันด้วยยากนี้เอง ที่ทำให้ผู้หญิงจำนวนมากตัดสินใจไม่มีลูกหรือมีลูกน้อยลง

3. ที่อยู่อาศัยในเมืองราคาแพงขึ้นจนแทบซื้อไม่ได้: เมื่อเมืองอย่างกรุงเทพฯ และหัวเมืองต่างจังหวัดทั้งหลายขยายตัว ราคาบ้านในจังหวัดเหล่านั้นก็แพงขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้ผู้ที่ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในจังหวัดเหล่านี้หาที่อยู่อาศัยที่ใหญ่พอสำหรับการสร้างครอบครัวได้ลำบาก อาจต้องเช่าห้องหรือบ้านเช่าขนาดเล็กอยู่ ทั้งหมดนี้ทำให้การมีลูกเพิ่มหรือพาลูกมาอยู่ในเมืองด้วยเป็นเรื่องลำบากมากขึ้น สถานการณ์ดังกล่าวนี้ยังเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เราเห็นครอบครัวในต่างจังหวัดจำนวนมากเป็นครอบครัวแหว่งกลาง นั่นคือมีเพียงปู่ย่าตายายอยู่กับหลาน ส่วนพ่อแม่ย้ายไปทำงานในพื้นที่อื่นที่เจริญกว่า

4. ผู้หญิงมีการศึกษาดีขึ้น จึงมุ่งทำงานหารายได้มากขึ้น และจำนวนมากก็ตัดสินใจเลื่อนการแต่งงานและมีลูกออกไป

5. พ่อแม่ยุคใหม่เน้นการมีลูกน้อยลง แต่เลี้ยงให้ดีขึ้นแทน: ปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงบุตร 1 คนสูงขึ้นมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษา ซึ่งแม้ว่ารัฐบาลไทยจะมีนโยบายเรียนฟรี แต่ที่นั่งในโรงเรียนรัฐคุณภาพก็มีจำกัด และการส่งลูกเรียนในโรงเรียนเอกชนก็มีค่าใช้จ่ายสูง ด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นเหล่านี้ ทำให้หลายครอบครัวเลือกที่จะมีลูกน้อยคนลง เพื่อให้สามารถดูแลลูกที่มีได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น

6. ความไม่เข้าใจว่ายิ่งอายุมาก ยิ่งมีลูกยาก: รายงานของ EIC ระบุว่า การตระหนักรู้เกี่ยวกับความสามารถในการมีลูกที่ลดลงพร้อมกับอายุที่มากขึ้นนั้นต่ำมากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รายงานดังกล่าวระบุว่าความสามารถในการมีลูกของผู้หญิงลดลงเรื่อยๆ พร้อมอายุที่เพิ่มขึ้น โดยจะยิ่งลดลงเมื่ออายุถึง 32 ปี และเมื่อผู้หญิงอายุเกิน 37 ปี ความสามารถในการมีลูกจะยิ่งลดลงเร็วขึ้นไปอีก

7. ภาวะมีบุตรยากที่เพิ่มขึ้นทั้งชายและหญิง: มีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ทั้งชายและหญิงในยุคนี้มีบุตรยากขึ้น โดยเกิดจากทั้งไลฟ์สไตล์ สิ่งแวดล้อม การกินอาหารที่ไม่ดี การสูบบุหรี่ และอายุที่เพิ่มขึ้น

ที่มา IPPD https://bit.ly/2JL83yQ
The Economist Intelligence Unit https://bit.ly/2M4NIGk

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า