SHARE

คัดลอกแล้ว

วิกฤตพลังงาน-อาหารทั่วโลกแพง แต่ทำไม ‘ชาวนาไทย’ รายได้หด ชีวิตแย่ . สงครามรัสเซีย-ยูเครน กระทบราคา ‘พลังงาน’ และ ‘สินค้าอุปโภคบริโภค’ รวมถึง ‘สินค้าเกษตร’ ให้แพงขึ้น หลายคนจึงคิดว่าในวิกฤตขาดแคลนพลังงานและอาหารแบบนี้ เกษตรกรจะต้องมีรายได้มากขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่ว่าอาจจะไม่ใช่เกษตรกรทุกกลุ่ม โดยเฉพาะ ‘ชาวนาไทย’ ที่อาจจะกำลังเหนื่อยขึ้น ลำบากขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีน้อยลง

อ่านสรุปจาก TODAY Bizview ถึงเหตุผลที่ทำให้ ‘ชาวนาไทย’ รายได้ลดลงในช่วงที่ราคาสินค้าเกษตรพุ่งสูง และความเสี่ยงอะไรบ้างจากสถานการณ์นี้ที่เศรษฐกิจไทยจะต้องแบกรับ จากรายงานของ KKP Research

1) หลังเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน ราคาพลังงาน-สินค้ากินใช้ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึง ‘สินค้าเกษตร’ ที่เป็นแหล่งอาหารของคนทั่วโลก ทำให้รายได้ของ ‘เกษตรกร’ เพิ่มขึ้น อย่าง ‘เกษตรกรไทย’ ก็มีรายได้เพิ่มขึ้น 19.3% เทียบกับปีที่แล้ว (จากระดับ 8.1 เป็น 9.7 แสนล้านบาท) ซึ่งสูงสุดในรอบ 8 ปี

2) แต่ปัญหาคือ ‘ราคาปุ๋ยเคมี’ ที่เป็นสินค้าส่งออกสำคัญของรัสเซียและยูเครน (รวมกันได้ 14% ของการส่งออกปุ๋ยทั่วโลก) ก็แพงขึ้นเกือบ 3 เท่า คือ ในตลาดโลก น้ำมันแพงขึ้น 65.8% อาหารแพงขึ้น 22.8% แต่ปุ๋ยเคมีแพงขึ้นยิ่งกว่า เพราะขึ้นไป 110% แล้ว และ ‘ไทย’ ก็ผลิตเองไม่ได้ด้วย ต้องนำเข้าเกือบทั้งหมด

3) ปัญหาราคาปุ๋ยเคมี นี่แหละที่ทำให้ ‘ต้นทุน’ ของเกษตรกรเพิ่มขึ้น 23.3% จากประมาณ 5.3 เป็น 6.6 แสนล้านบาท พอหักลบกลบหนี้แล้ว เกษตรกรจะมี ‘กำไร’ เพิ่มขึ้นประมาณ 3 หมื่นล้านบาท (รายได้-ต้นทุน = 9.7-6.6 แสนล้าน = 3.1 หมื่นล้าน) แต่ก็ไม่ใช่เกษตรกรทุกกลุ่ม

4) ในประเทศไทย ‘ข้าว’ จะได้รับผลกระทบมากที่สุด เพราะราคาปุ๋ยทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น 22.1% บวกกับรายได้ที่จะลดลง 4.9% เพราะเป็นข้าวเป็นสินค้าที่มีโลกมีผลผลิตสูง ไม่ได้ขาดแคลน และเป็นสินค้าทดแทนพลังงานไม่ได้ และสำคัญที่สุด คือ ‘ชาวนาไทย’ อยู่ในสถานการณ์ ‘เปราะบางมาก’ มาตลอด

5) ย้อนกลับมาดูสาเหตุที่ “ชาวนาไทยเปราะบาง” กว่าเกษตรกรกลุ่มอื่นๆ มาจาก 3 ข้อหลักๆ คือ . – ข้าวไทยมี ‘ประสิทธิภาพการผลิตต่ำ’ อยู่แล้ว คือ มีผลผลิตต่อไร่น้อยกว่าประเทศเอเชีย 32% ใน 10 ปีที่ผ่านมา ทำให้ถึงต้นทุนไม่สูง แต่เกษตรก็ได้กำไรน้อยมากอยู่แล้ว . – ข้าวไทยใช้ ‘พื้นที่เพาะปลูกไม่เหมาะสม’ ไม่สมดุลกับขนาดเพาะปลูก คือ มีปลูกเกือบทุกจังหวัด แต่มี 10 จังหวัด ที่ทำผลผลิตได้น้อยกว่าค่าเฉลี่ยประเทศ ทั้งที่พื้นที่เพาะปลูกมากกว่าค่าเฉลี่ยประเทศ อย่างเช่นร้อยเอ็ด นครราชสีมา อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ นครพนม ยโสธร อำนาจเจริญ มหาสารคาม ศรีสะเกษ และสกลนคร

ส่วนอีก 24 จังหวัดมีผลผลิตข้าวสูงกว่าค่าเฉลี่ย แต่มีพื้นที่เพาะปลูกต่ำกว่าค่าเฉลี่ย อาทิ ราชบุรี ลำปาง สระบุรี . – ข้าวไทย แข่งขันกับข้าวประเทศอื่นไม่ได้ เพราะ ‘ราคาแพงกว่า’ คือ ในช่วงปี 2002 – 2010 สัดส่วนการส่งออกข้าวไทยในตลาดโลกลดลงจาก 25% เหลือ 14% เพราะในช่วง 5 ปีหลัง ข้าวไทยแพงกว่าข้าวเวียดนาม กัมพูชา อินเดีย และปากีสถาน . อย่างเช่นข้าวหอมมะลิไทยที่แพงกว่าเวียดนาม 50% และกัมพูชา 19% หรือข้าวขาว 5% ไทยที่แพงกว่าเวียดนาม 10.6% แพงกว่าอินเดีย 14.8% และแพงกว่าปากีสถาน 17.7%

6) ในรายงาน KKP Research บอกว่า ต้นทุนสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้นมหาศาล จะทำให้สถานการณ์ความเป็นอยู่ของชาวนาและเกษตรกรที่เป็นคน 1 ใน 3 ของประเทศแย่ลงมาก ซ้ำเติมปัญหาหนี้ภาคเกษตรที่สูงอยู่แล้ว จึงควรต้องได้รับการดูแลจาก ‘ภาครัฐ’ 3 ส่วนใหญ่ๆ

– อย่างแรก คือ จัดพื้นที่เพาะปลูกให้เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด หรือ Zoning โดยเฉพาะข้าวและอ้อยที่ยังใช้พื้นที่ไม่เหมาะสม คือ เพาะปลูกในพื้นที่ที่ให้ผลผลิตต่ำ .

– ต่อมา คือ เร่งพัฒนาระบบชลประทาน เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ของภาคเกษตร โดยเฉพาะข้าวที่ 74.3% ของพื้นที่ปลูกอยู่นอกเขตชลประทาน เพราะปลูกข้าวในเขตชลประทานให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่านอกเขตชลประทานเกือบ 60% โดยเฉพาะในภาคกลางที่จะเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้ถึง 51%

– สุดท้าย คือ เร่งวิจัยพัฒนาพันธุ์พืชที่ให้ผลผลิตสูงขึ้นและทนทานต่อสภาพอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลง และควรตรงกับความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย อีกอย่าง คือ ควรส่งเสริมให้มีตลาดประกันวินาศภัยในภาคเกษตร ที่จะช่วยให้เกษตรกรยืดหยุ่นต่อปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะเข้ามาได้

7) และ KKP Research ยังทิ้งท้ายว่า ภาคเกษตรไทยจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาและการลงทุน เพื่อรองรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะประเด็น ‘ความมั่นคงของอาหาร’ ที่ไทยยังจำเป็นต้องพัฒนาในระยะยาว แม้ว่าจะในปัจจุบันยังดูเหมือนไม่เป็นปัญหา . แต่ข้อมูลจากดัชนีความมั่นคงทางอาหารโลก (Global Food Security Index) ของ The economist บอกว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 51 จากทั้งหมด 113 ประเทศ คะแนนดีในส่วนราคาเข้าถึงได้ แต่ด้านความพร้อม คุณภาพ ความปลอดภัย ทรัพยากรธรรมชาติและความยืดหยุ่นยังไม่ดีมากนัก ตรงกันกับสถานการณ์ตอนนี้ที่ไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤตราคาปุ๋ย

8) ในระยะยาว ไทยจึงควรเร่งพัฒนาภาคการเกษตรให้ทันสมัย และเริ่มจัดสรรแรงงานให้ย้ายจากภาคที่มีผลิตภาพต่ำไปผลิตภาพสูง หรือถ้าในกลุ่มเกษตรไหนที่ได้เปรียบอยู่แล้ว ภาครัฐก็ควรจะเร่งลงทุนและส่งเสริมเกษตรกรไทยเพิ่มเติมอีก แต่รัฐบาลไทยจะทำได้หรือไม่ก็คงต้องจับตาดูกันต่อไป…

ที่มา https://advicecenter.kkpfg.com/th/money-lifestyle/money/economic-trend/thai-agricultural-sector-under-war-and-inflation

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า