SHARE

คัดลอกแล้ว

ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในไทยเป็นประเด็นที่พูดถึงอย่างมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว

โดยเฉพาะใน ‘ภาคเหนือ’ ที่เมื่อ ‘ความกดอากาศสูง’ ที่แผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือมีกำลังอ่อนลง และมี ‘ลมสงบ’ ประกอบกับการผกผันกลับของอุณหภูมิในอากาศ จะส่งผลทำให้เกิดสภาพอากาศร้อนด้านบนกดทับอากาศเย็นเหมือนมี ‘ฝาครอบ’

‘ฝาครอบ’ จะทำให้การไหลเวียนและถ่ายเทอากาศไม่ดี ฝุ่นควันจึงสะสมในอากาศ และสภาพอากาศแห้งยังเอื้อต่อการเกิดไฟป่าง่ายอีกด้วย 

ยิ่งไปกว่านั้น พื้นที่ภาคเหนือยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยด้านภูมิประเทศที่เป็นที่ราบล้อมรอบไปด้วยภูเขา ลักษณะเหมือน ‘แอ่งกระทะ’ การสะสมหมอกควันในอากาศจึงรุนแรงกว่าพื้นที่อื่น รวมถึงฝุ่นควันที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย

จากข้อมูลรายงานประจำปี SDG พบว่า ใน 2566 เป็นปีที่สถานการณ์มลพิษทางอากาศของประเทศไทยรุนแรงที่สุดในรอบ 5 ปี 

นอกจากนั้น จากข้อมูลดาวเทียมจากแอปพลิเคชันเช็กฝุ่น พบว่า 4 เดือนแรกของปีนี้มี ‘อากาศสะอาด’ ให้หายใจน้อยมาก

และเมื่อเร็วๆ นี้พบว่า ประเทศไทยมี 15 จังหวัด มีค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน ส่งผลกระทบต่อสุขภาพระดับสีแดง

ขณะที่อีก 32 จังหวัด อันตรายอยู่ในระดับสีส้ม นอกจากนี้ประเทศไทยยังติดอันดับที่ 9 เมืองที่มีมลพิษสูงทีสุดในโลก จากแอป AirVisual

แล้วสาเหตุของ PM 2.5 คืออะไร?

จริงๆ แล้วสาเหตุของปัญหา PM 2.5 มีหลายสาเหตุ แต่หลักๆ เลยข้อมูลจากประมาณการณ์จาก ‘ปิ่นสักก์ สุรัสวดี’ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ บอกว่า ในแต่ละปีสาเหตุของ PM 2.5 จะเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ในปีนั้นๆ แต่ถ้าย้อนกลับไปดูข้อมูลของปีก่อนหน้าหลายๆ ปีพอจะเห็นภาพรวมว่า ฝุ่น PM 2.5 ในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทยมีสาเหตุแตกต่างกัน ดังนี้

ฝุ่น PM 2.5 ใน ‘กรุงเทพและปริมณฑล’ ในช่วงปกติตลอดปีเกิดจาก ‘การจราจร’ หรือการเผาไหม้ท่อไอเสียจากรถยนต์ดีเซลเป็นหลักด้วยสัดส่วนราว 60% ตามด้วยการเผาทางการเกษตรในสัดส่วน 30% และการเผาป่าบวกกับสาเหตุอื่นๆ อีกราว 10% 

แต่ที่มาของฝุ่น PM 2.5 ใน ‘กรุงเทพและปริมณฑล’ จะเปลี่ยนสัดส่วนอย่างรวดเร็วในช่วงปลายเดือน ธ.ค.-มี.ค. เนื่องจากการเข้ามาของหมอกควันข้ามแดน-ทิศทางลมนำฝุ่นจากการเผาทางการเกษตรในพื้นที่เหนือลมหรือในพื้นที่ภาคกลางเข้ามา

ขณะที่ฝุ่น PM 2.5 ใน ‘ภาคเหนือ’ มาจากการเผาในพื้นที่ป่าเป็นหลักด้วยสัดส่วนราว 60-70% ตามมาด้วยการเผาทางการเกษตร การจราจร และอื่นๆ อีกราว 30% .

ด้าน ‘ภาคกลาง’ และ ‘ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ’ ฝุ่น PM 2.5 มาจากการเผาทางการเกษตรราว 60-70% ตามด้วยการเผาป่า การจราจร และอื่นๆ อีกราว 30-40% 

หากขยับมาดูในเชิงพื้นที่ข้อมูลจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) รายงานสถานการณ์การเผาในที่โล่งแจ้งภาคเกษตรภายในประเทศไทยระหว่างปี 2563-2566 ว่า การเผาในปี 2566 สูงกว่าปี 2564 และ 2565

โดยจากการเผาในพื้นที่โล่งแจ้งทั้งหมดแบ่งเป็นการเผาในพื้นที่ป่า 69.8% การเผาในพื้นที่การเกษตร 26% และพื้นที่อื่นๆ 4.2% ซึ่งการเผาในพื้นที่การเกษตรแบ่งเป็น

  1. นาข้าว 38.02% 
  2. ไร่ข้าวโพดและไร่หมุนเวียน 24.08%
  3. ไร่อ้อย 9.9% 
  4. พืชเกษตรอื่นๆ 28% 

ด้าน ‘ประเทศเพื่อนบ้าน’ พบว่า ในปี 2566 ประเทศที่พบจำนวนจุดความร้อนมากที่สุด คือ สปป.ลาว โดยเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากปีอื่นๆ

อันดับถัดมา คือ เมียนมา กัมพูชา ไทย และเวียดนาม ตามลำดับ ที่น่าหวั่นใจคือถ้านำจุดความร้อนทั้งหมดใน ‘อาเซียนตอนบน’ มารวมกัน จำนวนจุดความร้อนจะสูงสุดในรอบ 9 ปี

เมื่อพูดถึงการแก้ปัญหา PM 2.5 นั้นเป็นปัญหาที่จะต้องแก้ปัญหาจากทุกภาคส่วนไปพร้อมๆ กัน  ไม่ว่าจะเป็น การเร่งออก กฎหมายอากาศสะอาด ที่ครอบคลุมประเด็นการจัดตั้งหน่วยงานที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในการแก้ปัญหาการเร่งศึกษาวิจัยเพื่อกำหนดขอบเขต airshed ของฝุ่น PM2.5 ที่เป็นปัญหาข้ามจังหวัดและข้ามประเทศ 

อีกทั้งยังต้องออก นโยบายลดการเผา โดยออกนโยบายกับพืชทุกชนิด เพิ่มเติมจากปัจจุบันที่มีเพียงอ้อยเท่านั้น เช่น การอุดหนุนเกษตรกรที่ต้องการปรับระดับแปลงไร่นาเพื่อใช้เครื่องจักรแทนการเผา

นอกจากนี้ยังควรส่งเสริมและสนับสนุนให้มี ตลาดสำหรับเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อทำให้เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมีราคาและสร้างรายได้และแรงจูงใจให้กับเกษตรกร

ล่าสุด ภาครัฐกำลังเร่งหาทางแก้ปัญหาอย่างใกล้ชิดและเต็มที่ ต้องดูแลทุกพื้นที่ และขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน พร้อมกันนี้ได้มอบหมายหน่วยงานเร่งประสานถึงแนวทางการแก้ไขปัญหากับประเทศเพื่อนบ้าน เพราะถือเป็นเรื่องใหญ่ เพราะเมียนมาและลาวก็มีการเผาซากพืชผลทางการเกษตรทุกปี รวมถึงเอกชนฝ่ายไทย ที่มีการปลูกพืชที่ประเทศเพื่อนบ้าน ก็จะต้องมีการเก็บภาษีเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการช่วยบำบัดแก้ไขปัญหาเหล่านี้้เช่นกัน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า