SHARE

คัดลอกแล้ว

พูดคุยกับ สายใย สระกวี จาก Google ประเทศไทย ถึงนโยบายสำคัญด้านบุคลากรของ Google  ว่ามีอะไรที่ทำให้ดึงดูดคนรุ่นใหม่ของไทยที่โหวตให้ Google ประเทศไทย เป็นองค์กรที่พวกเขาอยากทำงานด้วยมากที่สุด

แม้บริษัทเทคโนโลยีทั่วโลกจะอยู่ในช่วงขาลงของการจ้างงาน แต่พอทำแบบสอบถามอย่างไรซะก็จะเห็นว่าบริษัทเทคโนโลยีชื่อเสียงดังๆก็มักจะติดอันดับบริษัทที่คนรุ่นใหม่อยากทำงานด้วยเสมอ ล่าสุดที่ WorkVenture เผยผลสำรวจ Top 50 Employers in Thailand 2023 หรือ 50 องค์กรที่คนรุ่นใหม่อยากทำงานด้วยมากที่สุด ประจำปี 2566 Google ประเทศไทย ยังคงติดอันดับตัวตึงยืนหนึ่ง 3 ปีซ้อน ที่คนรุ่นใหม่ในประเทศไทยอยากทำงานด้วยมากที่สุดในปีนี้

รายการ TOMORROW จากสำนักข่าว TODAY และส่วนข่าวธุรกิจ TODAYBizview พาย้อนไปดูการสนทนาบางช่วงกับ ‘สายใย สระกวี’ Communications and Public Affairs Manager, Google ประเทศไทย ที่เคยพูดถึงบรรยากาศการทำงานของ Google ไว้ให้เราฟัง

‘สายใย’ เล่าถึงวัฒนธรรมการทำงานของ Google ให้ฟังว่า การดีลกับเพื่อนร่วมงานที่มีที่มาหลากหลายจากหลายชาติ ต่างศาสนา เพศ แนวคิดการเมือง ฯลฯ ของบริษัทใหญ่ระดับโลกอย่าง Google ให้ความสำคัญตั้งแต่การเริ่มการจ้างงาน ซึ่งมี 4 ด่าน ที่คนสมัครงาน Google ต้องเจอกันหมดไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย

4 ด่านสมัครงาน Google

1.ต้องมี Googliness คนที่ได้รับเลือกจะต้องมีทัศนคติที่เข้ากันได้กับวัฒนธรรมองค์กร
2.Leadership ไม่ใช่มานำทีม แต่แต่ละคนจะต้องมีความเป็นผู้นำในตัว เช่น กล้ายืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง
3.GCA หรือ General Cognitive Ability ความสามารถในการไตร่ตรอง เห็นปัญหาและแก้ปัญหาได้ เพราะธุรกิจเทคโนโลยีนั้นมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
4.Role Related Knowledge ทักษะของตำแหน่งงาน เช่น มาเป็นเซลล์ก็ต้องรู้เรื่องการขาย เป็นวิศวกรต้องเข้าใจเรื่องโค้ดดิ้ง เป็นพีอาร์ต้องเข้าใจเรื่องการสื่อสาร

โดย 3 ข้อแรก จะรู้ว่าคนๆนี้จะเหมาะมาทำงานกับ Google หรือไม่

ทั้ง 4 ข้อ สายใยบอกว่า ไม่ใช่ด่านหิน แต่เป็นการตั้งด่านมาหาคนที่เหมาะสม

อีกเรื่องหนึ่งที่ได้ยินกันจนติดหูคือ ออฟฟิศ Google มักจะมีเครื่องดื่ม กาแฟ ขนมของกินรองท้องให้พนักงานมาหยิบกินได้ฟรีตลอดเวลา สิ่งเหล่านี้ สายใยบอกว่าไม่ใช่การสร้างแรงจูงใจให้พนักงาน แต่ Google มองว่าเป็นสวัสดิการที่สมควรจะให้

“เราพยายามครีเอท สิ่งแวดล้อมน่าอยู่ คัลเจอร์ทำงานด้วยกันอย่างสบายใจ”

นอกจากนี้อีกเรื่องสำคัญคือ “ความเท่าเทียม” และ “การยอมรับในความแตกต่างหลากหลาย” ซึ่งคำอย่าง Diversity, Inclusiveness เป็นสิ่งที่ต้องทำให้เกิดได้จริงในองค์กร การจะทำได้คือต้องมีการ เคารพหรือ Respect เพื่อนร่วมงาน เพราะด้วย Google เองเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคนใช้ทุกชาติ ทุกภาษา พันธกิจของเราคือการรวบรวมเรียบเรียงข่าวสารทั่วโลกและทุกคนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารเหล่านี้โดยเท่าเทียม ดังนั้น Google ที่มีผู้ใช้เป็นพันล้านคน ทุกชาติ ทุกภาษา เราจึงต้องให้ความเคารพในความแตกต่างหลากหลายทั้งกับผู้ใช้งานและพนักงานของเราเอง

ดังนั้นจะเห็นว่าการจ้างงาน Google จึงมองหาความแตกต่าง เราไม่ได้หาคนคิดเหมือนกัน ทำเหมือนกัน เพราะผลิตภัณฑ์ของเราหลากหลาย มีผู้ใช้ทั่วโลก ต้องรับรู้ข้อมูล ทุกภาษา ศาสนา การเมือง ความคิด

เป็นที่มาว่า Google จะให้ความเคารพ 3 ด้าน หลัก คือ

  • Respect user เคารพฝั่งผู้ใช้งานด้วยแนวคิดว่าออกแบบผลิตภัณฑ์ให้คนที่หลากหลาย
  • Respect Opportunity การที่พนักงานเคารพโอกาสที่เข้ามาท้าทายเรามากพอหรือไม่ มีงานยากพร้อมสู้หรือไม่ พร้อมโฟกัสสิ่งสำคัญพาบริษัทไปข้างหน้าด้วยกัน
  • Respect each other เคารพเพื่อนร่วมงาน ซึ่งกันและกันรวมทั้งระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง ทำให้คนทำงานมีความสุขไม่ใช่มาออฟฟิศทำงานแล้วเหม็นหน้า

เพราะเรามีวิจัยว่าพนักงานจะมีความสุข คือการสร้าง Respect เมื่องานดี ผลิตภัณฑ์ก็ออกมาดี บริษัทรายได้ดี ทุกคนก็มีความสุข

“ที่พูดมานี่ไม่ใช่ว่าลาเวนเดอร์โลกสวยขนาดนั้น มันก็มี issue ของการทำงานเกิดขึ้น แต่มันก็แก้ไปด้วยกันด้วยโครงสร้างนี้”สายใยอธิบาย

รับมือพนักงาน Burnout หมดไฟอย่างไร 

สายใย เล่าว่า เรื่อง Well being สุขภาวะของพนักงานสำคัญมาก อย่าง Google มีสวัสดิการรองรับเยอะ เช่น กรุ๊ปที่สามารถปรึกษาจิตแพทย์ได้ ถ้าถึงจุดนั้นแล้ว หรือมีวันหยุดประจำปี ที่ Google ทั้งโลกหยุดพร้อมกัน โดยไม่ใช่วันหยุดราชการ หรือวันหยุดประเทศนั้นๆ แต่ผู้บริหารมอบให้เป็นวันหยุดพิเศษไตรมาสละหนึ่งครั้ง

“อีกเรื่องไม่ได้เป็นนโยบาย แต่เป็นคัลเจอร์ว่า ยิ่งเป็น Manager เสาร์-อาทิตย์อย่าอีเมล์หาลูกน้องถ้าไม่สำคัญ ถามตัวเองก่อนว่ามันต้องทำตอนนี้เหรอ มันด่วนจริงๆเหรอ ถ้ามันไม่ได้ขนาดนั้น ก็ไม่ต้องส่งไป”

“ต้องเริ่มต้นที่หัวหน้าก่อน ต่อให้หัวหน้าบอกไม่ urgent ส่งวันเสาร์​ตอบวันจันทร์ได้ คนเป็นลูกน้องเครียด ก็จะเป็นเสาร์อาทิตย์ที่คิดเรื่องงาน เอาเรื่องงานออกจากหัวไม่ได้ ต้องเคารพกันตรงนั้น รวมถึงวันหยุด ลูกน้องลา หรือเพื่อนร่วมงานลา ไม่ควร message ไปกวน วันลาเป็นสิทธิ์ของเขา ไม่ว่าจะลาไปทำอะไร จะลาไปนั่งริมชายหาดลงรูปอะไรทั้งวัน แต่นั่นเป็นสิทธิ์ของเขา”

“เรื่องวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ Well Being จึงสำคัญ เราไม่ได้อยากได้พนักงานมาทำงานให้ 50 เปอร์เซ็นต์ หรือมาแบบสมองล้าหรอก แต่ถ้าให้โอกาสเขาไปพักผ่อน ไม่ได้กวนวันที่เขาดูแลลูก พ่อแม่ และเขาได้ทำจบ และเขาไม่เครียด กลับมาทำงานให้บริษัท คิดแบบฐานะเจ้าของบริษัท เขา(ทำงาน)ให้ 100 เปอร์เซ็นในวันที่เขากลับมา แต่ถ้าคุณไปกวนเขา เขา(ทำงาน)ให้คุณกลับมาทีละ 25 เปอร์เซ็นต์เพราะยังยุ่ง ทำให้ทำงานไม่ได้เต็มที่”

 

ชมบทสัมภาษณ์ สายใย สระกวี  [คลิกชมที่นี่]
เรายังมีคลิปสัมภาษณ์ผู้บริหารองค์กรต่าง ๆ ที่น่าสนใจให้ได้ติดตาม
กดดูได้ช่องยูทูป TODAY-สำนักข่าวทูเดย์ เลือก Playlist รายการ TOMORROW

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า