SHARE

คัดลอกแล้ว

ช่วงค่ำคืนของวันที่ 16 ก.พ. 2564 ที่ผ่านมา ทาง workpointTODAY ได้ทดลองเปิดห้องใน Clubhouse โดยใช้ชื่อว่า ‘workpointTODAY จัดคิวให้นักการเมืองมานั่งคุยกับเรา’ โดยเชิญนักการเมืองจากพรรคและกลุ่มต่างๆ เข้ามาร่วมพูดคุย

นับตั้งแต่ Clubhouse เริ่มเข้ามามีบทบาทในแวดวงโซเชียลมีเดียประเทศไทย ก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดี จนไทยกลายเป็นอีกประเทศหนึ่งที่จำนวนผู้ใช้งานเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้ว่าแพลตฟอร์มจะยังจำกัดให้ใช้งานเฉพาะระบบปฏิบัติการ iOS และต้องได้รับคำเชิญเข้าร่วมก่อนก็ตาม

ในห้องที่ workpointTODAY จัดขึ้นบน Clubhouse ก็ได้รับเกียรติจากนักการเมืองหลายท่านที่ตอบรับคำเชิญเข้ามาร่วมพูดคุย ไม่ว่าจะเป็นจากฝั่งรัฐบาลอย่าง นางสาวทิพานัน ศิริชนะ จากพรรคพลังประชารัฐ นายสิริพงศ์ อังคสกุลเกียรติ จากพรรคภูมิใจไทย ที่มาตอบคำถามและข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับนโยบายของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดซื้อวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 การสนับสนุนวงเงินช่วยเหลือค่าครองชีพในโครงการเราชนะ รวมไปถึงโครงการคนละครึ่ง

และยังมีท่านอื่นๆ ได้แก่ นายปดิพัทธ์ สันติภาดา จากพรรคก้าวไกล นายกรณ์ จาติกวณิช จากพรรคกล้า คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ จากพรรคไทยสร้างไทย และ นายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี จากกลุ่ม Care เข้ามาให้ความเห็นในประเด็นต่างๆ ที่ทาง workpointTODAY รวบรวมแบบสดๆ จากการเปิดโอกาสให้ประชาชนที่มาร่วมฟัง กดปุ่ม ‘ยกมือ’ และถามคำถามในห้อง

โดยประชาชนที่เข้าร่วม ได้มีการหยิบยกประเด็นเรื่องความเห็นของนักการเมือง ต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และประเด็นทางสังคม ทั้งความไม่เท่าเทียมกันในกระบวนการทางกฎหมาย เมื่อเปรียบเทียบการบังคับใช้กับคนรวยและคนจน ไปจนถึงความมีอิสระของนักการเมืองในการขัดมติพรรค

นอกจากนักการเมืองทั้ง 6 ท่านที่ทีมงานนัดแนะไว้ก่อนแล้ว ระหว่างการพูดคุยยังมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหลายท่านเข้ามาฟังในห้อง และยกมือขอขึ้นมาพูดด้วยเช่นกัน อาจนับได้ว่าเป็นเสน่ห์อย่างหนึ่งของ Clubhouse ที่เราไม่อาจทราบได้เลยว่าจะมีบุคคลใดมาเข้าร่วมบ้าง

หลังจากจบการสนทนาที่ใช้เวลา 3 ชั่วโมง ผู้เข้าร่วมหลายคนยังคงอยู่กันต่อในห้อง ซึ่ง workpointTODAY ได้เปิดโอกาสให้ทั้งนักการเมืองและประชาชนเป็นฝ่ายถามคำถามกับทีมข่าวของเราได้

หากจะเรียกได้ว่าการสื่อสารแบบนี้เป็นการทลายการพูดคุยในรูปแบบเดิม ที่นักข่าวเป็นคนถาม นักการเมืองเป็นคนตอบ และประชาชนเป็นคนฟัง ก็คงไม่ผิดนัก เมื่อทุกคนเข้ามาอยู่ใน Clubhouse กลายเป็นกำแพงที่เคยมีอยู่เดิมนั้นหายไป ต่างคนต่างสามารถถามตอบกันได้ทั้งหมด

อีกทั้งในแง่ของการที่แพลตฟอร์มไม่ได้บันทึกบทสนทนา ก็ทำให้หลายคนดูผ่อนคลายมากขึ้นในการแสดงความเห็นต่างๆ

นางสาวทิพานันเปิดเผยมุมมองในการเข้าร่วมพูดคุยใน Clubhouse ว่า ส่วนตัวมองว่าดี เป็นพื้นที่ที่ได้แสดงความคิดเห็น ได้แชร์ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ สามารถเลือกฟังในเรื่องที่สนใจและร่วมแสดงความคิดเห็นได้ และเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ได้ความรู้มากขึ้นและใช้เวลาให้เกิดประโยชน์ โดยสิ่งที่อยากแนะนำเพิ่มเติมคือ Clubhouse ณ วันนี้ยังเป็นแค่จุดเริ่มต้น ยังมีอีกหลายฟังก์ชันที่ต้องศึกษาเพิ่มเติม ว่าห้องแบบไหนที่คนสนใจ และอีกเรื่องสำคัญคือความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้งาน

ทางด้านนายสิริพงศ์มองว่า Clubhouse เป็นอะไรที่แปลกใหม่ เป็นการย่อโลกให้สื่อสารกันได้ง่ายขึ้น เข้าไปหาความรู้ แบบเจาะลึก ไม่ใช่เป็นการสื่อสารทางเดียว แบบ YouTube หรือ Twitter พฤติกรรมของผู้ใช้งานก็ค่อนข้างมีมารยาท จากที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้ที่แสดงตัวตนจริง ก็ถือเป็นการกรองคนอีกชั้นหนึ่ง แม้พักหลังจะเริ่มเห็นชื่อแปลกๆ ไม่โชว์หน้าไม่โชว์รูปเข้ามา ตอนนี้ Clubhouse ก็เป็นสังคมที่ดีอีกสังคมหนึ่ง จึงอยากให้ช่วยกันดูแล สอดส่อง ให้มีความปลอดภัย และน่าเล่นอย่างนี้ต่อไป

สำหรับคุณหญิงสุดารัตน์ ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ใช้งานที่ชาว Clubhouse ได้เห็นแวะเวียนไปยังห้องต่างๆ อยู่เสมอ ให้ความเห็นว่า แพลตฟอร์มนี้ถูกออกแบบมาตอบโจทย์สร้างความเท่าเทียมกัน 3 อย่าง สำหรับนักการเมือง เป็นเวทีที่ดีทำให้ได้ฟังอย่างมีประโยชน์ อย่างห้องที่ทาง workpointTODAY จัด ทำให้มีโอกาสได้ฟังมุมมองที่หลากหลาย

อย่างที่สองคือ ทุกคนมีโอกาสเท่ากันหมด ไม่ว่าจะมีชื่อเสียงหรือไม่มีชื่อเสียง ถ้าเข้ามาอยู่ในห้องเดียวกันก็สามารถคุยด้วยกันได้ ข้อสุดท้ายเห็นว่า เป็นการเปิดพื้นที่ความรู้ใหม่ ที่แต่ละคนทั่วโลกมีความเชี่ยวชาญ เข้ามาเปิดห้องคุย เหมือนเข้าคอร์สอบรมฟรี ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี

 

ที่ผ่านมา Facebook และ Twitter ใช้เวลาหลายปีในการเข้ามามีบทบาทต่อรูปแบบการแสดงความคิดเห็นของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตชาวไทย แต่สำหรับ Clubhouse นั้น แม้จะเปิดให้บริการมาเกือบ 1 ปีแล้ว แต่เพิ่งเริ่มได้รับความนิยมในไทยมาได้เพียงไม่ถึง 2 สัปดาห์เท่านั้น

คงต้องจับตาดูกันต่อไปว่า แอปพลิเคชันนี้จะพัฒนาต่อไปในรูปแบบใด และการปรับตัวของแพลตฟอร์มใหญ่จะส่งผลอย่างไรบ้างต่อการแสดงความเห็นของผู้ใช้งานในอนาคต

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า