SHARE

คัดลอกแล้ว

กกท. โต้ กสทช. ยืนยันปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 (รอบสุดท้าย) ยืนยันต้องเคารพสิทธิ์ และการใช้สิทธิ์ของผู้ได้รับสิทธิ์

ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เปิดเผยถึงการปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 (รอบสุดท้าย) ว่า ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) มีหนังสือด่วนที่สุด 3 ฉบับ คือ

หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ สทช 2305/54243 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565

หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ สทช 2305/53709 ลงวันที่ 28 พฤศจิกายน 2565

หนังสือ ด่วนที่สุด ที่ สทช 2305/53355 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565

แจ้งให้การกีฬาแห่งประเทศไทย ปฏิบัติตามหนังสือทั้ง 3 ฉบับ และปฏิบัติให้ถูกต้องตามเงื่อนไขและวัตถุประสงค์ของบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเรื่องการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก ปี 2022 (รอบสุดท้าย) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 ในข้อ 2.2 ข้อ 2.4 ข้อ 2.8 และข้อ 2.10 นั้น

ผู้ว่าฯ กกท. ระบุว่า การกีฬาแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ขอเรียนให้ทราบว่า กกท. มิได้เพิกเฉยในการปฏิบัติให้เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเรื่องการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก ปี 2022 (รอบสุดท้าย) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565

เนื่องจาก กกท. ได้รับสิทธิ์ในการแพร่ภาพ แพร่เสียง การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก ปี 2022 (รอบสุดท้าย) (FIFA World Cup Final 2022) ระหว่างวันที่ 20 พฤศจิกายน ถึง 18 ธันวาคม 2565 ณ กรุงโดฮา รัฐกาตาร์ จากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) ตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ ฉบับลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2565

และต่อมา กกท. ได้ตกลงให้สิทธิ์ในการแพร่ภาพ แพร่เสียง การถ่ายทอดฟุตบอลโลกกับสำนักงาน กสทช. และผู้รับอนุญาตภายใต้การกำกับของ กสทช. ซึ่งให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกดังกล่าวตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเรื่องการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก ปี 2022 (รอบสุดท้าย) ลงวันที่ 14 พฤศจิกายน 2565

โดย กกท. ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้ในบันทึกข้อตกลงดังกล่าวในข้อ 2.2, 2.4, 2.8 และ 2.10 อย่างถูกต้องครบถ้วน รวมทั้งได้ปฏิบัติตามประกาศ สำนักงาน กสทช. เรื่องแนวปฏิบัติตามประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป ฉบับลงวันที่ 5 มิถุนายน 2563

กำหนดหลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป (หลัก Must Carry) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่ต้องส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการโทรทัศน์อันเป็นบริการสาธารณะได้อย่างทั่วถึง โดยทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงกฎหมายลิขสิทธิ์ด้วย

ต่อมาข้อเท็จจริงปรากฏว่า ได้มีผู้ให้บริการทีวีอินเทอร์เน็ตรายหนึ่ง ได้ให้บริการแพร่ภาพ แพร่เสียง การถ่ายทอดฟุตบอลโลก ปี 2022 (รอบสุดท้าย) ผ่านระบบไอพีทีวี (IPTV) และระบบ โอทีที (OTT) โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ได้รับสิทธิ์ในการแพร่ภาพ แพร่เสียง การถ่ายทอดสด ฟุตบอลโลก ปี 2022 (รอบสุดท้าย) จาก กกท. ทั้งไม่มีการเสียค่าตอบแทนใดใดให้แก่ผู้ได้รับสิทธิ์ดังกล่าว

เป็นเหตุให้ผู้ได้รับสิทธิ์จาก กกท. ได้ยื่นฟ้องผู้ให้บริการทีวีอินเทอร์เน็ตรายนั้นเป็นจำเลยต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ฐานละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและลิขสิทธิ์ รวมทั้งให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ห้ามจำเลยแพร่ภาพ แพร่เสียง การถ่ายทอดฟุตบอลโลก ปี 2022 (รอบสุดท้าย) ซึ่งศาลได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวตามที่ร้องขอ ต่อมาจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อศาลฯ ขอให้ศาลฯ เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว

ศาลฯ ได้มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลย โดยให้เหตุผลว่า การมอบสิทธิ์ในการแพร่ภาพ แพร่เสียง การถ่ายทอดฟุตบอลโลก ปี 2022 (รอบสุดท้าย) ที่ กกท. ให้สิทธิ์แก่ผู้ได้รับสิทธิ์จาก กกท. แต่เพียงผู้เดียวเป็นไปตามประกาศของ กสทช. ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนสามารถเลือกชมโทรทัศน์ได้หลายช่องทาง ทั้งในระบบฟรีทีวี ระบบดาวเทียม ระบบเคเบิล และในระบบโทรทัศน์ภาคพื้นดิน มิใช่เพียงแค่ช่องทางระบบไอพีทีวี (IPTV) เท่านั้น

ถือได้ว่าเป็นการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของหลัก Must Carry แล้ว อีกทั้งจำเลยมีผู้รับบริการเพียง 900,000 ราย ซึ่งเป็นจำนวนไม่มากนัก เมื่อเทียบกับจำนวนประชาชนในประเทศไทยที่รับชมการรับถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกในครั้งนี้ ทั้งไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่า จำเลยได้รับความเสียหายแต่อย่างใด นอกจากข้ออ้างที่ว่า ตนต้องปฏิบัติตามหลัก Must Carry ตามประกาศของ กสทช. เท่านั้น

ทั้งจำเลยก็มิได้เสียค่าตอบแทนใดๆ มีแต่ได้รับประโยชน์จากการเก็บค่าบริการจากผู้ใช้บริการเท่านั้น หากปล่อยให้จำเลยแพร่ภาพ แพร่เสียง การถ่ายทอดฟุตบอลโลก ปี 2022 (รอบสุดท้าย) ในระบบไอพีทีวี (IPTV) และระบบ โอทีที (OTT) ต่อไป จะเกิดความเสียหายแก่ผู้ได้รับสิทธิ์มากกว่า

ดร.ก้องศักด สรุปว่า จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น เป็นเรื่องที่มีการฟ้องร้องดำเนินคดีในการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาและลิขสิทธิ์ ต่อผู้ได้รับสิทธิ์ในการแพร่ภาพ แพร่เสียง การถ่ายทอดฟุตบอลโลก ปี 2022 (รอบสุดท้าย) จาก กกท.

กกท. ต้องเคารพในสิทธิ์และการใช้สิทธิ์ตามกฎหมายของผู้ได้รับสิทธิ์ดังกล่าว เป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องและไม่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสำนักงาน กสทช. กับ กกท. แต่อย่างใด

กกท. ขอยืนยันว่า ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไข ตามข้อตกลงดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามข้อ 2.2, 2.4, 2.8 และ 2.10 อย่างเคร่งครัดแล้ว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า