SHARE

คัดลอกแล้ว

World Economic Forum” รายงานขีดความสามารถในการแข่งขันของ 141 ประเทศ สิงคโปร์แซงหน้าอเมริกา ขึ้นแท่นประเทศที่มีความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลก ขณะที่ไทยคะแนนเพิ่มขึ้น แต่อันดับแย่ลง โดยตกจากอันดับ 38 ไปอยู่ที่อันดับ 40 ส่วนเวียดนามพัฒนาก้าวกระโดดขึ้นมา 10 อันดับ

เมื่อวันที่ 9 ต.ค.62 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นพันธมิตรจากประเทศไทยขององค์กร World Economic Forum (WEF) เผยแพร่รายงานดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลกประจำปี 2019 (Global Competitiveness Index : GCI)

ผศ.วิเลิศ ภูริวัชร คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ในปี 2562 ไทยมีดัชนีความสามารถทางการแข่งขันอยู่ในอันดับที่ 40 ลดลงจากปี 2561 ที่อยู่ในอันดับที่ 38 จากทั้งหมด 141 ประเทศ ส่วนคะแนนดีขึ้นจากปี 2561 ที่ได้ 67.5 คะแนน เพิ่มเป็น 68.1 คะแนน

พร้อมเปิดเผยว่า สาเหตุสำคัญที่อันดับประเทศไทยลดลง เนื่องจากคะแนนทางด้านการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและการขนส่งมีค่อนข้างน้อย ดังนั้นรัฐบาลควรเร่งให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบดังกล่าวให้ทัดเทียมกับอีกหลายประเทศ ซึ่งจะมีผลต่อความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชนในอนาคต

ขณะที่อันดับ 1 ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ได้ขึ้นเป็นอันดับ 1 ล้มแชมป์เก่า คือ สหรัฐฯ ซึ่งตกลงไปเป็นอันดับ 2 โดยอันดับ 3 -10  ได้แก่ ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น เยอรมนี สวีเดน สหราชอาณาจักร และเดนมาร์ก ตามลำดับ

จากรายงาน พบข้อสังเกตสำคัญ คือ เวียดนามเป็นประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดดสูงที่สุดในโลก โดยมีค่าดัชนีเพิ่มขึ้นถึง 3.5 คะแนน ทำให้อันดับขยับเพิ่มขึ้นได้ถึง 10 อันดับ จากอันดับที่ 77 เมื่อปีที่ผ่านมา ขึ้นเป็นอันดับที่ 67 ของโลกในปีนี้

ผศ.วิเลิศ ภูริวัชร กล่าวว่า ขณะนี้เวียดนามยังไม่ใช่คู่เเข่งที่น่ากลัวสำหรับไทย แต่หากเวียดนามรักษาการเติบโตลักษณะนี้ต่อเนื่องไปอีก 3 ปี จะถือว่าเป็นคู่เเข่งที่น่ากลัวของไทย อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับการพัฒนาและปรับตัวของไทยด้วย

“สาเหตุที่ทำให้เวียดนามขยับอันดับขึ้นมาเนื่องจากการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ตลาดที่มีขนาดใหญ่ พร้อมรองรับการลงทุนต่างชาติ และแรงงานราคาถูกและมีคุณภาพ” ผศ.ดร.วิเลิศ ภูริวัชร  คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว

https://www.facebook.com/worldeconomicforum/posts/10156424990236479

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า