SHARE

คัดลอกแล้ว

ขณะนี้โลกกำลังเผชิญกับวิกฤติสิ่งแวดล้อมในหลายด้าน ทั้งพื้นที่ป่าที่ลดลงจากไฟป่าและการถางป่าเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ น้ำแข็งในหลายจุดทั่วโลกที่กำลังละลายในอัตราเร่งที่น่ากลัว รวมถึงเพอร์มาฟรอสต์ (permafrost หมายถึงพื้นดินที่อยู่ในพื้นที่หนาวเย็นจนกลายเป็นน้ำแข็ง) ในซีกโลกเหนือที่กำลังละลายและปลดปล่อยเชื้อโรคที่ถูกแช่แข็งไว้ภายในออกมา

ทั้งหมดนี้ปฏิเสธไม่ได้เลย ว่ามีรากมาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก (climate change) ที่ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยโลกสูงขึ้นเรื่อยๆ

เหตุการณ์ทั้งหมดที่ทีมข่าวเวิร์คพอยท์รวบรวมมานี้ ไม่เพียงแต่เตือนว่าภัยจากภาวะโลกร้อนอาจใกล้ตัวกว่าที่คิด แต่อาจเป็นสัญญาณด้วยว่าอาจอีกไม่ไกลและไม่นาน ที่วิกฤติสิ่งแวดล้อมจะไปถึงจุดที่ไม่อาจแก้ไขและหวนย้อนกลับ

 

เมื่อวันที่ 15 สิงหาคมที่ผ่านมา เกาะกรีนแลนด์ได้สูญเสียน้ำแข็งในวันเดียวมากสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 11,000 ล้านตัน หรือเทียบได้กับน้ำในสระน้ำสำหรับแข่งขันมาตรฐาน 4.4 ล้านสระ

แต่วันดังกล่าวก็ไม่ใช่เพียงวันเดียวที่น้ำแข็งละลายอย่างมหาศาลที่กรีนแลนด์ เพราะหากเทียบกับช่วงทศวรรษ 1980 นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการตรวจวัดและพบว่า ปัจจุบันน้ำแข็งบนเกาะกรีนแลนด์ละลายเร็วกว่าช่วงเวลาดังกล่าวถึง 6 เท่า

เหตุการณ์นี้ไม่เพียงแต่จะกระทบกับประชากรที่อาศัยอยู่บนเกาะกรีนแลนด์เท่านั้น แต่จะยังกระทบคนทั่วโลกด้วยผ่านระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้น มีการประเมินว่านับตั้งแต่ปี 1972 เฉพาะน้ำแข็งที่ละลายจากกรีนแลนด์ได้ทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้น 1.2 เซนติเมตรแล้ว

 

ในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา มีอีกหนึ่งเหตุการณ์ทางสิ่งแวดล้อมสำคัญเกิดขึ้น นั่นคือไฟป่าที่ไซบีเรียทางตอนเหนือของประเทศรัสเซีย โดยภาวะแห้งแล้งและอุณหภูมิที่สูงกว่าปกติในปีนี้ ทำให้ไฟไหม้ป่าไซบีเรียในปีนี้หนักและกินพื้นที่กว้างกว่าทุกปี และทำลายพื้นที่ป่าไปกว่า 55,000 ตารางกิโลเมตร

สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์หลายคนกังวลก็คือ หลังจากเกิดไฟป่า เถ้าถ่านสีดำจะยังคงอยู่บนพื้นที่เต็มไปด้วยน้ำแข็ง สีดำของเถ้าถ่านเหล่านี้ดูดซับความร้อนได้ดีกว่าพื้นน้ำแข็งสีขาว และอาจเร่งให้กระบวนการหลอมละลายน้ำแข็งในไซบีเรียเร็วขึ้น และยิ่งเป็นการเร่งผลกระทบของภาวะโลกร้อน

 

 

พื้นที่น้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกาที่ขั้วโลกใต้กำลังหดตัวลงอย่างรวดเร็ว ข้อมูลงานวิจัยโดย Proceeding of the National Academy of Sciences ได้เก็บข้อมูลการขยายตัวและหดตัวของทะเลน้ำแข็ง (sea ice) ที่ทวีปแอนตาร์กติกา และพบว่าในช่วง 3 ปีระหว่างปี 2014-2017 พื้นที่น้ำแข็งของทวีปแอนตาร์กติกาหายไปกว่า 2.1 ล้านตารางกิโลเมตร หรือเทียบได้กับ 4 เท่าของพื้นที่ทั้งประเทศไทยการสูญเสียทะเล

น้ำแข็งของแอนตาร์กติกาจะยิ่งเร่งกระบวนการของภาวะโลกร้อนขึ้นไปอีก เนื่องจากปกติแล้วพื้นผิวสีขาวของแผ่นน้ำแข็งสะท้อนแสงแดดกว่า 50-70% กลับขึ้นไปสู่ชั้นบรรยากาศ แต่น้ำทะเลจะดูดซับพลังงานจากแสงแดดกว่า 90% เอาไว้

นั่นหมายความว่ายิ่งทวีปแอนตาร์กติกาสูญเสียทะเลน้ำแข็งไปมากขึ้นเท่าไหร่ พื้นที่ที่จะสะท้อนแสงแดดกลับไปก็จะยิ่งน้อยลง ในขณะที่พื้นที่น้ำทะเลที่จะเก็บกักพลังงานแสงแดดไว้ก็จะยิ่งมากขึ้น

 

อีกหนึ่งปรากฏการณ์ที่เกิดต่อเนื่องจากภาวะโลกร้อนก็คือ การทำให้ เพอร์มาฟรอสต์ (permafrost หมายถึงพื้นดินที่อยู่ในพื้นที่หนาวเย็นจนกลายเป็นน้ำแข็ง) ละลาย ผลเสียที่ตามมาจากการละลายของเพอร์มาฟรอสต์นี้ก็คือ แบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อโรคจำนวนหนึ่งที่ถูกแช่แข็งอยู่ในพื้นดินแช่แข็งเหล่านี้ จะตื่นขึ้นมามีชีวิตอีกครั้ง

เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เป็นอันตรายกับมนุษย์อย่างยิ่ง เพราะเชื้อโรคหลายตัวมนุษย์อาจไม่เคยพบและไม่เคยพัฒนาภูมิคุ้มกันมาก่อน ในอนาคตจึงมีความเสี่ยงที่อาจเกิดโรคระบาดชนิดใหม่จากเชื้อโรคที่ตื่นขึ้นมานี้ได้

ถึงตอนนี้ ไฟป่าได้ไหม้เผาป่าอเมซอนในทวีปอเมริกาใต้มา 3 สัปดาห์ติดแล้ว โดยในทุกๆ นาที พื้นที่ป่าอเมซอนกำลังโดนเผาทำลายเป็นพื้นที่มากกว่า 1 สนามฟุตบอล

อเมซอนถือเป็นป่าร้อนชื้นที่ใหญ่ที่สุดในโลก ลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งของป่าแห่งนี้คือ มันผลิตน้ำฝนเองครึ่งหนึ่งของฝนที่ตกลงในพื้นที่ทั้งหมด นั่นหมายความว่าหากพื้นที่ป่าถูกทำลายจนเหลือน้อยลง ความชื้นในพื้นที่และฝนที่จะตกลงมาก็จะน้อยลงไปด้วย

นักวิทยาศาสตร์ได้เคยประเมินไว้ว่า หากพื้นที่ป่าของอเมซอนถูกทำลายลงอีกเพียง 1 ใน 5 อาจทำให้อเมซอนเข้าสู่วังวนของความแห้งแล้ง ฝนตกลงมาไม่เพียงพอที่จะทำให้พื้นที่คงสภาพการเป็นป่าร้อนชื้นได้อีกต่อไป และในที่สุดอาจมีสภาพไม่ต่างจากทุ่งหญ้าสะวันนา

และหากสถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริง ผู้คนทั่วโลกก็ย่อมได้รับผลกระทบ เพราะปัจจุบันอเมซอนเปรียบเสมือนปอดของโลก ที่ผลิตออกซิเจนกว่า 20% ที่หมุนเวียนอยู่ทั่วโลก

 

กราฟที่เห็นอยู่นี้คืออุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกตั้งแต่ปี 1850 ถึงปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าโลกมีแนวโน้มร้อนขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งปี 2019 นี้ก็เป็นปีที่ร้อนที่สุดนับตั้งแต่ที่มีการจดบันทึกข้อมูลมา

คงต้องดูกันต่อไปว่าความร่วมมือเรื่องโลกร้อนในระดับโลก จะเพียงพอที่จะช่วยทำให้แนวโน้มที่โลกร้อนขึ้นนี้ย้อนกลับและไม่วิกฤติเกินไปจนไม่อาจหวนกลับได้หรือไม่

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า