SHARE

คัดลอกแล้ว

บุหรี่ไม่เพียงแต่คร่าชีวิตคน แต่ยังทำลายสิ่งแวดล้อมของเราด้วย ในแต่ละปีบุหรี่คร่าชีวิตประชากรทั่วโลกไปกว่า 8 ล้านคน และคร่าชีวิตคนไทยไปกว่า 81,000 คน ในขณะเดียวกัน การปลูกยาสูบยังทำลายพื้นดินเป็นบริเวณกว้าง ประมาณเทียบเท่า สวนหลวง ร. 9 เป็นจำนวนถึง 44,000 สวน ซึ่งก่อให้เกิดการทำลายป่าและมลพิษปนเปื้อนลงสูงสิ่งแวดล้อมของเราเป็นจำนวนมาก

ในปีนี้ วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2565 ได้กำหนดประเด็นรณรงค์คือ “บุหรี่ทำลายสิ่งแวดล้อม” ซึ่งตลอดวงจรตั้งแต่การปลูกต้นยาสูบ การผลิต การสูบ และขยะจากผลิตภัณฑ์ยาสูบและบุหรี่นั้นทำลายสิ่งแวดล้อม

ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตใบยาสูบรายใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นอันดับที่ 16 ของโลก การปลูกใบยาสูบนั้นต้องใช้สารเคมีทางการเกษตรที่เป็นอันตรายมากกว่าพืชชนิดอื่นๆ (สารกำจัดศัตรูพืช วัชพืช และแมลง) เอกสารเรื่องยาสูบและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมขององค์การอนามัยโลก ได้ระบุว่าประเทศไทยเป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการทำไร่ยาสูบ

หลังจากการเก็บเกี่ยว ใบยาสูบจะถูกนำไปบ่ม (ทำให้แห้ง) ซึ่งต้องใช้ไม้จำนวนมากเป็นเชื้อเพลิง ประมาณการว่าต้องใช้ต้นไม้หนึ่งต้นเพื่อการผลิตบุหรี่ 300 มวน จากสถิติพบว่าประเทศไทยผลิตบุหรี่ 3.6 หมื่นล้านมวนต่อปี13,14 ซึ่งจะยิ่งเพิ่มการทำลายป่า และมีส่วนทำให้ปริมาณป่าไม้ในประเทศไทยลดลงจาก ร้อยละ 53.5 ในปี 2504 เป็น ร้อยละ 31.7 ในปี 2562

การใช้กระดาษเป็นจำนวนมากยิ่งเพิ่มการทำลายป่า ทั่วโลกต้องใช้กระดาษความยาวถึง 6.4 กิโลเมตรทุกๆ ชั่วโมงเพื่อเป็นกระดาษห่อและบรรจุภัณฑ์บุหรี่ โดยรวมแล้ว ประมาณการว่ามีต้นไม้ 600 ล้านต้นถูกตัดโค่นลงทุกปีเพื่อการเพาะปลูก การบ่ม และผลิตผลิตภัณฑ์ยาสูบและบุหรี่

ก๊าซเรือนกระจกต่างๆ ที่เกิดจาการสูบบุหรี่มีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูบบุหรี่จำนวน 3 มวนก่อให้เกิดปริมาณ PM2.5 สูงถึง 10 เท่าของปริมาณ PM2.5 จากรถเครื่องยนต์ดีเซลที่จอดติดเครื่องเป็นเวลา 30 นาที ทั่วโลกพบว่ามีการสูบบุหรี่และผลิตภัณฑ์ยาสูบมากถึง 7.4 ล้านล้านมวนในปี 2562 และในประเทศไทย มีการสูบบุหรี่ประมาณ 3.9 หมื่นล้านมวนต่อปี23 หรือ กว่า 100 ล้านมวนต่อวัน จากปริมาณการสูบบุหรี่และผลิตภัณฑ์ยาสูบนี้ จึงประมาณการว่าจะมีปริมาณมลพิษทางอากาศจำนวนมหาศาลถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศของโลก

ประมาณเกือบสองในสามของขยะที่เกิดจากการสูบบุหรี่ หรือก้นกรองบุหรี่ถูกทิ้งอยู่ในสถานที่ต่างๆ เช่น ถนน สนามเด็กเล่น ชายหาด แม่น้ำ และมหาสมุทร ก้นกรองบุหรี่นั้นทำจากพลาสติก (เซลลูโลสอะซิเตต) ซึ่งมีสารพิษมากกว่า 4 พันชนิด ในแต่ละปีทั่วโลกมีก้นกรองบุหรี่กว่า 4.5 ล้านล้านชิ้นถูกทิ้งลงสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดเป็นอันดับหนึ่งของขยะพลาสติกในโลก การทิ้งก้นกรองบุหรี่นั้นทำลายระบบนิเวศน์ ทำให้เกิดน้ำท่วมเพราะอุดตันทางระบายน้ำ และก่อให้เกิดไฟป่า ขยะจากบุหรี่ที่ถูกทิ้งในแต่ละปีในประเทศไทยนั้นมีน้ำหนักเทียบเท่ากับช้างเอเซียเกือบ 6 พันตัว

การทิ้งก้นกรองบุหรี่บนชายหาดและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาตินั้นสร้างความกังวลในเชิงเศรษฐกิจ เนื่องจากธรรมชาติเป็นจุดขายของประเทศที่การท่องเที่ยวขับเคลื่อเศรษฐกิจเช่นประเทศไทย ภาคธุรกิจการท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้ประเทศไทยเกือบร้อยละ 20 ของ GDP ในปี 2562 และยังสร้างงานอีกกว่า 8 ล้านตำแหน่ง ในปี 2560 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ประมาณการว่ามีก้นกรองบุหรี่ถึงเกือบ 2 ล้านชิ้นถูกทิ้งบนชายหาดชื่อดัง 11 แห่งของไทย
รัฐบาลไทยได้ห้ามการสูบบุหรี่และทิ้งขยะก้นบุหรี่บนชายหาดชื่อดัง 24 แห่งตั้งแต่ปี 2561 มาตรการนี้ควรขยายให้ครอบคลุมอีก 333 ชายหาดที่เหลือทั่วประเทศไทย เพื่อปกป้องคนในชุมชน นักท่องเที่ยว และทรัพยากรธรรมชาติ

การควบคุมการสูบบุหรี่นั้นไม่เป็นแค่เพียงการปกป้องประชาชน แต่ยังเป็นการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศน์ และเศรษฐกิจ ประเทศไทยสามารถยกระดับการปกป้องได้โดยการเพิ่มภาษีบุหรี่ สนับสนุนชาวไร่ยาสูบให้ปลูกพืชทางเลือกเพื่อทดแทนยาสูบ ช่วยนักสูบให้เลิกบุหรี่ และออกกฎให้อุตสาหกรรมยาสูบรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น เป็นต้น ทั้งหมดทั้งมวลที่กล่าวมานี้ต้องการความร่วมมือจากทุกๆ ภาคส่วนในสังคม เช่น หน่วยงานในภาคการคลัง สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม เกษตร การศึกษา และประชาสังคม การบูรณาการการควบคุมการสูบบุหรี่ให้เป็นส่วนหนึ่งของการปกป้องสิ่งแวดล้อม และการปรับตัวทางสภาพภูมิอากาศจะช่วยเร่งความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย

เลิกสูบบุหรี่เพื่อโลกของเรา และทุกชีวิตบนโลกใบนี้

ผู้เขียน: เรอโน เมแยร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand) และ นายแพทย์จอส ฟอนเดลาร์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย (WHO Thailand)

เรอโน เมแยร์ ผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNDP Thailand)

นายแพทย์จอส ฟอนเดลาร์ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย (WHO Thailand)

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า