SHARE

คัดลอกแล้ว

กทม.เดินหน้ารณรงค์พื้นที่ปลอดบุหรี่ เปิด 6 พื้นที่ต้นแบบ เผยสถิตินักสูบหน้าใหม่น้อยลง 19% ขณะที่พบผู้สูงเริ่มตั้งแต่อายุ 15 ปี

วันที่ 30 พ.ค.2562 นายทวีศักดิ์ เลิศประพันธ์ รองผู้ว่าฯ กทม. เปิดโครงการกรุงเทพมหานครเขตปลอดบุหรี่ และรณรงค์เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลกปี 2562 ปีนี้องค์การอนามัยโลกกำหนดหัวข้อรณรงค์ คือ Tobacco and Lung Health และกระทรวงสาธารณสุขกำหนดคำขวัญในการรณรงค์สำหรับประเทศไทยคือ Tobacco burns your lungs หรือบุหรี่เผาปอด โดย กทม.ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดกิจกรรมรณรงค์เชิญชวนประชาชนงดสูบบุหรี่

จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 61 พบว่า ประเทศไทยมีผู้ที่เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ ปีละกว่า 50,000 คน หรือวันละ 140 คน คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจ 75,000 ล้านบาท
ในพื้นที่ กทม. มีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละกว่า 5,000 คน คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจประมาณ 7,500 ล้านบาท

ขณะที่ตัวเลขผู้สูบหรี่มีจำนวนลดลงแต่ลดลงอย่างช้าๆ ซึ่งเมื่อ 3 ปีที่แล้วมีตัวเลขผู้สูบบุหรี่ประมาณร้อยละ 20 ในปีนี้อยู่ที่ร้อยละ 19 ส่วนผู้สูบหน้าใหม่อายุลดลงจาก 17 ปี เป็น 15 ปี กทม.ให้ความสำคัญกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว มีการมุ่งเน้นลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ในพื้นที่กทม.อย่างต่อเนื่อง โดยส่งเสริมให้มีการจัดสภาพแวดล้อมให้เป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่ การป้องกันนักสูบหน้าใหม่ และส่งเสริมให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบบุหรี่

ขอบคุณภาพจาก สสส.

กทม.ได้เดินหน้ารณรงค์เนื่องในวันงดสูบบุหรี่โลก 31 พ.ค.2562 โดยมีพื้นที่ต้นแบบในการจัดพื้นที่ปลอดบุหรี่ จำนวน 6 แห่ง ได้แก่
1.สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพฯ เขตจตุจักร
2.ท่าอากาศยานดอนเมือง เขตดอนเมือง
3.ตลาดน้ำ เขตตลิ่งชัน
4.ถนนสีลม เขตบางรัก
5.ตลาดนัดจตุจักร 2 เขตมีนบุรี
6.อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เขตราชเทวี

สำหรับ กทม.มีผู้สูบบุหรี่ทั้งหมดประมาณ 1.2 ล้านคน ไม่ได้สูบบุหรี่ต่อเนื่อง (ไม่ได้ติดบุหรี่) ประมาณ 100,000 คน ขณะที่แผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ.2559-2562 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักถึงภาวะเสพติดและพิษภัยร้ายแรงของยาสูบ ป้องกันไม่ให้เกิดผู้เสพหน้าใหม่ เฝ้าระวังธุรกิจยาสูบและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ ฯสู่การปฎิบัติในระดับพื้นที่ที่สำคัญ คือความร่วมมือของทุกจังหวัดที่มีร่วมดำเนินการควบคุมยาสูบไปพร้อมๆ กัน โดยเน้นมาตรการ 3 ลด2 เพิ่มคือ ลดนักสูบหน้าใหม่ ลดจำนวนผู้สูบเดิมในชนบท ลดควันบุหรี่มือสองที่ทำงาน ที่สาธารณะ และที่บ้าน และเพิ่มผู้ขับเคลื่อนระดับพื้นที่ จังหวัดและท้องถิ่น พัฒนาระบบบริการและเพิ่มบริการเชิงรุกเพื่อช่วยเลิกบุหรี่

ผู้ที่สูบบุหรี่สามารถขอรับคำปรึกษาเพื่อเลิกสูบบุหรี่ได้ที่ ศูนย์บริการสาธารณสุข และโรงพยาบาลสังกัดกทม.ทุกแห่ง หรือขอรับคำปรึกษาได้ที่ ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ โทร.1600 ตลอด 24 ชั่วโมง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า