SHARE

คัดลอกแล้ว

ตามรายงานตัวเลขเศรษฐกิจไทยในปี 2567 พบว่า GDP เติบโตอยู่ที่ 2.6% ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เพราะได้ผลจากการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงปลายปี แต่ถึงอย่างนั้นในภาพรวมเศรษฐกิจไทยก็ยังโตช้ากว่าประ เทศอื่นๆ ในอาเซียน เช่น มาเลเซียและฟิลิปปินส์ 

เหตุผลก็มาจากปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ส่งผลกระทบไปถึงการปล่อยสินเชื่อ และการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐที่ล่าช้า แม้จะพยายามเร่งรัดแต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะฟื้นภาพรวมทั้งเศรษฐกิจ

ส่วนปี 2568 World Bank มองว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวดีขึ้น หรือคาดว่าจะเติบโตได้ที่ 2.9% โดยจะเติบโตจากปัจจัยภายในประเทศเป็นหลัก เพราะนักท่องเที่ยวน่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 40 ล้านคน จาก 35.3 ล้านคนในปี 2567

การบริโภคภาคเอกชนจะได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยเฉพาะโครงการเงินดิจิทัลประเมินเบื้องตันคาดว่ามีส่วนช่วยให้ GDP เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ขณะที่การส่งออกสินค้าคาดว่าจะชะลอตัวลงเล็กน้อย เนื่องจากการเติบโตที่ชะลอตัวในตลาดหลัก เช่น สหรัฐอเมริกาและจีนอย่างไรก็ตาม สิ่งที่ประเทศไทยต้องทำนั้นมีมากมาย โดย World Bank ได้ประเมินสถานการณ์พร้อมข้อเสนอแนะนำสำหรับประเทศไทย ผ่าน The Thailand Economic Monitor 2025 ซึ่งรายงานฉบับนี้เน้นไปที่การปลดล็อกศักยภาพการเติบโตของ SMEs และสตาร์ทอัพ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญของเศรษฐกิจไทย โดยให้คำแนะนำหลัก 4 ด้าน ได้แก่ 

1.เพิ่มการเข้าถึงแหล่งเงินทุน

  • ปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อให้ SMEs และสตาร์ทอัพเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น
  • ส่งเสริมการลงทุนจากภาคเอกชน เช่น กองทุนร่วมลงทุน (Venture Capital) และการออกตราสารหนี

2.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนธุรกิจใหม่

  • สร้างศูนย์นวัตกรรมและเครือข่ายสนับสนุนสตาร์ทอัพ
  • ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลและระบบโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพ

3.พัฒนาทักษะและศักยภาพแรงงาน

  • ส่งเสริมการศึกษาและฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและนวัตกรรม
  • กระตุ้นให้ภาคธุรกิจและมหาวิทยาลัยทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาทักษะที่ตรงกับความต้องการของตลาด

4.ปรับปรุงกฎระเบียบและสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ

  • ลดอุปสรรคด้านกฎระเบียบที่ขัดขวางการเติบโตของ SMEs และสตาร์ทอัพ
  • ปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาและการทำธุรกรรมดิจิทัล

นอกจากนี้ ในด้านภาพรวมของเศรษฐกิจไทย ทั้งการคลังและโครงสร้างเศรษฐกิจ  World Bank  ได้วิเคราะห์และให้ข้อเสนอแนะ ดังนี้

เพิ่มความยืดหยุ่นนโยบายการคลัง  เพราะในปีนี้การคลังต้องเจอกับ 3 ความท้าทายที่สำคัญ คือสวัสดิการผู้สูงอายุ การกระตุ้นเศรษฐกิจและการรักษาระดับหนี้สาธารณะ  สำหรับข้อเสนอแนะมีดังนี้

  • ปรับลดการอุดหนุนพลังงานที่ไม่เป็นธรรมต่อการกระจายรายได้ โดยควรเปลี่ยนไปเน้นการให้ความช่วยเหลือทางสังคมและการโอนเงินแบบมุ่งเป้ามากขึ้นเพื่อสนับสนุนครัวเรือนที่เปราะบาง
  • เพิ่มรายได้จากภาษีส่งเสริมการลดความเหลื่อมล้ำ เช่น การปรับอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มและการนำมาตรการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้ ร่วมกัน เป็นต้น 
  • เร่งการลงทุนของภาครัฐในโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีใหม่และทุนมนุษย์ที่สนับสนุนและส่งเสริมซึ่งกันและกัน จะสามารถดึงดูดการลงทุนจากภาคเอกชนและกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจ

ปฏิรูปโครงสร้างความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญในการกระตุ้น การเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว  แต่ความสามารถในการแข่งขันที่น้อยจะทำให้ประเทศไทยอาจไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการเป็นประเทศที่มีรายได้สูงภายในปี 2580 ได้การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันจึงเป็นปัจจัยสำคัญ

  • เพิ่มการแข่งขันในตลาดภายในประเทศ ช่วยลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด ปรับปรุงกรอบการกำกับดูแล และเพิ่มความยืดหยุ่นของตลาดแรงงาน จะช่วยให้บริษัทที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถเติบโตและขยายกิจการได้
  • สนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตที่ดีและมีคุณภาพมากขึ้น

ในอดีตประเทศไทยเคยเอาชนะความท้าทายต่างๆ มาแล้วหลายครั้ง และกำลังยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญมาตลอด 50 ปีที่ แต่เชื่อว่าประเทศไทยจะสามารถก้าวผ่านความท้าทายครั้งนี้ไปได้เช่นกัน  

ซึ่งการดำเนินการตามข้อเสนอแนะเหล่านี้จะช่วยให้ประเทศไทยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและเติบโตอย่างยั่งยืนในเศรษฐกิจโลกที่ปัจจุบันกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า