SHARE

คัดลอกแล้ว

หากย้อนกลับไปเมื่อ 22 ปีก่อน ในวันที่ความรักสำหรับกลุ่มเพศหลากหลาย (LGBTQ) ยังไม่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง เนเธอร์แลนด์นำร่อง อนุมัติให้กฎหมายสมรสเท่าเทียมผ่านเป็นฉบับแรกของโลก และยังเป็นแม่แบบให้อีกหลายประเทศประกาศกฎหมายฉบับเดียวกันนี้ในประเทศของตัวเอง

ในระหว่างสองทศวรรษนับตั้งแต่กฎหมายมีผลบังคับใช้ คู่รัก LGBTQ+ หลายพันคู่แต่งงานกันในเนเธอร์แลนด์ ซึ่งคิดเป็น 1.7% ของการแต่งงานทั้งหมด ตามรายงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยคู่รักเลสเบี้ยนราว 750 คู่ และคู่รักเกย์ 620 คู่ แต่งงานกันโดยเฉลี่ยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา และปัจจุบันมีคู่รักเพศหลากหลายที่แต่งงานกันแล้วประมาณ 20,000 คู่ อาศัยอยู่ในประเทศ ตามข้อมูลอย่างเป็นทางการ

นับตั้งแต่เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในอัมสเตอร์ดัมกว่า 20 ปีที่แล้ว สมรสเท่าเทียมได้ถูกกฎหมายใน 34 ประเทศและดินแดนทั่วโลก รวมถึงเกาะที่ปกครองตนเองอย่างไต้หวัน 

เนเธอร์แลนด์เอฟเฟค เสมือนแรงกระเพื่อมให้ประเทศอื่นทั่วโลกทยอยประกาศให้สมรสเท่าเทียมถูกกฎหมาย TODAY จะมาไล่ไทม์ไลน์ สมรสเท่าเทียมรอบโลกให้ดู

ยุโรป

ปี 2001

เนเธอร์แลนด์: เป็นประเทศแรกของโลก ที่ทำให้การสมรสของเพศเดียวกันถูกด้วยกฎหมาย หลังจากสภานิติบัญญัติผ่านกฎหมายในเดือนธันวาคม ปี 2000 และเป็นแม่แบบให้หลาย ๆ ประเทศทั่วโลกเดินตามรอย

ปี 2003

เบลเยียม: ประเทศที่สอง ที่ทำให้สมรสเท่าเทียมถูกกฎหมายต่อจากเนเธอร์แลนด์

ปี 2005

สเปน: ประเทศที่สาม ที่ทำให้การแต่งงานสำหรับเพศเดียวกันถูกกฎหมาย หลังจากการลงคะแนนเสียงในรัฐสภาที่มีคะแนนสูสีกันระหว่างทั้งสองฝ่าย

ปี 2009

นอร์เวย์: สมรสเท่าเทียมมาแทนที่กฎหมายคู่ชีวิต 1973 

สวีเดน: คู่รัก LGBTQ+ ในสวีเดนได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนคู่ชีวิตได้เมื่อปี 1995 ก่อนสมรสเท่าเทียมจะถูกกฎหมายในปี 2009

ปี 2010

ไอซ์แลนด์: หลังจากที่สมรสเท่าเทียมมีผลทางกฎหมาย อดีตนายกรัฐมนตรี โจฮานนา ซิกูร์ดาร์โดตีร์ แต่งงานกับ โยนีนา เลโอซดอตตีร์ คู่รักที่รักกันมายาวนาน และเป็นคู่รัก LGBTQ+ คู่แรก ที่แต่งงานภายใต้กฎหมายดังกล่าว

โปรตุเกส: สมรสเท่าเทียมได้รับการอนุมัติจากศาลรัฐธรรมนูญโปรตุเกส

ปี 2012

เดนมาร์ก: รัฐสภาเดนมาร์กผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม หลังจากได้รับพระบรมราชานุญาตจากสมเด็จพระราชินีนาถมาร์เกรเธอที่ 2 ในขณะที่กรีนแลนด์ ประเทศอาณานิคมของเดนมาร์ก ผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียมทั่วประเทศในปี 2016

ปี 2013

ฝรั่งเศส: หลังการถกเถียงกันอย่างเผ็ดร้อนกว่า 136 ชั่วโมง สมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศส ได้ให้ผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม และอนุญาตให้คู่รัก LGBTQ+ สามารถรับบุตรบุญธรรมได้ด้วย

ปี 2014

สหราชอาณาจักร: การสมรสของคู่รัก LGBTQ+ ประกาศใช้อย่างถูกกฎหมายเกิดขึ้นก่อนในอังกฤษและเวลส์ ในขณะที่ไอร์แลนด์เหนือ สมรสเท่าเทียมถูกกฎหมายในปี 2020

ปี 2015

ไอร์แลนด์: ประเทศแรกที่สมรสเท่าเทียมถูกกฎหมาย ผ่านการลงประชามติด้วยการเห็นชอบของผู้มีสิทธิเลือกตั้งไอริชจำนวน 6 ใน 10 (62%) 

ลักเซมเบิร์ก: สภาผู้แทนราษฎรลักเซมเบิร์ก ผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียมด้วยคะแนน 56 ต่อ 4 และในเวลาต่อมา ซาวีเยร์ เบตแตล นายกรัฐมนตรีลักเซมเบิร์ก ได้แต่งงานกับคู่รัก และเป็นคู่รัก LGBTQ+ คู่แรกของประเทศสมาชิก EU

ปี 2017

ฟินแลนด์: รัฐสภาฟินแลนด์ให้ผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียมด้วยคะแนน 101 ต่อ 90 ในปี 2014 ก่อน เซาลี นีนิสเตอ ประธานาธิบดีฟินแลนด์ จะลงนามในกฎหมายฉบับนี้ในปี 2015 ก่อนจะมีการรับรองสมรสเท่าเทียมอย่างเป็นทางการในปี 2017 ในที่สุด

เยอรมนี: สภากลางของเยอรมนีผ่านกฎหมายการสมรสของกลุ่มเพศหลากหลายด้วยคะแนน 393 ต่อ 226 คะแนน ทำให้เยอรมนีเป็นประเทศแรกของยุโรปกลาง ที่จัดให้สมรสเท่าเทียมถูกต้องตามกฎหมาย

มอลตา: ในปี 2014 มอลตาได้ประกาศใช้กฎหมายคู่ชีวิตสำหรับรักเพศหลากหลายและคู่รักเพศตรงข้าม โดยตัวกฎหมายให้สิทธิแก่คู่รัก รวมถึงการแต่งงานและสิทธิในการรับบุตรบุญธรรมร่วมกัน ก่อนที่สมรสเท่าเทียมจะถูกประกาศใช้เป็นกฎหมายในภายหลัง (2017)

ปี 2019

ออสเตรีย: จากการที่รัฐบาลออสเตรียประกาศให้สิทธิในการแต่งงานของคู่รักเพศหลากหลาย ทำให้ออสเตรียเป็นประเทศที่สองของยุโรปกลางที่ประกาศใช้กฎหมายสมรสเท่าเทียม

ปี 2022

สโลวีเนีย: ประเทศคอมมิวนิสต์แรกในยุโรปตะวันออกที่ประกาศกฎหมายสมรสเท่าเทียม

สวิตเซอร์แลนด์: เกือบสองในสามของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (64.1%) ลงคะแนนเสียงสนับสนุน สมรสเท่าเทียม ให้ถูกกฎหมายในการลงประชามติปี 2022

ปี 2023

อันดอร์รา: กฎหมายสมรสเท่าเทียมถูกประกาศโดยเจ้าผู้ครองร่วมอันดอร์รา เอ็มมานูเอล มาครง ในปี 2022 ก่อนจะมีผลบังคับใช้ในปีต่อมา (2023)

อเมริกาเหนือ

ปี 2005

แคนาดา: สมรสเท่าเทียมถูกประกาศใช้ในจังหวัดส่วนใหญ่ในแคนาดา ก่อนที่รัฐจะผ่านกฎหมายฉบับดังกล่าวในระดับชาติในปี 2005

ปี 2015

สหรัฐอเมริกา: 36 รัฐ และวอชิงตัน ดี.ซี.นำร่องกฎหมายสมรสเท่าเทียม ก่อนศาลสูงสุดสหรัฐฯ จะตัดสินในการรับรองการแต่งงานของกลุ่ม LGBTQ+ ทั่วประเทศในภายหลัง

ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน

ปี 2010

อาร์เจนตินา: ประเทศแรกในอเมริกาใต้ที่อนุญาตให้คู่รัก LGBTQ+ แต่งงานกันได้โดยถูกกฎหมาย

ปี 2013

บราซิล: หลังสภายุติธรรมแห่งชาติมีคำตัดสิน สั่งให้ทนายความทุกรัฐออกใบอนุญาตและจัดงานแต่งงานระหว่างกลุ่ม LGBTQ+ ทำให้บราซิลเป็นประเทศที่สองในอเมริกาใต้ ที่ประกาศผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม

อุรุกวัย: อุรุกวัยเป็นประเทศแรกในลาตินอเมริกาที่บังคับใช้กฎหมายคู่ชีวิตในช่วงปี 2008 ก่อนที่สมรสเท่าเทียมจะถูกประกาศใช้

ปี 2016

โคลัมเบีย: ศาลรัฐธรรมนูญโคลอมเบียรับรองการแต่งงานของคู่รัก LGBTQ+ ด้วยคะแนนเสียง 6 ต่อ 3

2019

เอกวาดอร์: หลังจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ว่าการห้ามการแต่งงานของเพศเดียวกันนั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญของเอกวาดอร์ จึงทำให้การแต่งงานของกลุ่ม LGBTQ+ ถูกกฎหมาย แต่การรับบุตรบุญธรรมยังจำกัดเฉพาะคู่รักเพศตรงข้ามเท่านั้น

2020

คอสตาริกา: ประเทศแรกในอเมริกากลางที่อนุญาตให้คู่รัก LGBTQ+ แต่งงานกันได้โดยถูกกฎหมาย

2022

ชิลี: วุฒิสภาชิลีผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียมในปี 2021 ก่อนส่งไปให้สภาผู้แทนราษฎรให้การรับรองในเวลาต่อมา ก่อนสภาแห่งชาติทั้งสองจะอนุมัติฉบับเดียวกันในภายหลัง

คิวบา: การเปลี่ยนแปลงที่อนุญาตให้ LGBTQ+ แต่งงานโดยถูกกฎหมาย เป็นส่วนหนึ่งของการลงประชามติในวงกว้างเกี่ยวกับกฎหมายครอบครัว ด้วยคะแนนเสียง 66.9% ต่อ 33.1%

เม็กซิโก: สมรสเท่าเทียมถูกกฎหมายทั่วประเทศ หลังศาลสูงสุดเม็กซิโกประกาศว่า การจำกัดสิทธิในการแต่งงานของกลุ่มเพศหลากหลายขัดต่อรัฐธรรมนูญ

แอฟริกาใต้สะฮารา

ปี 2006

แอฟริกาใต้: เป็นเพียงประเทศเดียวในแอฟริกา ที่การแต่งงานของ LGBTQ+ ถูกกฎหมาย ในขณะที่ประเทศอื่น ๆ ในแอฟริกา ออกกฎหมายที่จำกัดสิทธิของกลุ่มเพศหลากหลายอย่างต่อเนื่อง

เอเชีย-ออสเตรเลีย

ปี 2013

นิวซีแลนด์: สภาผู้แทนราษฎรนิวซีแลนด์ผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียมด้วยคะแนนเสียง 77 ต่อ 44 ก่อนได้รับพระบรมราชานุญาตเพื่อนำไปสู่การเป็นข้อกฎหมายบังคับใช้ในเวลาต่อมา

ปี 2017

ออสเตรเลีย: ประชาชนทั่วประเทศลงประชามติ สนับสนุนสมรสเท่าเทียม ด้วยคะแนน 61.6% ต่อ 38.4% 

ปี 2019

ไต้หวัน: เป็นเพียงดินแดนเดียวในเอเชีย ที่อนุญาตให้คู่รัก LGBTQ+ แต่งงานกันได้อย่างถูกกฎหมาย

จากการต่อสู้เพื่อให้ได้มาด้วยสิทธิอันชอบธรรมในการสมรส ในปี 2023 มี 34 ประเทศทั่วโลก ประกาศให้การสมรสเพศเดียวกัน (same-sex marriage) ถูกกฎหมาย ก้าวเล็ก ๆ ที่ใช้เวลาดำเนินการกว่า 20 ปี จะเป็นไฟความหวังใหม่ให้ประเทศอื่น ๆ ผ่านกฎหมายฉบับต่อไปในอนาคต รวมถึงไทย ที่ว่าที่รัฐบาลใหม่ให้คำมั่น ลงนามใน MOU 8 พรรคร่วมว่า จะทำให้สมรสเท่าเทียมเกิดขึ้นจริง

 

ที่มา: Pewresearch, nbcnews, apnews, apnews, apnews, forbes, openlynews, cbs


 

My Country Talks ร่วมกับสำนักข่าว TODAY ขอเชิญผู้ที่มีความสนใจ เข้าร่วมกิจกรรม The World Talks ที่จะชวนคนจากหลากหลายพื้นที่ของโลกมาแลกเปลี่ยนไอเดีย เรื่องราว มุมมอง ผ่านการสนทนาออนไลน์แบบ 1:1 ในวันที่ 25 มิ.ย. 2023

ผู้เข้าร่วมจะได้รับโอกาสพูดคุยกับผู้ที่มาจากต่างวัฒนธรรม ต่างบริบท ต่างแนวคิด โดยคัดจากการตอบคำถามในแง่มุมต่างๆ ทั้งเรื่องสภาพอากาศ รัสเซีย-ยูเครน ความเท่าเทียม ผู้อพยพ และประเด็นอื่นๆ

โดยระบบจะทำการจับคู่คุณกับคนที่มีแนวคิดไม่เหมือนกับคุณ ซึ่งอาจมาจากประเทศใดก็ได้ในโลก เพื่อที่จะได้มีโอกาสพูดคุยกันผ่านทางช่องทางออนไลน์

สำหรับกิจกรรม World Talks จะมีขึ้นในวันที่ 25 มิ.ย. 2023 ปัจจุบันมีผู้ที่สนใจเข้าร่วมกว่า 5,000 คน จากกว่า 100 ประเทศแล้ว

หากท่านสนใจเข้าร่วม สามารถเริ่มต้นจากการตอบคำถามด้านล่างนี้ หรือเข้าไปที่ https://www.theworldtalks.org/invite *คำถามและบทสนทนาเป็นภาษาอังกฤษ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า