Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ใช้มือถือและคอมพิวเตอร์ทั้งวันจนปวดมือ หรือวิ่งทุกวันแล้วเท้าระบม ดูจะเป็นปัญหาที่คนส่วนใหญ่ในยุคนี้กำลังพบเจอกันอยู่ โดยข้อมูลน่าสนใจจากจากศัลยแพทย์โรงพยาบาลกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข (kdms hospital) เปิดเผยว่า ในอดีตกลุ่มอาการเหล่านี้สามารถพบได้ทั่วไปในผู้สูงอายุที่ร่างกายเริ่มเสื่อมสภาพแล้ว แต่ปัจจุบันกลับพบมากขึ้นเรื่อย ๆ ในคนที่อายุน้อย ซึ่งสาเหตุหลักคือไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นการมีอุปกรณ์เทคโนโลยีเป็นอวัยวะที่ 33 การทำงาน Work From Home ของมนุษย์ออฟฟิศที่ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลา การทำงานหนักมากเกินไปของคนบางกลุ่ม รวมถึงเทรนด์รักสุขภาพที่กระตุ้นให้หลายคนต้องออกกำลังกายหนักขึ้น ใช้ชีวิตแอคทีฟมากขึ้นด้วย

โดยการปวดเท้า ปวดมือ ที่เจอกันบ่อย ๆ นั้น มักจะเป็นปัญหากวนใจที่ส่งผลกระทบต่อการชีวิตประจำวันของหลายคนมากพอสมควร จนอาจทำให้รู้สึกว่าใช้ชีวิตได้ไม่เต็มที่เหมือนก่อน WorkpointTODAY เลยอยากชวนทุกคนมาหาคำตอบไปพร้อมกันว่า กลุ่มอาการปวดมือ ปวดเท้าที่เจอได้บ่อยมีสาเหตุมาจากอะไร ปวดมากแค่ไหนถึงต้องรีบพบแพทย์ แล้วต้องรักษาอย่างไรให้หายขาด

อาการปวดเท้ากับโรคยอดฮิต

นพ. กรกช ธรรมผ่องศรี รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ และศัลยแพทย์ด้านเท้าและข้อเท้า โรงพยาบาลกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข กล่าวว่า อาการปวดเท้าที่เจอบ่อยในคนยุคนี้ ส่วนหนึ่งมาจาก “โรครองช้ำ” หรือพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ ทำให้มีความรู้สึกปวดแปลบบริเวณส้นเท้าและฝ่าเท้า ซึ่งเกิดจากการใช้งานเท้ามากเกินไป ไม่ได้บริหารเส้นเอ็น มีกล้ามเนื้อน่องหรือเอ็นร้อยหวายตึงกว่าปกติ เช่น ยืนนาน เดินไกล วิ่งระยะทางไกล เป็นต้น รวมถึงการใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมของคนที่ชอบวิ่งด้วย โดยในอดีตคนเราจะมีปัญหานี้กันตอนอายุเยอะแล้ว แต่เดี๋ยวนี้ที่คนหันมาออกกำลังกายมากขึ้น เล่นกีฬากันมากขึ้น จึงทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้ได้เร็วขึ้นกว่าเดิม

ในขณะที่ “โรคเท้าแบน” หรือการที่อุ้งเท้าแบนติดพื้นมากเกินไป ก็เป็นเรื่องที่คนให้ความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งความจริงแล้วเราสามารถพบเจอคนเท้าแบนได้ทั่วไป ไม่ได้ผิดปกติอะไร แต่จะเป็นปัญหาได้ก็ต่อเมื่อเกิดอาการปวดเท้า เพราะเส้นเอ็นใต้ฝ่าเท้าทำงานหนัก เช่น คนเท้าแบนมาก ๆ ที่ชอบวิ่งออกกำลังกายตั้งแต่เด็ก เมื่อเข้าสู่วัยทำงานก็จะเริ่มเจ็บปวดขึ้นมาได้ เป็นต้น ดังนั้นผู้ปกครองสมัยนี้จึงจะรีบพาลูกหลานมาพบแพทย์แต่เนิ่น ๆ

โรคที่ไม่ควรมองข้ามเมื่อปวดมือ

ส่วนอาการปวดมือที่พบได้บ่อยในตอนนี้ ผศ.นพ. ชินกาจ บุญญสิริกูล ศัลยแพทย์ด้านมือ ข้อมือ และแขน โรงพยาบาลกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข เปิดเผยว่า ได้แก่ “โรคนิ้วล็อก” ที่เกิดจากการใช้งานนิ้วมือ มือ และข้อมือในชีวิตประจำวันมากเกินไป (Overuse) ในลักษณะของการใช้งานเบา ๆ แต่มีการทำซ้ำต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น มนุษย์ออฟฟิศที่ทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นาน ๆ คนที่เล่นมือถือท่าเดิมทั้งวัน หรือสิ่งที่หลายคนอาจมองข้ามไป อย่างการทำงานบ้าน และขับรถนาน เป็นต้น ทำให้เส้นเอ็นในการงอนิ้วมือได้รับการบาดเจ็บ ปลอกหุ้มเส้นเอ็นเสียดสีกันจนบวม โดยช่วงแรกจะไม่มีอาการอะไร แต่หากยังมีพฤติกรรมเดิมซ้ำอีก ก็จะเริ่มปวดนิ้วปวดมือในช่วงเช้า และเพิ่มขึ้นเป็นทั้งวัน หรืออาจงอนิ้วหรือกำมือตามปกติไม่ได้เลย ซึ่งมักจะมาพร้อมอาการมือชา หรือที่คนเรียกกันว่าพังผืดทับเส้นประสาทด้วย

รวมไปถึง “ปวดมือจากอุบัติเหตุ” เพราะคนรุ่นใหม่มีความเต็มที่กับชีวิต กิจกรรมเลยมีความโลดโผนมากขึ้น เช่น เซิร์ฟสเก็ต สเก็ตบอร์ด โรลเลอร์สเก็ต และกีฬาเอ็กซ์ตรีมอื่น ๆ ที่ทำให้หกล้มและบาดเจ็บได้ง่าย

ปวดเท้าปวดมือไม่ร้ายแรงแต่กวนใจ

แม้อาการปวดมือปวดเท้าไม่ได้ร้ายแรงถึงชีวิต แต่หากปล่อยไว้นานก็อาจจะกลายเป็นปัญหากวนใจที่รบกวนการใช้ชีวิตได้ เช่น นิ้วล็อกทำให้หยิบจับสิ่งของลำบาก ใช้คอมหรือมือถือไม่คล่องเหมือนเดิมเพราะงอนิ้วไม่ได้ ส่วนคนเป็นรองช้ำก็จะเดินได้ไม่ไกล บางที่ไปชอปปิ้งแป๊บเดียวก็เมื่อยเท้าแล้ว หรือวิ่งมาราธอนได้ไม่ดีเท่าเดิม นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมคนที่มีอาการปวดควรรีบรักษา

สำหรับความสงสัยของหลายคนที่ว่าต้องปวดมากแค่ไหนถึงควรพบแพทย์ ศัลยแพทย์ทั้งสองท่านให้คำแนะนำว่า “เมื่ออาการปวดนั้น กระทบต่อการใช้ชีวิต” เพราะโดยทั่วไปแล้วอาการเจ็บปวดร่างกายจากการใช้ชีวิตประจำวัน จะสามารถหายได้เองใน 1 – 2 วัน แต่ถ้าหยุดพักการใช้งานมือหรือเท้า และกินยาแล้ว แต่ไม่ดีขึ้นใน 3 – 7 วัน ควรรีบพบแพทย์

อาการปวดหายได้ถ้ารักษาอย่างเหมาะสม

นพ. กรกช พูดถึงวิธีการรักษาว่า อาการปวดเท้าจากรองช้ำและเท้าแบน สามารถหายได้ถ้ารักษาอย่างเหมาะสม คือยืดเหยียดเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อบริเวณน่อง เอ็นร้อยหวาย และฝ่าเท้าสม่ำเสมอ หรือใช้แผ่นรองเท้า เพื่อเสริมความนุ่มกระจายแรงลดอาการเจ็บปวด แต่หากอาการปวดไม่ลดลง จะให้การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shockwave) ประกอบกับการทำกายภาพบำบัดด้วยวิธีอื่นๆร่วม มักจะทำให้อาการดีขึ้นได้มาก และวิธีสุดท้าย ก็คือการผ่าตัดส่องกล้องพังผืดฝ่าเท้าซึ่งเป็นการผ่าตัดวิธีใหม่ แผลเล็กเจ็บน้อยและฟื้นตัวไว แต่มักจะทำเมื่ออาการไม่ดีขึ้นจริง ๆ ส่วนวิธีที่ควรหลีกเลี่ยงคือการฉีดสเตียรอยด์เข้าไปบริเวณที่ปวด เพราะพังผืดฝ่าเท้าหรือเส้นเอ็นที่บาดเจ็บมีโอกาสปวดซ้ำได้อีก หรือซ้ำร้ายกว่านั้นอาจฉีกขาดถาวร

สำหรับการรักษาเบื้องต้นของอาการปวดมือ และข้อมือจากการใช้งานที่มากเกินไปหรือผิดท่าทาง ผศ.นพ. ชินกาจ แนะนำว่า ให้เริ่มโดยการพักการใช้งานมือด้านนั้นไปก่อน หลีกเลี่ยงท่าทางหรือกิจกรรมที่ทำให้เจ็บมากขึ้น อาจรับประทานยาต้านการอักเสบ และการทำกายภาพบำบัด หากรักษาเบื้องต้นสักระยะเเล้ว  อาการยังไม่ดีขึ้นควรรับการปรึกษาดูแลจากแพทย์ ไม่ควรปล่อยไว้ให้อาการรบกวนเป็นเวลานาน

“แพทย์เฉพาะทางจะเป็นคนเลือกการรักษาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วย ทั้งในเรื่องของวิธีการและระยะเวลาที่ไม่ช้าหรือเร็วเกินไป เพราะผู้ป่วยแต่ละคนจะมีวิธีการรักษาไม่เหมือนกัน บางคนอาจกินยาอย่างเดียวแล้วหาย แต่บางคนอาจต้องผ่าตัด”

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นอาการปวดเท้าหรือมือ หากปวดมากจนต้องพบแพทย์ ผู้ป่วยควรเลือกโรงพยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อการรักษาที่ตอบโจทย์ อย่างเช่น โรงพยาบาลกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข (kdms hospital) โรงพยาบาลเฉพาะทางกระดูกและข้อที่มีศัลยแพทย์มากฝีมือรวมถึงบริการทางการแพทย์ครอบคลุมทั้งด้านกระดูก ข้อ กล้ามเนื้อ และเวชศาสตร์ฟื้นฟูแบบครบวงจร พร้อมช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้เร็วที่สุด ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างความเป็นไปได้ให้ทุกการเคลื่อนไหว

โลกที่เปลี่ยนไปมักจะมาพร้อมไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย อย่าปล่อยให้การใช้ชีวิตของคุณสะดุด หากมีอาการปวดเท้าปวดมือต่อเนื่องยาวนาน และเริ่มกระทบกับชีวิตประจำวัน สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาได้ที่เบอร์ 02 080 8999 หรือ Line @kdmshospital หรือคลิก https://bit.ly/3FYv6Ru และดูรายละเอียดการรักษาได้ที่เว็บไซต์ https://kdmshospital.com/

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า