SHARE

คัดลอกแล้ว
วันที่​ 3 ก.ค.พล.ต.ท.เพิ่มพูน ชิดชอบ ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมด้วย นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกันแถลงผลการทลายแหล่งลักลอบผลิตยาสัตว์เถื่อนโดยไม่ได้รับอนุญาต
หลังจากเกิดกรณีมีผู้ไปวิ่งออกกำลังกายในสวนสาธารณะในเขตเทศบาลนนทบุรี โพสต์เตือนภัย ว่าถูกเจาะขวดน้ำดื่มเพื่อวางยา อย. จึงได้ประสานกับ ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) สืบสวนและตรวจสอบข้อมูล พบว่าเพจเฟซบุ๊กชื่อ “DR.VET ฟาร์ม เซ็นเตอร์” ได้โพสต์โฆษณาขายยาผิดกฎหมาย ซึ่งมีทั้งยาเอ็กซ์-ลาซีน (X-LAZINE) ซึ่งเป็นยาสลบสำหรับสัตว์และเป็นยาประเภทยาควบคุมพิเศษ หากจะขายได้ต้องมีใบสั่งยาจากสัตวแพทย์เท่านั้น
นอกจากนี้ยังพบการโฆษณาขายยาสัตว์อีกหลายรายการ ทั้งที่มีทะเบียนตำรับยาและไม่มีทะเบียนตำรับ จึงได้ขอหมายเข้าตรวจค้น บ้านเลขที่ 112 หมู่ที่ 21 ต.ห้วยขวาง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
ผลการตรวจสอบพบว่าสถานที่ดังกล่าวได้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์ ในชื่อร้าน “หมอยาสัตว์” โดยเมื่อเวลา 11.50 น.วานนี้ (2 กค.63) เจ้าหน้าที่ได้ล่อซื้อยา ผลปรากฏว่าทางร้าน ได้ขายยา เอ็กซ์-ลาซีน (X-LAZINE) เลขทะเบียน 1 D 17/51 ซึ่งเป็นยาควบคุมพิเศษสำหรับสัตว์ โดยไม่มีใบสั่งแพทย์ และเป็นการขายนอกเวลาทำการตามใบอนุญาต ซึ่งเวลาทำการตามใบอนุญาตของร้านหมอยาสัตว์ คือช่วงเวลา 17.30 -20.30 น. นอกจากนี้เมื่อตรวจค้นขยายผลเพิ่มเติม พบการลักลอบผลิตยาสัตว์ไม่มีทะเบียนหลายรายการ
เจ้าหน้าที่ได้ยึดยาไม่มีทะเบียนตำรับ พร้อมยึดอุปกรณ์เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตทั้งหมด จำนวนรวมกว่า 100 รายการ และตั้งประเด็นความผิดที่พบตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ดังนี้
1.กรณีพบการลักลอบตั้งโรงงานผลิตยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือโรงงานเถื่อน มีความผิดดังนี้
1.1) ผลิตยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต ฝ่าฝืนมาตรา 12 โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท
1.2) ผลิตและขายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ฝ่าฝืนมาตรา 72(4) โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.กรณีพบการโฆษณาขายยาทางสื่อออนไลน์ มีความผิดฐานโฆษณาขายยาโดยไม่ได้รับอนุมัติข้อความ เสียง หรือภาพจากผู้อนุญาต ฝ่าฝืนมาตรา 88 ทวิ โทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท
3.กรณีพบการขายยา เอ็กซ์-ลาซีน (X-LAZINE) เลขทะเบียน 1 D 17/51 ซึ่งเป็นยาควบคุมพิเศษสำหรับสัตว์ โดยไม่มีใบสั่งแพทย์ และเป็นการขายนอกเวลาทำการตามใบอนุญาตฯ ผู้รับอนุญาตมีความผิดดังนี้
(1) ขายยานอกเวลาทำการ ไม่เป็นไปตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์ของร้านฯ มีความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฝ่าฝืนมาตรา 26(7) โทษปรับตั้งแต่ 2,000 บาท- 10,000 บาท
(2) ขายยาควบคุมพิเศษในระหว่างที่ผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ไม่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ ฝ่าฝืนมาตรา 32 โทษปรับตั้งแต่ 1,000 บาท- 5,000 บาท
และผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ มีความผิดดังนี้
(1) ไม่ควบคุมการทำบัญชีการซื้อและขายยา ฝ่าฝืนมาตรา 42(5) โทษปรับตั้งแต่1,000 บาท- 5,000 บาท
(2) ไม่ควบคุมให้ขายยาบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์ที่เป็นยาควบคุมพิเศษเฉพาะตามใบสั่งยาของผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง มีความผิดฐานไม่ปฏิบัติตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ฝ่าฝืนมาตรา 42 (6) ) โทษปรับตั้งแต่ 1,000 บาท- 5,000 บาท
นพ.ไพศาล กล่าวว่า ผู้ใดขายยาออนไลน์จะถูกดำเนินคดีทั้งเรื่องการโฆษณาขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต และการขายยาโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งโทษมีทั้งจำคุกและปรับ ผลการตรวจค้นในครั้งนี้ พบว่าเป็นร้านที่ได้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันเฉพาะยาบรรจุเสร็จสำหรับสัตว์ แต่ยังพบการลักลอบผลิตยาสัตว์ไม่มีทะเบียนตำรับยาหลายรายการ จึงขอเตือนผู้ซื้อยาทั้งหลายให้ตรวจสอบการอนุญาตทั้งผลิตภัณฑ์และสถานที่ขายยาให้ดีก่อนสั่งซื้อยา เพราะอาจได้รับยาที่ไม่มีประสิทธิภาพและไม่ปลอดภัย
ด้านเภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า หากมีการใช้ยาสำหรับสัตว์อย่างไม่ถูกต้องโดยไม่ได้ปรึกษาสัตว์แพทย์ อาจทำให้สัตว์นั้นได้รับอันตรายถึงชีวิตได้ ยกตัวอย่างเช่น ยารักษาโรคพยาธิหัวใจในสัตว์ ยาไอเวอร์เมคติน (Ivermactin) หากมีการใช้ในปริมาณสูง จะมีอันตรายต่อสุนัขบางสายพันธุ์ หรือกลุ่มยาคุมสำหรับสัตว์หากใช้ระยะเวลานานจะมีผลทำให้มดลูกในสัตว์อักเสบ หรือกลุ่มยาฆ่าเชื้อหากมีการใช้ไม่ถูกขนาดหรือระยะเวลาที่ใช้ไม่เหมาะสม อาจทำให้สัตว์นั้นเกิดการดื้อยาหรือเกิดผลตกค้างในสัตว์ได้ นอกจากนี้ยาบางชนิดมีผลข้างเคียงที่รุนแรง เช่น มีพิษต่อตับ ไต ส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท รวมถึงระบบทางเดินหายใจ ซึ่งอาจถึงขั้นพิการและเสียชีวิตได้ จึงขอเตือนมายังผู้ผลิตและขายยาสำหรับสัตว์ อย่าได้กระทำการฝ่าฝืนกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นลักลอบผลิตโดยไม่ได้ขออนุญาต หรือการขายยาสัตว์ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน
ทั้งนี้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบข้อมูลการอนุญาตผลิตภัณฑ์และสถานประกอบการที่ได้รับอนุญาตได้ ผ่านทาง Oryor Smart Application หรือระบบสืบค้นข้อมูลการอนุญาตทางเว็ปไซต์ อย. และหากพบการลักลอบผลิต นำเข้า จำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย ขอให้แจ้งมาที่สายด่วน อย. 1556

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า