Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

Yacht Quarantine หรือการกักตัวบนเรือยอชต์ สร้างรายได้ 600 ล้านบาท ภายใน 2 เดือน (ต.ค. – ธ.ค. 63) ผู้ประกอบการมองเป็นโอกาสฟื้นฟูเศรษฐกิจ จ.ภูเก็ต เจาะตลาดเศรษฐีโลก

ธุรกิจเรือยอชต์ดับสนิท 100% เพราะโควิด-19

ท่องเที่ยวเรือยอชต์เคยสร้างรายได้หลักหมื่นล้านให้ จ.ภูเก็ต แต่เมื่อโควิด-19 แพร่ระบาด ผู้ประกอบการได้รับผลกระทบอย่างหนัก

“ดับสนิทร้อยเปอร์เซ็นต์”

ตัญญุตา สิงห์มณี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอเชีย แปซิฟิค ซุปเปอร์ยอชต์ จำกัด ตัวแทนสมาคมธุรกิจเรือยอชต์ไทย (TYBA) เล่าว่า ธุรกิจเรือยอชต์พึ่งพานักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นหลัก เมื่อต้องปิดพรมแดนทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ ทำให้เรือจากต่างประเทศ จากยุโรปเข้าไทยไม่ได้

“เราก็พยายามศึกษาว่าต่างประเทศเขาทำอย่างไรให้ธุรกิจฟื้นไว อย่างมัลดีฟส์ให้เรือยอชต์เข้าได้แต่ต้องกักตัวบนเรือ ไม่ให้คนขึ้นไปท่องเที่ยวบนบก การกักตัวบนเรือมันสร้างมูลค่าขึ้นมา บ้านเราก็ต้องทำได้”

จากแนวคิดดังกล่าว กลุ่มผู้ประกอบการจึงเสนอรัฐบาลขอทำ Yacht Quarantine

เริ่ม Yacht Quarantine 2 เดือน สร้างรายได้ 600 ล้านบาท

ตั้งแต่เริ่ม Yacht Quarantine ช่วงเดือนตุลาคม – ธันวาคม 2563 มีเรือยอชต์เข้ามากักตัวในภูเก็ตทั้งสิ้น 27 ลำ รวมนักท่องเที่ยว 144 คน สถิติการติดเชื้อโควิด-19 เป็นศูนย์ ขณะที่นักท่องเที่ยว 1 คน จับจ่ายใช้สอยเฉลี่ยที่ 4 – 5 ล้านบาท สร้างรายได้แก่ผู้ประกอบการและท้องถิ่น

“ไม่ใช่แค่ผู้ประกอบการเรือยอชต์ที่มีรายได้กลับมา ท้องถิ่นก็มีรายได้จากการขายอาหาร ดอกไม้ และเครื่องดื่มต่างๆ เรือลำใหญ่ 1 ลำ ค่าอาหารอยู่ที่ 800,000 บาท ต่อ 5 วัน เราจะส่งอาหารขึ้นเรือได้เฉพาะเวลาที่แพทย์ขึ้นไปตรวจ ดังนั้นในการ Quarantine 1 ครั้ง จะส่งอาหารได้ 3 รอบ” ตัญญุตา เล่า

ก่อนโควิด-19 ท่องเที่ยวเรือยอชต์สร้างรายได้หมื่นล้าน

ท่องเที่ยวเรือยอชต์ถือเป็นการพักผ่อนของเหล่ามหาเศรษฐี โดยมากแล้วเจ้าของเรือมักให้ลูกน้องออกเดินเรือมาจากประเทศต้นทาง ใช้เวลาเดินทาง 30 – 45 วัน เมื่อเรือแล่นมาถึงจุดหมายปลายทาง เจ้าของเรือจึงจะนั่งเครื่องบินส่วนตัวตามมาเพื่อพักผ่อนบนเรือหรืออาจไปท่องเที่ยวบนฝั่ง และมักจะจอดเรือพักอยู่นานเป็นเดือนๆ

ข้อมูลจากกองส่งเสริมการบริการท่องเที่ยว (ททท.) ระบุว่าในแต่ละปีมีเรือยอชต์เข้ามาท่องเที่ยวที่ภูเก็ต เฉลี่ยปีละ 1,400 – 1,800 ลำ จำนวนนักท่องเที่ยวต่อลำอยู่ที่ 3 – 5 คน โดยจับจ่ายใช้สอยเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าวันละ 100,000 บาทต่อคน และนักท่องเที่ยวเรือยอชต์มักเข้าพักเป็นเวลานาน เฉลี่ยที่ 60 วันต่อทริป

ทำให้ภูเก็ตมีรายได้จากการท่องเที่ยวเรือยอชต์ไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาทต่อปี ก่อนเกิดโควิด-19

โอกาสและคู่แข่ง

มหาเศรษฐีโลกที่นิยมแล่นเรือยอชต์ เช่น บิลล์ เกตส์ ผู้ก่อตั้ง Microsoft, แลร์รี เพจ ผู้ร่วมก่อตั้ง Google, แบร์นาร์ อาร์โน ซีอีโอกลุ่มบริษัท LVMX, โรมัน อับราโมวิช เจ้าของสโมสรฟุตบอลเชลซี เป็นต้น โดยในจำนวนนี้บางคนเคยมาจอดเรือพักผ่อนที่ทะเลภูเก็ต

อย่างไรก็ดี ทะเลไทยมีคู่แข่งสำคัญ ได้แก่ มัลดีฟส์ บาหลี และฟิจิ ซึ่งจุดอ่อนของไทยในปัจจุบันคือ การขอวีซ่า ที่มีความไม่แน่นอนเนื่องจากยังอยู่ในสถานการณ์โควิด-19 ทำให้นักท่องเที่ยวขาดความมั่นใจว่าหากเดินทางมาแล้วจะนำเรือยอชต์เข้าได้หรือไม่ อยู่พำนักได้กี่วัน และคุ้มค่ากับการเดินทางไกลแถมยังต้องกักตัว 14 วันหรือไม่
จุดอ่อนตรงนี้ ผู้ประกอบการแนะว่ารัฐควรสื่อสารให้ชัดเจน เพื่อที่ไทยจะไม่เสียโอกาสดึงนักท่องเที่ยวกลุ่มที่มีกำลังจ่ายสูงเข้ามาฟื้นฟูเศรษฐกิจ

 

รู้หรือไม่ — ปัจจุบันภูเก็ตยกระดับการกักตัวบนเรือยอชต์เป็น Digital Yacht Quarantine ใช้สายรัดข้อมืออัจฉริยะ (NB-IoT Wristband Tourist Tracking) มาติดตามสุขภาพของนักท่องเที่ยวแบบเรียลไทม์ เพื่อป้องกันโควิด-19 ระหว่างกักตัว 14 วัน โดยมี AIS ช่วยดูแลสัญญาณกลางทะเล

 

ที่มา

– กองส่งเสริมการบริการท่องเที่ยว (ททท.)

– สัมภาษณ์ตัวแทนสมาคมธุรกิจเรือยอชต์ไทย (TYBA)

– www.superyachtfan.com

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า